8 ต.ค. 2020 เวลา 14:31 • สิ่งแวดล้อม
Top 10 เป็นที่สุด ตอนที่ 14
ตอน เบอร์มิวดา สามเหลี่ยมมังกร แดนอาถรรพ์แห่งท้องทะเล Part 2
เอาหละครับ บทความที่แล้วผมได้เขียนถึง สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา น่านน้ำตะวันตกของแอตแลนติก และใน Part 2 นี่ผมขอพาทุกคนข้ามฝั่งมาที่มหาสมุทรแปซิฟิกกันบ้าง สามเหลี่ยมพิศวงอีกหนึ่งแห่งของโลก
"สามเหลี่ยมมังกร"
เรามาทำความรู้จักกับ เจ้าสามเหลี่ยมอาถรรพ์นี่กันก่อนว่า อยู่ตำแหน่งไหน ครอบคลุมพื้นที่ส่วนไหนบ้าง
สามเหลี่ยมมังกรมีพื้นที่ตั้งอยู่ทาง มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก เป็นพื้นที่สมมติขึ้น มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทะเลปีศาจ มีจุดเริ่มต้นที่ชายฝั่งกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กิโลเมตร และลากผ่านแนวร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ไปทางใต้ จนถึงทะเลฟิลิปปินส์ และลากผ่านหมู่เกาะของประเทศญี่ปุ่นบรรจบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยมี เกาะมิยาเกะ เป็นศูนย์กลางล้อมรอบ
สามเหลี่ยมมังกร หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งว่า ทะเลปีศาจ ประหนึ่งว่า เวลาที่เรือแล่นผ่าน มักเกิดปรากฏการณ์ เรือหายไปจากบริเวณนั่นโดยไร้สาเหตุ แม้กระทั่งเครื่องบินที่บินผ่าน สามเหลี่ยมมังกร ก็มักจะหายไปเช่นเดียวกัน เหตุการณ์ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากคงหนีไม่พ้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้นำกองทัพเรือ พร้อมลูกเรืออีกถึง 700 คนแล่นเรือผ่านบริเวณ ทะเลปีศาจนี้ กลับหายสาญสูญไปอย่างไร้ร่องรอย แม้กระทั่งญี่ปุ่นได้ใช้ทีมค้นหาออกเพื่อช่วยเหลือ ก็ยังมิอาจพบสาเหตุได้ เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทีมค้นหาที่ออกช่วยเหลือยังหายไปอีก ยิ่งทวีคูณความเชื่อ และความลึกลับของ น่านน้ำปีศาจนี้เข้าไปอีก
ไม่เพียงเท่านั่น ยังมีเหตุการณ์หลาย ๆ เหตุการณ์ที่ทำให้คนเชื่อว่านีคือดินแดนอันน่าพิศวง ในช่วงปี 1949 จนถึง ปี 1955 มีเรือประมงที่ออกหาปลา หายสาบสูญอย่างไร้สาเหตุหลายต่อหลายลำ ช่วงระหว่าง เกาะมิยาเกะ และเกาะอิซุโอะชิมา จนทางการญี่ปุ่นต้องประกาศว่า บริเวณสามเหลี่ยมมังกรนี่เป็นพื้นที่อันตราย
ยังมีตำนานเรื่องเล่าของชาวญี่ปุ่นอีกด้วยว่า ที่เรียกกันว่า สามเหลี่ยมมังกรเพราะเชื่อกันว่าบริเวณน่านน้ำนั้นเป็นที่อยู่ของมังกรที่หลับใหล และเชื่อว่าการที่เรือ เครื่องบินหายไปอาจเป็นเพราะมังกรนั่นพิโรธและทำให้เรือ และเครื่องบินที่เคลื่อนที่ผ่านหายไป นักวิทยาศาสตร์ยังตั้งข้อสันนิษฐานอีกว่า สามเหลี่ยมมังกรคือหลุมขาว ส่วนสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าคือ หลุมดำ พิจารณาจากแผนที่โลกแล้ว น่านน้ำทั้งสอง อยู่ในแนวเดียวกัน เปรียบเสมือน ประตูสองบานที่เชื่อมหากัน
แต่ถ้ามองตามหลักที่กระผมได้ทำการเขียน
วิเคราะห์เอาไว้ ในบทความสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าแล้วจะเห็นได้ว่า สามเหลี่ยมทั้งสอง ต่างมีพื้นที่คาบเกี่ยวกับร่องลึกก้นสมุทร สามเหลี่ยมมังกร มีแนวร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาพาดผ่าน ซึ่งอาจสันนิษฐานได้อย่างหนึ่งว่า ก๊าซมีเทนที่ผุดขึ้นมาพ้นผิวโลกในบริเวณนั่นมีปริมาณมากกว่าปกติ เมื่อมีเทนสัมผัสกับน้ำจึงทำให้น้ำเสียมวลไป จึงไม่สามารถรับน้ำหนักของเรือได้ และเมื่อมี มีเทนมากเกินไป จึงทำให้อากาศในบริเวณรอบ ๆ เสียทัศนวิสัยในการมองเห็นไป มีหมอกหน้าทึบ มีคลื่นสัญญาณรบกวนตลอด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินที่บินผ่านตกลงสู่เบื้องล่างได้
ซึ่งในปัจจุบันทฤษฏีก๊าซมีเทนถือว่าเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลที่สุดในการพิจารณา สามเหลี่ยมอันน่าพิศวงนี้ แต่อย่างไรก็ตามเรื่องราวของสามเหลี่ยมทั้งสอง ในปัจจุบันนี้ก็พูดถึงกันน้อย เพราะแน่นอนว่าเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้การเดินทางนั่นง่ายขึ้น ความปลอดภัยมากขึ้น คนจึงไม่ได้กลัว หรือตระหนักถึงเรื่องสามเหลี่ยมนี่มากเท่าที่ควรเหมือนเมื่อก่อน อีกอย่างปัจจุบัน น่านน้ำทั้งสองยังเป็นจุดเดินเรือสำคัญที่มีการสัญจรผ่านมากที่สุดอีกด้วย
ก็จบลงไปนะครับ สำหรับบทความ สามเหลี่ยมปีศาจ จากสองน่านน้ำมหาสมุทร เป็นยังไงบ้างครับ ถือว่าเป็นเรื่องราวอันน่าพิศวงอันดับต้น ๆ ของโลกเลยทีเดียว
เรียบเรียงโดย
Top 10 เป็นที่สุด (มังกรเล่าเรื่อง)
โฆษณา