Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
25 ส.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
เกร็ดสาระน่ารู้ของยุค 'ราชวงศ์หยวน' ในยุคที่มองโกลครองจีน เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
WIKIPEDIA CC IAN KIU
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ราชวงศ์หยวน คือราชวงศ์ที่สถาปนาโดยชาวมองโกลที่ได้ผนวกรวมแผ่นดินจีนเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมองโกล ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน ราชวงศ์หยวนนั้นมีความเป็นมาที่น่าทึ่งและมีคุณค่าให้ศึกษาน่าติดตามมาก ดังเช่น 10 ข้อเท็จจริงและเกร็ดสาระน่ารู้ที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้
1. จักรวรรดิมองโกลได้รับการสถาปนาโดย เจงกิสข่าน นักรบชนเผ่ามองโกลที่ไม่ได้รู้หนังสือ แต่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อรวบรวมชนเผ่ามองโกลและชนเผ่าอื่น ๆ จนเป็นหนึ่งเดียว ก่อนบุกลงใต้เพื่อพิชิตแผ่นดินจีน ก่อนที่เจงกิสข่านจะเสียชีวิต เขาได้สั่งให้ลูกหลานของเขานำทัพเพื่อขยายดินแดนต่อไป
2. เจงกีสข่านเสียชีวิตในปี ค.ศ.1227 ระหว่างการรุกรานแผ่นดินจีน และลูกหลานของเจงกีสข่านได้สานต่อเจตนารมณ์ โดยภายหลัง โอเกได บุตรชายของเจงกีสข่านได้พิชิตฐานที่มั่นสุดท้ายของราชวงศ์ซ่งลงได้ในปี ค.ศ.1279 เป็นอันยุติการบุกยึดแผ่นดินจีนของชาวมองโกลที่ใช้เวลากว่า 70 ปี
WIKIPEDIA CC ARANIKO
3. ในยุคของกุบไลข่าน ราวปี ค.ศ.1280 เขาได้สั่งระดมผู้คนกว่า 3 ล้านคน เพื่อเชื่อมต่อกรุงปักกิ่งกับหัวเมืองทางใต้ ผ่านเนินเขาที่ราชวงศ์ของจีนยุคก่อนหน้าไม่ได้ขุดเอาไว้ สิ่งนี้เองที่ทำให้กรุงปักกิ่งสามารถเชื่อมต่อกับหัวเมืองทางตอนใต้และที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีได้โดยตรงเป็นครั้งแรก และช่วยส่งเสริมให้แผ่นดินจีนในยุคนั้นเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น
4. กุบไลข่าน ได้ประกาศให้จักรวรรดิมองโกลใช้เงินกระดาษเป็นสกุลเงินหลักแห่งแรกของโลกในปี ค.ศ.1273 ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการต่อยอดจากระบบธนาคารและระบบการเงินที่ถูกออกแบบมาในยุคราชวงศ์ซ่ง แต่ในยุคราชวงศ์หยวนของชาวมองโกลได้นำเงินกระดาษมาใช้อย่างแพร่หลาย ตอนที่มาร์โค โปโลกลับไป ชาวยุโรปต่างตกใจกับเรื่องเงินกระดาษที่ชาวมองโกลใช้ และภายหลังเงินกระดาษนี้ได้ช่วยส่งเสริมการค้าและเศรษฐกิจทั่วโลกให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นอีกด้วย
WIKIPEDIA CC IAN KIU
5. กองเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกุบไลข่าน ถูกทำลายลงด้วยพายุไต้ฝุ่นในปี ค.ศ.1274 ระหว่างการรุกรานแผ่นดินญี่ปุ่น โดยในตอนนั้นฝ่ายมองโกลมีกองเรือรบอยู่ประมาณ 900 ลำ และมีทหารอีก 23,000 นาย แต่พายุไต้ฝุ่นได้ทำลายเรือรบของมองโกลเสียหายไป 200 ลำ บวกกับความล้มเหลวในการตั้งทัพและการถูกสกัดกั้นโดยกองทัพญี่ปุ่น ทำให้จักรวรรดิมองโกลล้มเลิกความตั้งใจรุกรานญี่ปุ่นไปในท้ายที่สุด
6. ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุด จักรวรรดิมองโกลได้แผ่ขยายดินแดนไปไกลจากแผ่นดินจีนไป ทอดยาวจนถึงฝั่งตะวันตกของฮังการี นับได้ว่านี่คือจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่และทรงอำนาจที่สุดในภูมิภาคเอเชียเลยทีเดียว
7. ในยุคราชวงศ์หยวนของจักรวรรดิมองโกล คือยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเครื่องลายครามจีน นอกจากนี้ยังมีการสร้างเข็มทิศที่มีความแม่นยำมากขึ้น รวมไปถึงเทคโนโลยีดินปืน ที่ภายหลังได้ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นอาวุธในภายหลัง
WIKIPEDIA CC DAVID JACKSON
8. ความเสื่อมถอยของจักรวรรดิมองโกล เกิดจากการที่กุบไลข่านระดมผู้คนและเงินทุนไปกับการสร้างคลองใหญ่หรือ ต้ายวิ่นเหอ เพื่อเชื่อต่อกรุงปักกิ่งและหัวเมืองทางใต้ และความพ่ายแพ้ในการรุกรานญี่ปุ่น บวกกับการสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่มากมาย จนทำให้เงินในท้องพระคลังหลวงเริ่มร่อยหรอ ซ้ำร้ายจักรพรรดิหยวนยุคหลังก็ไม่ได้สนใจว่าราชการ ใช้จ่ายเงินเกินตัวไม่สนใจประชาชนที่อดอยาก และภายหลังประชาชนที่ยากจนกลุ่มนี้ก็ได้ลุกฮือขึ้นมา จนนำมาสู่การล่มสลายของราชวงศ์หยวนในท้ายที่สุด
9. ระหว่างปี ค.ศ.1320 - 1340 ได้เกิดภัยธรรมชาติและโรคระบาดครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นยุคน้ำแข็งน้อย ที่ก่อให้เกิดสภาพอากาศที่แปรปรวน ภัยแล้ง น้ำท่วม และกาฬโรคระบาดที่ได้ลุกลามมาถึงแผ่นดินจีนในยุคราชวงศ์หยวนอีกด้วย
WIKIPEDIA PD
10. ในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติและโรคระบาด ราชสำนักหยวนไม่ได้สนใจในการแก้ปัญหาเพื่อเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อนเลยแม้แต่น้อย จนนำมาสู่ความหมดหวังและสิ้นศรัทธา ชาวจีนฮั่นถือว่าราชวงศ์หยวน ได้ทำให้สวรรค์เบื้องบนไม่พอใจ ชาวจีนจึงต้องถูกลงโทษด้วยภัยธรรมชาติและโรคระบาด จนนำมาสู่การลุกฮือและก่อจราจลเพื่อขับไล่ชาวมองโกลออกจากแผ่นดินจีนระหว่างปี ค.ศ.1351 – 1367 จนกระทั่ง จูหยวนจาง จะรวบรวมผู้คนบุกยึดกรุงปักกิ่งคืนจากพวกมองโกลในปี ค.ศ.1368 และสถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้นมาในภายหลัง
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
5 บันทึก
22
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติศาสตร์ I
5
22
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย