20 ส.ค. 2020 เวลา 09:05 • ธุรกิจ
How to success as Six Sigma Organization ?
FB page: Six Sigma Coaching by Ploy-พา-Ploen
HOW TO SUCCESS AS SIX SIGMA ORGANIZATION ?
ทำอย่างไรถึงจะเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ศาสตร์ Six Sigma ?
มีคำถามหลังไมค์จากแฟนเพจถามคล้ายๆ ประโยคนี้เลยค่ะ "ทำไมหลายๆ องค์กรในอดีตที่ประสบความสำเร็จในการใช้ Six Sigma แต่ปัจจุบันดูเหมือนจะไม่ใช่ ?"
ครูพลอยตอบว่า หลายองค์กรยังใช้ Six Sigma อยู่นะคะ
เช่น ลูกค้า Chevron และ Alstom (GE Power)
จากประสบการณ์กับองค์กร ในตำแหน่ง Black Belt
ขอแชร์ความเป็นมาของ History การใช้ Six Sigma ในองค์กร
ย้อนไปมากกว่า 10 ปี โครงสร้างของทีม Six Sigma
จะมี Master Black Belt เป็นหัวหน้าทีมของแต่ละภูมิภาค
หัวหน้าครูพลอยเป็นคนสิงคโปร์ ทำงานที่ออฟฟิสสิงคโปร์
และมีตำแหน่ง Black Belt แบบครูพลอย 1 คนประจำแต่ละประเทศ แต่ละคนทำงานให้ประเทศตัวเอง
บทบาทและหน้าที่หลักๆ คือ
1️⃣ Internal Trainer
🔜 Six Sigma Yellow Belt Training สำหรับพนักงานทุกคนในองค์กร
🔜 Six Sigma Green Belt Training สำหรับ Talent ขององค์กร คัดเลือกมาปีละ 12-15 คน
2️⃣ Coaching Green Belt ในการทำ project ที่ได้รับมอบหมาย
3️⃣ สนับสนุนกิจกรรมการลดต้นทุนให้กับ Operations ทุกฝ่าย
ณ วันนั้นนโยบายของผู้บริหารระดับสูงคือ People Development พนักงานทุกคนต้องมีทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยใช้ Six Sigma เป็นภาษาเดียวกัน
และครูพลอยมีหน้าที่ Engage ผู้จัดการแต่ละฝ่าย ให้แต่ละท่านหา Project ที่สำคัญของฝ่ายตัวเองพร้อมกับคัดเลือก Talent จากสายงานมาร่วมอบรม Green Belt เรียนเสร็จแล้วเอาไปลงมือทำ โดยครูพลอยทำหน้าที่โคชพวกเขาเหล่านั้นค่ะ
ดังนั้น ในแต่ละปีเรามีโอกาสปั้น Green Belt 12-15 คน
แต่เราก็เจอข้อเสียค่ะ
เพราะศาสตร์ Six Sigma ที่ถึงเลเวล Green Belt นั้น
เนื้อหาจะมีการวิเคราะห์ข้อมูล การรันสถิติ การใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนมากกว่าเลเวล Yellow Belt
ผลลัพธ์ที่ได้ เราจะมีผู้รอดชีวิตจากการอบรม 7 วัน ลงมือทำ Project อีก 4-6 เดือน โดยต้องมี Coaching session ตัวต่อตัวกับครูพลอยอีกวีคละครั้ง เหลือรอดน้อยกว่าครึ่งค่ะ
เหตุผลจาก ปสก ตรงของครูพลอยคือ คนเรามีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น
ฝ่ายบู๊ คือ พร้อมลุย go go go do it !!! ไม่รีรอ ลีลา วิเคราะห์อะไรทั้งนั้น ลงมือทำ พลาดรีบแก้ นี่คือสไตล์ของเขาค่ะ
ฝ่ายบุ๋น คือ เจ้าหลักการ ชอบวางกลยุทธิ์ คิดวิเคราะห์ บริโภคข้อมูล วางแผน แผน และก็แผน ถึงจะลงมือทำ นี่คืออีกหนึ่งสไตล์ค่ะ
จึงไม่แปลกที่เราจะเหลือคนที่อยู่รอดคือ ฝ่ายบุ๋นค่ะ
เหมือนครูพลอยนี่แหละค่ะ มันเหมือนเราไปเจอวิชาที่เราชอบ ถูกจริตกับสไตล์เรา แต่ละ step ที่เขาสอนคือ เราชอบ เราคิดว่านี่แหละคือตรรกะที่ทำให้คุณแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
แล้วฝ่ายบุ๋นอย่างเราก็จะถึงขั้นหลงใหลไปกับศาสตร์นี้ แบบนี้แหละค่ะ
ส่วนฝ่ายบู๊ เขาไม่ผิดเลยนะคะ เขาจะโชว์ศักยภาพได้เต็มที่เมื่อไปอยู่ในงานที่ถูกจริตเขาค่ะ
นี่คือข้อบกพร่องที่ผู้บริหารมองว่า ใช้ทรัพยากรในการอบรมไปมาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่มากพอ
เมื่อมีผู้บริหารท่านใหม่มา เน้นเรื่องของ Execution การผลักดันให้เกิดการลดต้นทุนและการเติบโตของยอดขาย
นโยบายใหม่ถูกส่งลงมาที่ทีม Six Sigma ด้วยเช่นกัน
บทบาทและหน้าที่ครูพลอยจึงเปลี่ยนไป
🔺️1️⃣ Internal Trainer
🔜 Six Sigma Yellow Belt Training ให้พนักงานใหม่ให้ครบทุกคนเหมือนเดิม แต่ไม่มีอบรม Green Belt แล้ว
🔺️2️⃣ Facilitator
🔜 จัด Idea Generation Workshop ให้กับผู้จัดการแต่ละฝ่าย เพื่อให้ได้ Project ทั้งหมดในแต่ละปี
🔺️3️⃣ Project Portfolio Management Manager
🔜 นำทุก project มารวมกันเป็นของ Thailand แล้วเลือก Top 20 มาเพื่อนำเสนอความคืบหน้าให้ผู้บริหารในแต่ละเดือนโดยเจ้าของ project
🔺️4️⃣ Coach project DRI for Project management skill
นั่นคือเหตุการณ์ที่องค์กรปรับเปลี่ยนตามนโยบายค่ะ
ถ้าให้ครูพลอยสรุปจาก ปสก ตรงในการทำงาน
ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลให้องค์กรที่ใช้ Six Sigma
ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
✅ 1️⃣ ผู้บริหารระดับสูง
ยิ่งท่านมีอินเนอร์กับ Six Sigma มากเท่าไหร่ แรงผลักดันและสนับสนุนก็จะมากเท่านั้น
องค์กรระดับโลกในตลาดหุ้น จะมี Six Sigma เป็นจุดขาย
ต่อผู้ถือหุ้นด้วยค่ะ ยิ่งท่าน CEO เคยเป็น Black Belt ด้วยแล้ว ยิ่งมันส์เข้าไปใหญ่
ในทางกลับกัน ถ้าท่านไม่ buy-in ผลก็จะตรงกันข้ามค่ะ
✅ 2️⃣ MD และผู้จัดการแต่ละฝ่าย
ถือว่าเป็น Stakeholder ที่สำคัญที่ต้องมีส่วนร่วมในการผลักดันและสนับสนุน
✅ 3️⃣ Black Belt in role full time
คนนี้ทำหน้าที่ดูแลทุกขั้นตอน ทุกสิ่งอย่าง เพื่อให้การนำ Six Sigma ไปใช้ในองค์กรได้อย่างราบรื่น
✅ 4️⃣ Talent Development
มีแผนการพัฒนาคนที่มีศักยภาพในการเติบโตในสายงาน เลือกคนที่ใช่ ใส่เข้าไปในงานที่ใช่
เหมือนครูพลอยมี Green Belt ประจำอยู่ในแต่ละฝ่าย ทำให้ทำงานกันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นค่ะ
สุดท้าย
✅ 5️⃣ ไม่ว่าผู้บริหารจะเปลี่ยนคน นโยบายจะเปลี่ยนกี่รอบ ครูพลอยมั่นใจว่า องค์ความรู้ศาสตร์ Six Sigma ไม่ว่าจะเลเวลไหน Yellow / Green / Black Belt มันจะติดตัวไปกับพนักงานที่เขาได้โอกาสที่ดีในการเรียนรู้ นำไปใช้กับงานตัวเอง พวกเขาเหล่านั้นได้ฝึกฝนกับงานจริง มีผลงานจริง
เพิ่มทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ
สุดท้าย มันคือทักษะที่องค์กรไหนๆ ก็ต้องการจากพนักงานค่ะ
หวังว่าโพสนี้จะทำให้ทุกคนเห็นภาพการใช้ศาสตร์ Six Sigma ในองค์กรได้ชัดขึ้นนะคะ
ครูพลอย ❣
โฆษณา