Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่ารัฐฉาน ล้านนา ล้านช้างและสยามประเทศ
•
ติดตาม
23 ส.ค. 2020 เวลา 20:52 • ประวัติศาสตร์
#ขัวนวรัฐ
หรือสะพานนวรัฐ
สะพานอันแรกสร้างขึ้นด้วยไม้สักล้วน (ประมาณปี พ.ศ.2440 – 2450) เป็นสะพานแบบคานยื่น วิศวกรชาวอิตาเลียนชื่อ เคานต์ โรเบอร์ตี้ เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้าง สร้างบนตอม่อไม้สัก 6 ตอม่อด้วยกัน โครงส่วนบนสร้างด้วย #ไม้สักล้วนทำเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม มีอยู่ 5 ช่วง เคานต์ โรเบอร์ตี้ ผู้นี้ยังเป็นผู้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำวังที่จังหวัดลำปาง ก่อนที่จะสร้าง #สะพานรัชฎาภิเษก ขึ้นมาอีกด้วย
สะพานนวรัฐอันแรกนี้ไม่ใช่สะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของเชียงใหม่ สะพานที่ใช้สำหรับข้ามแม่น้ำปิงอันแรกของเชียงใหม่ คือสะพานข้ามแม่น้ำปิงหน้าวัดเกตุการาม หรือ “ขัวเก่า” สร้างโดย ดร.มาเรียน เอ็ม.ชีค มิชชั่นนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในสมัยของ ดร.แมคกิลวารี มิชชั่นนารีชาวอเมริกันคนแรกที่มาเชียงใหม่เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว
ป้าซิวเฮียง โจลานันท์ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2459 ซึ่งบ้านของท่านอยู่ร้านวิศาลบรรณาคาร ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ “เชียงใหม่สะป๊ะเรื่องตะวา” ของ พ.ต.ท.อนุ เนินหาด เมื่อปี พ.ศ.2542 ว่า “..ทันเห็นขัวเก่าตั้งแต่เด็กแล้ว สะพานนี้เป็นสะพานไม้สักขนาดใหญ่กว้างพอ ๆ กับสะพานนวรัฐ เสาก็เป็นเสาไม้สัก (น่าจะหมายถึงสะพานนวรัฐที่ 1 ซึ่งคาดว่าสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2459 ก่อนที่ท่านเกิด)
#สะพานนวรัฐแห่งที่1 ซึ่งสร้างด้วยไม้สักนี้ถูกไฟไหม้เสียหายบางส่วน ต่อมาในฤดูน้ำหลากถูกซุงไม้สักจำนวนมากกระแทกพังเสียหาย ประกอบกับในช่วงเวลานั้นได้มีการสร้างทางรถไฟขึ้นมาถึงเชียงใหม่ ทางราชการจึงได้รื้อออกแล้วสร้างเป็นสะพานนวรัฐแห่งที่ 2 ขึ้นมา สะพานนวรัฐแห่งที่ 2 นี้ใช้ชื่อว่า “สะพานนวรัฐ” เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น สะพานแห่งนี้เป็นสะพานโครงเหล็ก สร้างบนตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนบนเป็นโครงเหล็กล้วนมี 5 ช่วง สร้างโดย มาควิส กัมเบียโซ่ วิศวกรชาวอิตาเลียน โดยโครงเหล็กทั้งหมดส่งมาจากบริษัทคลิฟแลนด์ ประเทศอังกฤษ
#สะพานนวรัฐแห่งที่2 หรือ “#ขัวเหล็ก” ได้มีการสร้างทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่แล้ว สะพานแห่งนี้รับใช้ชาวเชียงใหม่ได้หลายสิบปี มีเรื่องเล่าว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการได้ใช้ทางมะพร้าวพรางสะพานไม่ให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิด แต่ชาวบ้านเชื่อว่าพรางไม่ได้ เพราะตัวสะพานมีรูโบ๋จากรอยกระสุนของนักบินอเมริกันที่บินโฉบลงมายิงปืนกลเข้าใส่สะพานในเวลาต่อมาเมื่อมียวดยานพาหนะมากขึ้น ทำให้การจราจรบนสะพานติดขัดมาก จนต้องมีการตั้งถังน้ำมันบรรจุทรายให้จราจรขึ้นไปยืนถือป้าย ไป” และ หยุด” เพื่อจัดระเบียบการเดินรถบนสะพาน ประกอบกับสะพานเหล็กเริ่มผุ และเชียงใหม่มีความเจริญขึ้น ยวดยานพาหนะก็มีจำนวนมากขึ้นด้วย สะพานซึ่งสร้างมานานเริ่มมีความคับแคบไม่เหมาะสมกับสภาพการจราจรในสมัยนั้น ทางการจึงได้รื้อ “ขัวเหล็ก” ออก
#สะพานนวรัฐแห่งที่3 ในปี พ.ศ. 2508 จึงรื้อสะพานเหล็กออกและสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กดังที่เห็นในปัจจุบัน ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เดินทางมาทำพิธีเปิดสะพานนวรัฐพร้อมกับสะพานเม็งรายอนุสรณ์ในคราวเดียวกัน
ภาพ : สำนักหอสมุด มช. โดย บุญเสริม สาตราภัย / รื้อขัวเหล็ก สร้างขัวคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อพ.ศ. 2508 - 2510 / นายสุนทร หงส์ลดารมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในพิธีเปิดสะพานนวรัฐ เมื่อพ.ศ. 2510
ที่มา : นสพ.เชียงใหม่นิวส์ บทความโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง / บุญเสริม สาตราภัย. (2546). เชียงใหม่กับภัยทางอากาศ. กรุงเทพฯ:สายธาร
#เรียบเรียงโดย : วรวิทย์ ภู่ประเสริฐ
บันทึก
4
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เจ้าหลวงเชียงใหม่ เชื้อเจ้าเจ็ดตน
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย