21 ส.ค. 2020 เวลา 11:56 • สัตว์เลี้ยง
ถ้าเล่าถึงประสบการณ์การเลี้ยงแมวของที่บ้าน แม่เรามีแมว 8 ตัว ช่วงที่วุ่นวายที่สุดคงเป็นช่วงฉีดวัคซีนประจำปี เพราะมันเยอะเหลือเกิน วัคซีนหลายชนิด กระตุ้นไม่รู้กี่รอบ แม่ก็จำไม่ได้เหมือนกัน บลา บลา บลา
ปีแรกงงสุด!!! จริงหรือ?
มันต้องฉีดอะไรบ้าง กระตุ้นกี่รอบ นี่เป็นคำถามของแม่กับป้า ที่เลี้ยงแมวนับรวม ๆ กันเกิน 15 ตัว
ความวุ่นวายของการจัดการวัคซีนปีแรกของบ้านแม่กับบ้านป้าคือ
1. แมวที่รับมาเลี้ยงเป็นแมวจรบ้าง ขอเค้ามาบ้าง แน่นอนว่าอายุไม่เท่ากัน ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้พร้อมกัน
2. บ้านแม่เลี้ยงระบบปิด 100% คือแมวอยู่แต่ในบ้านนั่นล่ะ ส่วนแมวป้าเป็นแมวสายท่องเที่ยว ความเสี่ยงการติดโรคต่าง ๆ ไม่เท่ากันแน่ ๆ
พี่มาร์คแมวหลังคา นี่ถือว่าเป็นแมวความเสี่ยงสูง ก็เค้าเป็นแมวสายเที่ยวและชอบตีกับแมวบ้านอื่น มีโอกาสติดโรคนะ ถ้าไม่ฉีดวัคซีน
ตอนนั้นยังเป็นสัตวแพทย์อยู่จ้า เลยต้องวางแพลนให้ทั้งสองบ้าน หมอยังปวดหัวอ่ะ พูดเลย
แต่พอผ่านปีแรกไปได้ ก็ง่ายแล้วนะ เราสามารถจัดการให้การฉีดวัคซีนประจำปีเป็นเรื่องง่ายได้
สามารถรวบการกระตุ้นวัคซีนประจำปีมาพร้อม ๆ กันทั้งบ้านได้เลย สะดวกกับการวางแผนของเจ้าของกับหมอด้วยนะ
เลือกวัคซีนอย่างไรไม่เปลืองตังค์??? และที่สำคัญแมวเหมียวของเราต้องได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนด้วยนะ
“เลือกฉีดวัคซีนตามความเสี่ยงของแมว” คือคำตอบค่ะ
แมวเลี้ยงในบ้าน 100% ไม่ออกไปไหน ไม่เจอหมาแมวอื่นเลย vs แมวเลี้ยงปล่อย มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคและสัตว์อื่น ๆ มากกว่า ความเสี่ยงการติดเชื้อก็สูงตามไปด้วย
ตัวอย่างโปรแกรมวัคซีนแมว
ข้อดีของการเลือกฉีดวัคซีนตามความเสี่ยงของแมว
- ประหยัดเงิน
- ลดโอกาสแพ้วัคซีน (แพ้วัคซีนเป็นอาการเฉพาะตัวนะ ไม่มีใครรู้ว่าแมวจะแพ้หรือไม่ ทุกครั้งที่ฉีดวัคซีนควรดูอาการแพ้ก่อนกลับบ้านอย่างน้อย 15 นาที)
- ลดโอกาสเกิดอาการข้างเคียงหลังทำวัคซีน เช่น มีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด และวัคซีนบางชนิดมีโอกาสทำให้เกิดเนื้องอกได้ (พบได้ไม่บ่อยนะในกรณีนี้)
ข้อเสียของการไม่ฉีดวัคซีนบางชนิดก็มีเช่นกัน คือ ไม่มีภูมิคุ้มกันนั่นเอง
หากวันไหนแมวเลี้ยงในบ้านเกิดหลุดไปโดนแมวอื่นกัดขึ้นมา มีโอกาสป่วยได้นะ โดยเฉพาะเอดส์แมว (FIV) และลิวคีเมีย (FeLV)
รายละเอียดวัคซีนแมวแปะลิ้งไว้ให้แล้วนะ มีตั้งแต่ชนิดวัคซีนไปจนถึงการเตรียมตัวก่อนไปฉีดวัคซีนเลยนะ อัพเดทข้อมูล 2020 มาให้แล้วจ้า
โฆษณา