20 ส.ค. 2020 เวลา 00:41 • ประวัติศาสตร์
#เจ้านางแว่นทิพย์เเห่งเชียงตุง
เจ้านางผู้มีประวัติ โลดแล่นในล้านนา
เจ้านางแว่นทิพย์
เป็นบุตรของเจ้าฟ้าโชติกองไต แห่ง นครเชียงตุง
กับเจ้านางสุวรรณา ธิดา เจ้าเมืองยอง
เจ้านางเป็นพี่สาวของ เจ้านางทิพย์ธิดา
และ เจ้าฟ้าก้อนแก้ว อินแถลง
ซึ่งต่อมาได้เป็น เจ้าฟ้าเชียงตุง
ทั้งหมดมีพี่น้อง 6 คน
เจ้านางแว่นทิพย์ เมื่อถึงวัยสาว
ได้ถูกตบแต่งไปเป็น มหาเทวีเมืองเชียงรุ่ง
ในขณะที่ดำรงตำแหน่งมหาเทวีนี้
ได้ช่วยราชการจากฝ่ายเมืองเชียงรุ่ง
อยู่ค่อนข้างมาก และ เพราะด้วย
ธรรมเนียมประเพณี ในขณะนั้น
การสูบฝิ่นถือเป็นเรื่องปกติ
ไม่ได้ถือเป็นเรื่องร้ายแรง
เจ้าฟ้าเชียงรุ่งจึงไม่ได้สนใจ
เรื่องราชการงานเมืองมากนัก
เพราะท่านเองก็สูบฝิ่นอยู่เป็นประจำ
อยู่นานวันเข้า เจ้าแว่นทิพย์
ก็เกิดการเบื่อหน่ายในพฤติกรรม
ของเจ้าฟ้าเชียงรุ่ง
จึงได้ขอเดินทางกลับมายังเชียงตุง
แล้วไม่กลับไปเชียงรุ่งอีกเลย
ตอนหลังเจ้าแว่นทิพย์
เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตล้านนา
และ ได้เกิดถูกอัธยาศัย
กับเจ้านายลำปางองค์หนึ่ง
ชื่อว่าเจ้าคำซึ่งก็ได้ชัดชักชวนให้
เจ้านาง ลงทุนทำป่าไม้ด้วยกันที่เมืองแพร่
(ข้อมูลจากหนังสือนครเชียงตุง
โดยอาจารย์ไพศาล จั่วทอง)
มีบันทึกว่า เจ้านางแว่นทิพย์
เป็นต้นเรื่อง
ให้เกิดกบฏเมืองแพร่
ในปีพ.ศ 2494
ขุนภูนพิเลขกิจ(เจ้าหนานบุษรศ จิตตางกูร)
. ได้เขียนบันทึกศึกเงี้ยวเอาไว้
เงี้ยว คือ ชาวไทใหญ่
เงี้ยวได้ก่อจลาจลขึ้นในมณฑลพายัพ
เมื่อพ.ศ2445
ย่อเรื่องได้ดังนี้
เงี้ยวปล้นเมืองแพร่
หัวหน้าชาวเงี้ยวผู้หนึ่งนามว่า
พะกาหม่อง
ได้เป็นหนี้สินกับ
เจ้านางรัตนมณีศรี แว่นทิพย์
พี่น้องของเจ้าฟ้าเชียงตุง
เป็นเงิน 5,000รูปี
จึงหลบหนีมาอยู่เมืองแพร่
วันหนึ่งกาพะหม่อง
ได้เห็นเจ้าหน้าที่ขนเงินไปเก็บ
ที่ศาลากลางจังหวัด
ก็อยากจะได้เอาไปใช้หนี้
ในวันที่ 25 ก.ค 2445 เวลาเช้ามืด
พะกาหม่องได้ชักชวน
ชาวเงี้ยว30-40คนเข้าปล้น
โรงพักตำรวจภูธร
ตีสำนักไปษณีย์ และ บ้านข้าหลวง
แล้วศาลากลาง ได้เงินทั้งหมด50,000 บาท
เข้าตีเรือนและปล่อยนักโทษทั้งหมด
ออกเป็นอิสระ จากนั้นก็เข้าปล้นบ้านราชการ
และได้ประกาศจะฆ่าแต่ชาวไทยใต้ เท่านั่น
ส่วนพระยาไชยบูรณ์
ข้าหลวงประจำเมืองแพร่
ถูกจับได้และถูกขู่ให้เรียกตัวข้าราชการ
มามอบตัว
และยกเมืองแพร่ให้
แต่พระยาไชยบูรณ์ไม่ยอมทำตาม
พะกาหม่องจึงให้ลูกน้องตัดหัว
พระยาไชยบูรณ์ที่บ้าน ฮ่องกาด
ครั้นเมื่อกองทัพไทย
ยกกำลังขึ้นมาปราบศึกเงี้ยว
พะกาหม่องได้สั่งให้สล่าโป่ชัย
คุมกำลัง150คน
ไปสกัดที่เขาพลึง คือช่วงรอยต่อ
ระหว่างแพร่-อุตรดิตถ์
สู้รบกัน2-3วันทัพเงี้ยวก็แตกพ่าย
ส่วนพะกาหม่อหนีเข้าลำปาง
เพราะหวังจะได้กำลังคนเพิ่ม
แต่ก็ถูกยิงตายเสียก่อน
