Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บีแอล.นิวส์
•
ติดตาม
20 ส.ค. 2020 เวลา 10:11 • ธุรกิจ
ออกกฎคุมค้าปลีก แฟรนไชส์ ล้ง เดลิเวอรี รายใหญ่เอาเปรียบรายย่อยเจอโทษหนักสุดปรับไม่เกิน10%ของรายได้
นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ และโฆษกคณะกรรมการการแข่งขัน ทางการค้า (กขค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กขค.ได้จัดทำแนวปฏิบัติการค้าที่ไม่เป็นธรรมหรือจะเรียกสั้นๆ ว่า “ไกด์ไลน์”การค้า เพื่อป้องกันการผูกขาดในการทำธุรกิจหรือป้องกันปลาใหญ่กินปลาเล็ก และป้องกันการเอารัดเอาเปรียบในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้ว 3 ไกด์ไลน์ คือ ไกด์ไลน์ค้าปลีก ไกด์ไลน์แฟรนไชส์ และ ไกด์ไลน์ธุรกิจการรับซื้อผลไม้ และในปัจจุบันทั้ง 3 ไกด์ไลน์นี้ ได้มีผลบังคับใช้ไปแล้ว 2 ไกด์ไลน์ อีก 1 ไกด์ไลน์ คือ ไกด์ไลน์ธุรกิจการรับซื้อผลไม้ กำลังอยู่ระหว่างการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา โดยโทษของการผูกขาดตลาดเพื่อลดการแข่งขันหนักสุดจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด เช่น ในปีนั้นมีรายได้ 100 ล้านบาทก็จะถูกปรับสูงสุดที่ 10 ล้านบาท
สำหรับไกด์ไลน์ฉบับแรก คือ แนวทางพิจารณาการปฏิบัติการค้าที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่งค้าปลีกกับผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย โดยภายใต้ไกด์ไลน์ค้าปลีก ได้กำหนดพฤติกรรมที่ห้ามกระทำ เช่น การกำหนดราคารับซื้อ หรือกดราคารับซื้อต่ำกว่าราคารับซื้อปกติโดยไม่มีเหตุผลสมควร การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ การบังคับให้ซื้อหรือให้จ่ายค่าบริการอย่างไม่เป็นธรรม การให้พนักงานของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย ปฏิบัติงานอย่างไม่เป็นธรรม การปฏิเสธการรับสินค้าที่สั่งซื้อหรือสั่งผลิตพิเศษเป็นการเฉพาะของผู้สั่งผลิต (ไพรเวท แบรนด์) หรือเป็นตราเฉพาะของผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่งค้าปลีก (เฮาส์แบรนด์) อย่างไม่เป็นธรรม และการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมอื่น ๆ เช่น การคืนสินค้า การประวิงเวลาจ่ายค่าสินค้า การถอดสินค้าออกจากชั้นวางสินค้า เป็นต้น
สำหรับไกด์ไลน์ฉบับที่ 2 คือ แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเรื่องแฟรนไชส์ ก็มีร้องเรียนเข้ามาพอสมควร ก็เลยต้องมาเขียนให้ชัดเจนว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เช่น กำหนดให้เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเปิดเผยข้อมูลการประกอบธุรกิจและเงื่อนไขการทำธุรกิจทั้งหมด, ห้ามจำกัดสิทธิของผู้ซื้อแฟรนไชส์โดยไม่มีเหตุผลอันควร หรือกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม เช่น การบังคับซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเรื่องการขยายสาขา หากแฟรนไชส์ซอร์จะมาตั้งสาขาแข่ง ในบริเวณใกล้เคียงที่มีแฟรนไชส์ซีตั้งสาขาอยู่แล้วต้องแจ้งให้แฟรนไซส์ซีทราบ และให้สิทธิในการเปิดสาขาใหม่แก่แฟรนไชส์ซีรายนั้นก่อน เป็นต้น
ส่วนฉบับที่ 3 คือ เรื่องธุรกิจรับซื้อผลไม้ (ล้ง) เพราะที่ผ่านมา เกษตรกรมีปัญหาร้องเรียนว่าถูกล้ง เอาเปรียบในการรับซื้อผลไม้ จึงต้องมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติดังนี้ห้ามกำหนดเงื่อนไข ในสัญญา อย่างไม่เป็นธรรม เช่น การไม่ระบุวัน หรือช่วงเวลาในการเข้าเก็บผลไม้ รวมทั้ง ไม่ระบุวันสิ้นสุดของสัญญา ทำให้เกษตรกรไม่สามารถขายผลไม้ ให้ผู้ซื้อรายอื่นได้, ห้ามปรับลดราคารับซื้อซึ่งส่งผลต่อการปรับลดราคารับซื้ออย่างไม่เป็นธรรม, ห้ามชะลอการเข้าเก็บผลไม้ หรือการเก็บผลไม้ไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงไว้ในสัญญาซึ่งเข้าข่ายเป็นการปฏิบัติทางการค้า ที่ไม่เป็นธรรม และห้าม “ฮั้ว” หรือตกลงร่วมกัน ในการกำหนดราคาซื้อ จำกัดปริมาณซื้อ หรือแบ่งท้องที่ในการรับซื้อ เพื่อผูกขาดหรือลดการแข่งขัน
นอกจากนี้ กขค. กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำร่างแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการรับและส่งอาหารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร หรือ เดลิเวอรี โดยกำลังอยู่ระหว่างการเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็น ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานฯ
www.otcc.or.th
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย