20 ส.ค. 2020 เวลา 15:12 • ประวัติศาสตร์
#พระเจ้าอินทวิชยานนท์
ขึ้นครองนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2440) เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ทรงดำรงพระอิสริยยศ
เป็นพระเจ้าประเทศราชองค์สุดท้าย
ที่มีอำนาจอย่างแท้จริง
พระเจ้าอินทวิชยานนท์
เดิมทรงพระนามว่า เจ้าอินทนนท์
ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนถึงวันพระราชสมภพ
เป็นเจ้าโอรสในพระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) พระยาราชวงศ์นครเชียงใหม่ กับแม่เจ้าคำหลา
และเป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่)
ในพระยาคำฟั่นกับแม่เจ้าเนตรนารีไวยตาเวย
ซึ่งเป็นพระราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง
อันเป็นเมืองกะเหรี่ยงที่ร่ำรวย
ไปด้วยทรัพยากรไม้ขอนสักจำนวนมหาศาล
จนได้รับการยกย่องว่าเป็น
เศรษฐีนีป่าไม้ของพม่า
(ผู้ได้รับกรรมสิทธิ์ครอบครองป่าไม้
ในแถบขุนยวมทั้งหมด)
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ มีราชอนุชา
และราชขนิษฐา ร่วมราชบิดา 16 พระองค์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เสด็จขึ้นครองนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2416 จนกระทั่ง
ถึงแก่พิราลัย
ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440
ด้วยโรคชรา
รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 24 ปี
ภายหลังเสด็จพิราลัย พระอัฐิส่วนหนึ่ง
ได้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปพระอัฐิ
ใน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ณ วัดสวนดอก
(พระอารามหลวง) และอีกส่วนหนึ่งอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอด ดอยอินทนนท์
อันเป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงรัก
และ หวงแหนมากที่สุด
และได้นาม ตามพระนามของพระองค์ด้วยนั่นเอง
พระเจ้าอินทวิชยานนท์
มีเจ้าราชโอรสและราชธิดา รวม 11 องค์
ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์
บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทยอยเข้ามาที่เมืองเชียงใหม่ เช่น บริษัทบริติชบอร์เนียว (British Borneo, เข้ามาในราว พ.ศ. 2407) บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burma, เข้ามาในราว พ.ศ. 2432)
และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest)
เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง
และชาวพื้นเมืองอื่นๆ เข้ามาทำงาน
ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและผู้ติดตาม
เข้ามาในล้านนามากขึ้น ทำให้เกิดการฟ้องศาล
ที่กรุงเทพฯ หลายคดี จากหลักฐานพบว่า
ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 - 2416 มีคดีความ
จำนวน 42 เรื่อง ตัดสินยกฟ้อง 31 คดี
ส่วนอีก 11 คดีนั้นพบว่าเจ้านายทำผิดจริง
จึงตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายรวม 466,015 รูปี
หรือ 372,812 บาท
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้น
คือพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ทรงขอ
ชำระเพียงครึ่งเดียวก่อน ส่วนที่เหลือจะทรงชำระภายใน 6 เดือน แต่กงสุลอังกฤษไม่ยินยอม
เรียกร้องให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
ชำระทั้งหมด หรือมิฉะนั้นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย
ซึ่งราชสำนักกรุงเทพฯ ก็ไม่ยินยอมด้วยเช่นกัน
ดังนั้นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
จึงทรงจ่ายค่าเสียหาย
150,000 รูปี (120,000 บาท)
โดยราชสำนักกรุงเทพฯ
ให้ยืมเงิน 310,000 รูปี (248,000 บาท)
โดยต้องชำระคืนภายใน 7 ปี
พร้อมทั้งดอกเบี้ยในรูปไม้สัก 300 ท่อนต่อปี
1
พ.ศ. 2417 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงสถาปนาแม่ฮ่องสอน ขึ้นเป็นเมืองแห่งใหม่
พ.ศ. 2420 ทรงดำริให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง เชื่อมไปยังท่าวัดเกต
 
พ.ศ. 2426 ทรงตั้งเมืองฝางขึ้นเป็นเมืองแห่งใหม่ และส่งเจ้ามหาวงศ์ ไปเป็นเจ้าเมืองฝาง
 
พ.ศ. 2418 ทรงฉลองวิหารวัดข่วงสิงห์ และรื้อหอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯ ไปสร้างวิหารวัดพันเตา
 
พ.ศ. 2420 ทรงรื้อท้องพระโรงของพระเจ้ากาวิโรรสฯ ไปสร้างวิหารวัดแสนฝาง สร้างวิหารวัดเชียงมั่น และฉลองสะพานข้ามแม่น้ำปิงตรงวัดเกตุการาม
 
พ.ศ. 2423 ทรงสร้างวิหารวัดเจดีย์หลวง ตลอดจนสร้างกุฏิ อุโบสถ วิหารพระนอน ซ่อมหอมณฑปเสาอินทขีล และกุมภัณฑ์
1
เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2458
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เสด็จประพาส
ประทับพักแรมบนยอดดอยอินทนนท์
และโปรดให้สร้างกู่บรรจุพระอัฐิ
ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ไว้บนจุดสูงสุด
ของยอดดอยอินทนนท์ คัดลอกข้อมูลมาจาก:เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
โฆษณา