25 ส.ค. 2020 เวลา 15:10 • ธุรกิจ
พี่เทสลาจ๋าขอทางหน่อย รถยนต์โซลาร์กำลังจะมา!!
1
ยุคนี้ถ้าพูดถึงรถไฟฟ้าคงไม่มีใครไม่รู้จักเทสลา รถไฟฟ้าที่ออกมาป่วนตลาดทั้งในแง่ดีไซน์และสมรรถนะเพื่อที่จะเอาชนะรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ปกติทั้งหลาย จากยอดจองถล่มทลายจนค่ายรถดั้งเดิมได้แต่มองค้อน
แต่รถยนต์พลังงานทางเลือกนั้นยังมีอีกหลายทางเลือกทั้งการใช้ไฮโดรเจน หรือใช้พลังงานแสงอาทิตย์ล้วนๆ วันนี้ innowayถีบ จะพาไปรู้จัก “Lightyear” เจ้าของรถพลังงานโซลาร์กัน พร้อมแล้วเหยียบคันเร่งมาเลย
1) ทำไมต้อง “Lightyear”?
Lightyear ก่อตั้งในปี 2016 ที่เมือง Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันมีทีมงานพัฒนารถพลังงานแสงอาทิตย์มากกว่า 100 คน
Lex Hoefsloot ผู้ก่อตั้ง Lightyear เป็นผู้สร้างทีมรถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์สมัยที่เป็นนักศึกษา เพื่อเข้าแข่งในรายการ World Solar Challenge
ปัจจุบัน Lightyear One เป็นรถต้นแบบของบริษัท ได้ทำสถิติวิ่งได้ระยะทางสูงสุดต่อการชาร์จพลังงานด้วยแสงอาทิตย์ 1 ครั้งคือ 725 km (เรียกว่าขับไปถึงเชียงใหม่แบบไม่ต้องแวะชาร์จเลยทีเดียว)
Cr: World Solar Challenge
2) เริ่มต้นจากการแข่งขัน
ในปี 2013 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Eindhoven University of Technology จำนวน 20 คน ได้รวมตัวกันเพื่อเข้าแข่งขัน World Solar Challenge ซึ่งเป็นการแข่งขันรถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก
รถยนต์ของพวกเค้าที่ชื่อ Stella สามารถแสดงให้โลกเห็นว่าสามารถเดินทางด้วยระยะทางมากกว่า 1200 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง โดยพวกเค้าสามารถคว้าชัยชนะในครั้งนั้น และยังได้พา Stella เดินทางจากสิงคโปร์ไปแคลิฟอเนียร์ และจากออสเตรเลียสู่อังกฤษ
Stella เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของทีมงานที่ได้ทำการพิสูจน์ว่ารถพลังงานแสงอาทิตย์สามารถพัฒนาให้ใช้งานได้จริง โดยสามารถออกแบบและใช้งานเป็นรถแบบครอบครัวได้อีกด้วย (ไม่ใช่แค่ออกแบบมาเพื่อแข่งขันเท่านั้น)
Stella รถพลังงานโซลาร์ต้นกำเนิดของ Lightyear
3) แนวคิดในการพัฒนาของ Lightyear
ในขณะที่รถพลังงานทางเลือกทั้งไฟฟ้าหรือไฮโดรเจน ต้องมีการพัฒนาคู่ขนานของตัวรถ แบตเตอรี่ และสถานีชาร์จหรือเติมพลังงาน
Lightyear พยายามมองหาแหล่งพลังงานที่เด็บเกี่ยวได้ง่ายกว่านั้นคือแสงอาทิตย์ ทำให้เค้ามุ่งพัฒนาในส่วนของตัวรถให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทั้งน้ำหนัก การใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ดีขึ้น บอกจากนี้ยังมุ่งพัฒนาพลังคาโซลาร์เซลล์ให้สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานขับเคลื่อนของรถได้ดีขึ้น
• หนึ่งในจุดที่แตกต่างคือการใส่ระบบชุดขับเคลื่อนไปที่ล้อทั้ง 4 แทนที่ใช้มอเตอร์ขับตัวเดียวแล้วขับเคลื่อนผ่านเพลา ซึ่งทำให้น้ำหนักของรถยนต์ลดลง และยังช่วยทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานลดลงด้วย
ระบบมอเตอร์ขับเคลื่อนในแต่ละล้อ
• ตัวหลังคาของ Lightyear ของยังทำการเปลี่ยนแสงแดดตลอดช่วงที่มีการเดินทาง โดยการรับแสงแดด 1 ชมจะเดินทางได้ 12 กิโลเมตร (เอามาวิ่งแถวๆกลางกรุงบ้านเราอาจจะไม่ต้องชาร์จแบตเพิ่มกันเลยทีเดียว)
1
• น้ำหนักตัวของรถก็ถูกพยายามทำให้เบาโดยใช้วัสดุจำพวกอะลูมิเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์ รวมทั้งการออกเเบบ aerodynamic ของรถให้ดูลาดเรียบ ลดการเสียดสีของอากาศ (เหมือนจะได้แรงบันดาลใจจากรถโซลาร์ที่พวกเค้าใช้ในการแข่งขันเลย)
แม้ว่าเจ้า Lightyear One ยังไม่ออกสู่ตลาดอยากเป็นทางการ เพราะคงต้องใช่เวลาในการทดสอบให้ระบบทุกอย่างเสถียร และสามารถใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวได้
แต่เห็นแล้วก็ดีใจที่ในอนาคตจะมีทางเลือกในการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการไม่ใช่พลังงานจากน้ำมัน และยังลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
โดยราคาเปิดจองที่ยุโรปอยู่ที่ประมาณ 120,000 ยูโร (ประมาณ 4.5 ล้านบาท) ว่าแล้วก็ไปหยอดกระปุกเตรียมเงินไว้สำหรับ Lightyear One บ้างดีกว่า
1
The Lightyear One is a prototype ‘solar car’ with 450 miles of range, theverge.com, 25 Jun 2019
Lightyear.one, access 22 Aug 2020
solarteameindhoven.nl, access 22 Aug 2020
โฆษณา