20 ส.ค. 2020 เวลา 00:22 • ประวัติศาสตร์
🌸🏵⚜️ " เจ้าวันทนีย์ ณ ลำพูน " ⚜️🏵🌸
...การเกี่ยวดองของ เจ้านายฝ่ายเหนือ และเจ้านายจากราชสำนักกรุงเทพ นั้น หากลองนับขึ้นไปครั้งในสมัยต้นปฐมวงศ์แห่งทิพจักรราชตระกูล เจ้า ๗ ตน หรือ ล้านนาในยุคฟื้นม่าน รัชสมัยเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ได้มีพระธิดานามว่า เจ้ารจจา หรือ เจ้าครอกศรีอโนชา ผู้เป็นพระขนิษฐาใน พระเจ้ากาวิละ ได้รับการอภิเษกกับ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช ซึ่งต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แห่งพระราชวงศ์จักรี ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเกี่ยวดองกันของ ราชวงศ์ทั้ง ๒ อันได้แก่ จักรีวงศ์ และ ทิพจักราธิวงษ์(เจ้า๗ตน)
การเสกสมรสกันระหว่างเจ้านายฝ่ายเหนือ และ เจ้านายทางใต้ ได้เพิ่มความสัมพันธ์อันดีงามมาโดยตลอด เช่นลูกชั่วหลานลงมา ทั้งเหตุผลทางการเมืองก็ดี หรือ การร่วมสมัครปลงใจรักกันก็ดี มีทั้งสมหวัง และไม่สมหวัง จึงขอยกตัวอย่างการสมรสกันของเจ้านายในล้านนา กับ เจ้านายกรุงเทพ เพื่อให้มองเห็นถึงเค้าตระกูลของลูกหลานทายาทในปัจจุบัน
🎖ล้นเกล้ารัชกาลที่๕ + เจ้าทิพเกสร ณ เชียงใหม่(เจ้าจอมมารดาทิพเกสร)
🎖ล้นเกล้ารัชกาลที่๕ + เจ้าหญิงดารารัศมี ณ เชียงใหม่(พระราชชายา เจ้าดารารัศมี)
🎖กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน + เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่
🎖พระองค์เจ้าบวรเดช + เจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่
🎖พระองค์เจ้าบวรเดช + เจ้าบัวนวล ณ เชียงใหม่
🎖หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร + เจ้าศรีพรหมา ณ น่าน
🎖หม่อมเจ้าทองแกมแก้ว ทองใหญ่ + เจ้าหญิงประกายคำ ณ ลำพูน
🎖 หม่อมเจ้าหญิงจิตรจง จักรพันธุ์ + เจ้าชายพงษ์ธาดา ณ ลำพูน
🎖 เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ + ม.ร.ว รถแก้ว อิสรเสนา
🎖มร.ว ปุ้ม มาลากุล + เจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่
🎖หม่อมหลวงเจริญ อิศรางกูร + เจ้าหญิงกาบคำ ณ เชียงใหม่
ฯลฯ
การเสกสมรส และการสมรสของเจ้านายที่กล่าวมาข้างต้นถือเป็นการกระชับความสัมพันธุ์อันดีงามมาตลอดจวบจนรุ่นลูกหลานในปัจจุบัน
" เจ้าหญิงวันทนีย์ ณ ลำพูน " หรือ เจ้าวันทนีย์ ผูกพัน ถือเป็นหนึ่งในทายาทเจ้านายที่สืบสายโลหิตย์ ๒ ราชวงศ์ ซึ่งนับได้ว่าท่านคือ " เจ้า " โดยกำเนิดอย่างแท้จริง หากนับถึงสาแหรกบรรพบุรุษท่านแล้ว ล้วนเป็นเจ้านายผู้สร้างประโยชน์คุณุนับประการทั้งในแผ่นดินล้านนา และแผ่นดินกรุงสยาม จึงขอลำดับการสืบสายสกุลทั้งทางฝังบิดา และ มารดา ท่านไว้ดังนี้
