23 ส.ค. 2020 เวลา 07:04 • ประวัติศาสตร์
“Megafauna” สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ระหว่าง 40,000-60,000 ปีก่อน ดินแดนที่ปัจจุบันคือออสเตรเลีย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดร่างกายใหญ่โตเป็นจำนวนมาก
สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่กับมนุษย์เป็นเวลานับหมื่นปี
ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลในออสเตรเลียเป็นจำนวนมาก และพบว่ามีสัตว์ดึกดำบรรพ์อย่างน้อย 13 สายพันธุ์ ได้เคยอาศัยอยู่ในดินแดนนี้
ที่น่าตื่นเต้นที่สุด คือการพบฟอสซิลของจิงโจ้ดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว่าจิงโจ้ในปัจจุบันมาก และหนักถึง 270 กิโลกรัม
จากการขุดพบนั้น สายพันธุ์ของสัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้ บางสายพันธุ์ก็ยังไม่เคยมีการค้นพบมาก่อน บางสายพันธุ์ที่คิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว หากแต่ยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกหลายปี
นอกจากนั้น จากความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าสัตว์เหล่านี้สูญพันธุ์เนื่องจากถูกมนุษย์ล่า แต่จากการศึกษา พบว่ามนุษย์และสัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้ได้อยู่ร่วมกันมาเป็นเวลานานกว่า 17,000 ปีแล้ว การสูญพันธุ์เพราะถูกมนุษย์ล่า จึงไม่น่าใช่สาเหตุ
นักวิจัยคาดว่าที่สัตว์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้สูญพันธุ์ มีสาเหตุมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่า
โฆษณา