ลูกน้องจึงแตกพ่ายไปเป็นกองย่อยหลายหมู่
พวกเงี้ยวที่แตกพ่ายหนีกระจัดกระจาย
ไปตามที่ต่างๆเช่นเชียงใหม่
เชียงราย และ เชียงของ
(Mekong post)
มีข้อมูลยืนยันอีกเรื่องหนึ่ง
กับการที่เจ้านางแว่นทิพย์
ได้มาที่ล้านนา
Napadol Putiseranee:
นำรูปบรรพบุรุษ ทางสายคุณยาย
มาให้ดู . . .ท่านคือ แม่หม่อนศรีมอย
คุณแม่ของคุณยาย
เป็นธิดาคนสุดท้องของ เจ้านางคำแปง
(มาจากเชียงตุง
ตามเจ้านาง แว่นทิพย์ มาเมืองแพร่
เพื่อมาทำการค้าไม้สักกับฝรั่ง บ. อิสต์เอเชียติค)
เจ้านางคำแปง สมรสกับ เจ้าคำ
มีธิดา 5 ท่าน
แม่หม่อนศรีมอย ท่านนี้ได้สมรสกับ
อาก๋ง เตี้ยงต่น พ่อค้าคหบดี ชาวจีนไหหลำ
มีบุตรธิดา 3 ท่าน
.. .แม่หม่อนศรีมอย
เสียชีวิตประมาณ ปี 2498
.ขอเล่าสาเหตุที่เจ้านางคำแปง
ได้ตามเจ้านางแว่นทิพย์
ผู้เป็นพระญาติสนิทมาเมืองแพร่
ตามคำบอกเล่าที่ แม่หม่อน
เล่าให้คุณยายฟัง...
" เจ้านางคำแปง เป็นเจ้านางน้อย
คือฐานันดรศักดิ์ชั้นหลาน
อายุได้ 15 ปี ได้มีโอกาสเข้าไป
ถวายตัวกับเจ้าหลวงที่หอคำหลวง
เมื่อเจ้าหลวงได้เข้ามาหาเจ้าคำแปง
ท่านได้เอาตีนซิ่นนุ่งขึ้นมาเช็ดหน้าเช็ดตา
เพราะกลัวเจ้าหลวง
และไม่อยากเป็นเมียเจ้าหลวง
ทำให้เจ้าหลวงโกรธมาก
ออกปากขับไล่ออกจากห้องเข้าเฝ้า
แล้วสั่งห้ามไม่ให้เข้าคุ้มหลวงอีกเลย
เจ้าหลวงด่าว่า...ไม่รักดี
เอาของต่ำมาใส่หัวทำไม
ไม่อยากเป็นเมียก็บอกมา
ทำแบบนี้เสื่อมศักดิ์ศรีของราชวงค์
...เจ้าคำแปงยังเด็กอยู่
ไม่เข้าใจเรื่องธรรมเนียมในคุ้มหลวง
เรื่องนี้เป็นที่เล่าขานกันมาก
จนเข้าหู เจ้านางแว่นทิพย์
ท่านเมตตาเลยรับมาอยู่ฝ่ายในกับท่าน
เป็นคนของท่าน เมื่อมาเมืองแพร่
ก็พามาด้วยเพราะไว้วางใจกันดี
จนได้ออกปากฝาก
เจ้าคำแปง ไว้กับ เจ้าคำอ้าย
ให้อยู่ที่เมืองแพร่
ก่อนที่เจ้านางแว่นทิพย์ จะกลับไปเชียงตุง..."
ในหนังสือ
เจ้าฟ้าแห่งอาทิตย์อัสดง_
แปลโดยสุทธิศักดิ์ ปานโพธิ์_กล่าวถึงเจ้านางบทหนึ่งว่า
และแล้วผมก็รู้ว่าเจ้านาง
องค์ที่สวมใส่ชุดสีเขียวนั้นคือเจ้านางแว่นทิพย์ (หม่อมนางแว่นทิพย์—ผู้แปล) นั่นเอง
เจ้านางเป็นนางเทวีของเจ้าแสนหวีฟ้า
เจ้าแผ่นดินเมืองเชียงรุ่ง
(เจ้าหม่อมคำลือเฒ่า—ผู้แปล)
ผู้พี่สาวต่างมารดา
ของเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง
เจ้านางใช้เวลาเดินทาง ๕๕ วัน
จนถึงกรุงย่างกุ้ง
เจ้านางแว่นทิพย์มีชื่อเสียงโด่งดัง
ทั้งในดินแดนสิบสองพันนาและรัฐฉานว่า
เป็นสตรีคนสำคัญและค้าขายเก่ง
เจ้านางแว่นทิพย์มีร่างบางสมส่วน
โพกศีรษะอย่างเรียบร้อย
ใบหน้างามที่สุด ดวงตาเรียว
มีอำนาจอย่างเสือ
น้องสาวของท่านคือเจ้านางทิพย์ธิดานั้น
ก็เป็นสตรีเพียงคนเดียว
ที่ได้นั่งช้างเข้าขบวนแห่
ในพิธีดูบาร์ที่กรุงเดลี ประเทศอินเดีย
...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา