Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Moneyfarm
•
ติดตาม
23 ส.ค. 2020 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Cyptocurrency news
รู้หรือไม่ประเทศไทยเราก็เริ่มที่จะศึกษาเเละทดลอง เรื่องสกุลเงินดิจิทัลกันเเล้ว
โดยธนาคารเเห่งประเทศไทย ตั้งชื่อโปรเจคนี้ว่า อินทนนท์ นับว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะผลิกโฉมโครงสร้างระบบการเงินไทย
เครดิตภาพ : Bitkub
การมาของเงินดิจิตอลเเละเทคโนโลยีฟินเทค (FinTech)หนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจ คือ Distributed Ledger Technology (DLT)หรือที่คนส่วนใหญ่มักเรียกว่า บล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลเเบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเเลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างเครื่อข่ายเเละทำธุรกรรมระหว่างกันได้โดยไม่
ต้องผ่านตัวกลาง รวมทั้งนำสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) มาประยุกต์ใช้ในการกำหนดเงื่อนไขของสัญญาต่างๆ นับว่าเป็นการผลิกโฉมหน้าระบบโครงสร้างการเงินทั่วโลกจริงๆ
เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ประเทศไทยเองก็มีการตื่นตัวในเรื่องสกุลเงินดิจิตอลเป็นก้าว
หนึ่งที่สำคัญของวงการการเงินไทย โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ
สถาบันการเงินไทยได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าวที่จะเข้าช่วยเพิ่มศักยภาพเเละประสิทธิภาพของระบบการเงินไทย จึงทำให้เกิดโครงการอินทนนท์
โครงการอินทนนท์ เป็นหนึ่งในโครงการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดตั้ง
โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินทั้ง 8 เเห่ง เเละ บริษัท R3 (ผู้พัฒนาระบบ DLT ใน
Corda platform) ในช่วงการทดสอบในการนำระบบ DLT มาใช้กับระบบการชำระ
เงิน ทางทีมงานได้ศึกษาในลักษณะ Proof of Concept ทดลองทำเพื่อศึกษาเรียนรู้ / Design thinking ธปท.เเละสถาบันการเงินทั้ง 8 เเห่ง ได้ร่วมกันออกเเบบระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยใช้รูปเเบบของกระบวนการคิดเชิงออกเเบบ / เเละ
System Developer พัฒนาระบบการชำระเงิน
ขอบเขตของโปรเจคโครงการอินทนนท์ เเบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 1 สร้างระบบการชำระเงินต้นเเบบ โดยใช้ระบบ Distributed Ledger Technology (DLT) ในการรองรับการโอนเงินในประเทศระหว่างสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ โดยเริ่มจากการแปลงเงินฝากของสถาบันการเงินที่นำมาฝากไว้ที่ ธปท. (Reserve)ให้อยู่ในรูปเเบบของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและโอนชำระเงินระหว่างกัน
ระยะที่ 2 ต่อยอดจากระยะที่ 1 โดยพัฒนาให้ครอบคุลมถึงการนำประโยชน์จาก
Smart Contract มาจำลองวงจรชีวิตของพันธบัตร ตั้งแต่การแปลงพันธบัตรให้อยู่ในรูป Token การส่งมอบพันธบัตรและชำระเงินค่าพันธบัตรในเวลาเดียวกัน
(Delivery Versus Payment: DVP) การจ่ายดอกเบี้ย จนถึงการจ่ายคืนเงินต้นในวันที่พันธบัตรครบกำหนด รวมทั้งออกแบบระบบให้รองรับการซื้อขายพันธบัตรในตลาดรอง หรือนำพันธบัตรมาใช้เป็นหลักประกันสำหรับธุรกรรมซื้อคืน (Repurchase Agreement) ซึ่งการต่อยอดดังกล่าวจะช่วยให้ระบบต้นแบบรองรับ ธุรกรรมที่ใกล้เคียงกับโลกความเป็นจริงมากขึ้น นอกจากนี้ ระบบต้นแบบในระยะที่ 2 นี้ยังมีกลไกที่ช่วยตรวจสอบข้อมูล เพื่อช่วยป้องกันธุรกรรมการชำระเงินที่ต้องสงสัย
(Fraud Prevention) รวมถึงตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อลดกระบวนการของสถาบันการเงินในการปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท.
ระยะที่ 3 เชื่อมต่อระบบการชำระเงินภายในประเทศโดยผ่านการใช้ CBDC ขยาย
ขอบเขตไปสู่การชำระเงินข้ามประเทศระหว่างสถาบันการเงิน โดยจุดประสงค์เพื่อที่จะลดกระบวนการที่ต้องทำผ่านตัวกลาง เเละพัฒนาการโอนเงินเเละชำระเงินโดยตรงถึงกัน (Peer to Peer)
ปัจจุบันโปรเจคโครงการอินทนนท์ อยู่ในช่วงทดลองระยะที่ 2 นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่หน่วยงานประเทศไทยมีการตื่นตัวในเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาในระบบการเงินไทย อีกไม่นานคิดว่าเราจะได้เห็น สังคมไร้เงินสด ได้จริงๆ ติดตามกันต่อไปนะครับว่าทิศทางของโปรเจคโครงการอินทนนท์จะเดินไปในทิศทางไหน
ฝากกดไลค์ กดเเชร์ เเละกดติดตามเพื่อไม่พลาด
ข่าวสารเรื่องสกุลเงินดิจิตอลเเละการลงทุนอื่นๆ
ข้อมูลสนับสนุนบทความ :
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256203TheKnowledge_ProjectInthanon.aspx
บันทึก
5
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Bitcoin & Cryptocurrency
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย