21 ส.ค. 2020 เวลา 14:10 • การเกษตร
📣วันนี้มาทำความรู้จัก สายพันของโกโก้ กันนะ🍫🍫
โกโก้แต่ละชนิด
โกโก้ เป็นพืชเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25-28 องศาเซลเซียส ต้องการน้ำสม่ำเสมอ พื้นที่ ที่เหมาะสมควรมีฝนตกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หรือควรมีแหล่งน้ำเพียงพอ ดินที่เหมาะสมควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร pH ประมาณ 6.5 โกโก้ชอบดินระบายน้ำดี แต่ก็สามารถทนน้ำท่วมได้ถึง 5 เดือน โกโก้เป็นพืชที่ต้องการร่มเงาพอสมควร โดยเฉพาะต้นที่ยังเล็กอยู่
👉สายพันธุ์พันธุ์โกโก้ ที่ปลูกสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
ลักษณะโกโก้แต่ละสายพันธุ์
🖊ครีโอโล (Criollo) : ผลค่อนข้างใหญ่ สีแดง หรือออกเหลือง เปลือกบาง ผิวขรุขระ ก้นผลแหลม เมล็ดใหญ่สีขาว หรือม่วงอ่อน และมีกลิ่นหอม เป็นพันธุ์ที่อุตสาหกรรมช็อคโกแลตต้องการมาก แต่ไม่ทนต่อโรคแมลง จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
🖊พันธุ์ Forastero ลักษณะผลสั้น ผลสุกสีเหลือง ผิวเรียบไม่ขรุขระ มีร่องตื้น ๆ ตามแนวผล ให้ผลผลิตสูงกว่า Criollo แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
📎เวสแอฟริกัน อมิโลนาโด (West African Amelonado) : เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดในปัจจุบัน สามารถผสมตัวเองได้ และเมื่อปลูกด้วยเมล็ด มักไม่กลายพันธุ์ ทนทานต่อโรค แมลงได้ดี แต่มักอ่อนแอต่อโรค ยอดแห้งและกิ่งแห้ง โกโก้พันธุ์นี้ให้ผลผลิตสูง เป็นที่ต้องการของตลาดมาก ลักษณะของผลมีสีเขียว ค่อนข้างยาว เมื่อแก่มีสีเหลือง เปลือกหนา ก้นมน เมล็ดสีม่วงเข้ม ค่อนข้างแบน
🖇อัพเปอร์ อเมซอน (Upper Amazon): ผลสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลือง เมล็ดสีม่วงเข้ม ให้ผลผลิตสูงกว่า และเร็วกว่า พันธุ์อมิโลนาโด
🖊ทรีนิ ตาริโอ (Trinitario) : เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่าง Amelonado กับ Criollo คุณภาพเมล็ดสูงกว่าพันธุ์ อมิโลนาโด และต้านทานโรค แมลง แต่ผลผลิตต่ำกว่า Forastero และเป็นพันธุ์ที่ต้องการผสมข้ามต้น ขยายพันธุ์โดยการติดตา หรือปักชำ
👉สำหรับในประเทศไทย มีการพัฒนาสายพันธุ์ลูกผสม ออกมาอย่างน้อย 2 สายพันธุ์คือ
✏พันธุ์ลูกผสม ชุมพร 1 : ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพเมล็ดดี โดยให้ผลผลิตเมล็ดโกโก้แห้งสูงสุดตลอดเวลาการทดลอง 13 ปี สูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกประมาณ 31.4% ให้ผลผลิตเฉลี่ย 127.2 กก./ไร่ เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ไขมันสูงประมาณ 57.27% ลักษณะผล ป้อม ไม่มีคอและก้นไม่แหลม ผิวผลเรียบ ร่องค่อนข้างตื้นเมล็ดมีเนื้อในเป็นสีม่วง มีความทนทานต่อโรคกิ่งแห้งค่อนข้างสูง ทนทานต่อโรคผลเน่าดำปานกลาง ลักษณะการผสมเกสร เป็นพวกผสมข้ามต้น ควรปลูกลูกผสมพันธุ์อื่นร่วมด้วยอย่างน้อย 1 พันธุ์ในแปลงเดียวกัน โดยปลูกคละปนกันไปเพื่อประโยชน์ในการผสมเกสร
✏พันธุ์ลูกผสม I.M.1 พัฒนาพันธุ์ โดย ดร.สัณห์ ละอองศรี สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเด่นคือ เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคกลาง เหนือและอีสาน ให้ผลผลิตสูง เริ่มออกดอกติดผลและเก็บเกี่ยวได้ในปีที่ 3 หลังจากปลูก เมล็ดแห้งมีขนาดและคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด เมล็ดมีปริมาณไขมันสูงเฉลี่ย 52 เปอร์เซ็นต์
Cr.Kasetnumchok
โฆษณา