" เจ้าวันทนีย์ " เป็นพระธิดาใน เจ้าชายพงษ์ธาดา ณ ลำพูน พระโอรสใน พลตรีเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ และ แม่เจ้าขานแก้วชายาองค์แรกในเจ้าหลวง ส่วนพระมารดาท่านนั้น คือ หม่อมเจ้าหญิงจิตรจง แห่งราชสกุล " จักรพันธุ์ " หม่อมเจ้าหญิงจิตรจง หรือ ท่านหญิงจิตรจง เป็นพระธิดา ใน "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์"
เจ้าวันทนีย์ ณ ลำพูน ท่านมีเจ้าพี่และเจ้าน้องร่วมอุทรณ์เดียวกันกับพระมารดา ดังนี้
* พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน
* เจ้าวันทนีย์ (ณ ลำพูน) ผูกพัน
* เจ้ากีรณา (ณ ลำพูน) บุญพิทักษ์
* เจ้าสารินี (ณ ลำพูน) กลิ่นนาค
* พันเอกพิเศษ เจ้าวีรพงศ์ ณ ลำพูน
หากจะให้มองสาแหรกเค้าตระกูลท่านให้เข้าใจง่ายแล้วนั้น จึงขอยกตัวอย่างดังนี้
#สาแหรกฝังบิดา ๑.เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ>>๒.เจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์>>๓.เจ้าชายพงษ์ธาดา>>๔. " เจ้าวันทนีย์ ณ ลำพูน "
#สาแหรกฝังมารดา
๑. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ >> ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์>>๓. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์>>๔.หม่อมเจ้าหญิงจิตรจง จักรพันธุ์>>๕. " เจ้าวันทนีย์ ณ ลำพูน "
จะเห็นได้ว่า ราชตระกูล และราชสกุล นับแต่บรรพบุรุษท่านไล่ลงมา นับได้ว่าเป็นผู้สร้างคุณงามความดีมิขาด ทั้งเป็นทำนุบำรุงพระศาสนา และราชการแผ่นดิน จวบจนมาถึง ตัวท่าน เจ้าวันทนีย์ เอง ก็สืบปณิธารต้นปฐมวงศ์สกุลท่านตลอดมา ทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ในด้านศิลปะ-วัฒนธรรม สังคม และงานพิธีทางศาสนา มักจะเจอท่านทุกงานมิเคยขาด
เจ้าวันทนีย์ ณ ลำพูน เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่ไม่เคยถือตัว และดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้แก่อนุชนรุ่นหลังมาโดยตลอด รอยยิ้มของเจ้าป้าอันแสนอบอุ่น และนิสัยใจคอที่ใจดี น่ารัก จึงเป็นรักใคร่แก่ลูกหลานในวงศ์ตระกูล และคนที่ได้ใหล้ชิดมาโดยตลอด พร้อมทั้งยังเป็นเจ้านายที่ดำรงตนเป็นผู้มีสกุลดีตลอดมา
ปัจจุบัน ท่านพำนักอยู่กับครอบครัว ณ คุ้มหลวงลำพูน หรือ คุ้มเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ สถาปัตยกรรมอันแสนเก่าแก่ และงดงามทางด้านศิลปะบริเวณใจกลางเมืองลำพูน ถือเป็น เจ้านายฝ่ายเหนือ อีกหนึ่งท่านที่ยังคงพำนักอยู่ในคุ้มหลวงตามจารีตของ เจ้านายในล้านนา ที่ใครหลายคนมักจะนิยามว่า เป็น " เจ้า " ต้องอยู่ในคุ้ม
เจ้าวันทนีย์ ณ ลำพูน ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ ด้วยโรคมะเร็งปอด เวลา 02.39 น. วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563 ณ โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ สิริอายุ 77 ปี 3 เดือน 5 วัน
เรียบเรียงบทความโดย : นัฏฐ์ ณัฏฐพัฒน์
ภาพเจ้าวันทนีย์โดยทายาท : ท่านอาจารย์ ดร.ชวินทร์ณวัฒน์ ณ ลำพูน (ผู้อำนวยการ รร.เทพศิรินทร์ จ.เชียงใหม่)
โฆษณา