24 ส.ค. 2020 เวลา 13:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
งานวิจัยชิ้นนี้ถูกส่งต่อมาถึง 4 รุ่น ผ่านเวลา 75 ปี เพื่อค้นหาว่า "ความสุขที่แท้จริงของมุนษย์" คืออะไร
"Harvard Study of Adult Development" คืองานวิจัยที่มุ่งค้นหาความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ ก่อตั้งโดยทีมวิจัยชั้นนำจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศอังกฤษ พวกเขาตั้งทีมนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อหาคำตอบให้ได้ว่า อะไรคือความสุขที่แท้จริงของมนุษย์กันแน่
3
แน่นอนว่ามีตัวแปรมากมายที่ไม่อาจสรุปได้ เพราะบางคนอาจบอกว่าความสุขที่แท้จริงคือ เงินทอง การมีบ้าน มีรถ บางคนอาจต้องการความสงบ แต่เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคำตอบคืออะไร หากไม่ศึกษามนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย
นั่นทำให้ทีมวิจัยต้องทำการศึกษามนุษย์ ชนิดตามติดทุกฝีก้าวตั้งแต่เป็นวัยรุ่น ตามศึกษาไปจนพวกเขาแก่ เพื่อให้รู้ว่าท้ายที่สุดแล้ว ความสุขที่แท้จริงคืออะไรกันแน่
ปี 1939 นักวิจัยจากฮาร์วาร์ดนำกลุ่มตัวอย่าง 724 คน ที่คัดเลือกจากสองกลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาฮาร์วาร์ด 268 คน อายุ 19 ปี และกลุ่มเด็กยากจน เด็กไร้โอกาส และเด็กมีปัญหาในเขตบอสตัน จำนวน 456 คน อายุระหว่าง 11-16 ปี
ทั้งสองกลุ่มนี้ นักวิจัยจะทำการศึกษาทุกๆ 2 ปี โดยให้ทั้ง 724 คน ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิต ทั้งด้านหน้าที่การงาน ด้านสังคม ด้านชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงการขอสัมภาษณ์ภายในบ้าน เพื่อพูดคุยกับบุคคลในครอบครัวด้วย
2
นอกจากนี้ ทุกๆ 5 ปี พวกเขาจะได้รับการตรวจสุขภาพ ทำบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ เก็บตัวอย่างเลือดและสแกนสมอง คือเรียกได้ว่าศึกษาทุกอย่างแบบละเอียดยิบ
วันเวลาผ่านไป ทีมนักวิจัยได้เห็นชีวิตของพวกเขามากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มตัวอย่างจาก 724 คน บางคนได้เป็นทนาย หมอ กรรมกร ช่าง พนักงานโรงแรม ในขณะที่บางคนล้มเหลวกับชีวิต ติดเหล้า เป็นผู้ป่วยจิตเวช ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลย
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ากลุ่มตัวอย่างจะมีชีวิตแบบไหน ทุกๆ 2 ปี นักวิจัยจะต้องส่งแบบสอบถามเพื่อศึกษาข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อให้เห็นมุมมองและทัศนคติในการมองโลกของพวกเขา ผ่านประสบการณ์ที่คนเหล่านั้นกำลังพบเจอ
จากนั้น เราจึงค่อยมาดูกันว่าช่วงเวลาที่ผ่านมาของชีวิต อะไรจะเป็นความสุขที่แท้จริงของพวกเขากันแน่
วันเวลาล่วงเลยมาถึง 75 ปี จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยมี 724 คน ตอนนี้เหลือเพียง 60 คนเท่านั้น ในขณะที่ทีมวิจัยถูกส่งไม้ต่อมาถึง 4 รุ่น ตอนนี้ดูเหมือนว่าพวกเขาจะได้คำตอบแล้วว่าความสุขที่แท้จริงของมนุษย์คืออะไร
คำตอบที่นักวิจัยได้นั้น เรียบง่ายมาก มันไม่ใช่ชื่อเสียง ไม่ใช่เงินทอง ไม่ใช่เกียรติยศ หรือสิ่งของใดๆ ทั้งสิ้น แต่มันคือ การมี "ความสัมพันธ์ที่ดี" กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน สังคม สิ่งนี้ต่างหากคือความสุขที่แท้จริงของมนุษย์
1
ลองนึกภาพว่าเราตื่นขึ้นมาแล้วออกจากบ้านได้พูดคุยทักทายกับคนรอบข้าง ยิ้มให้กัน ทักทายกัน มันคงมีความสุขไม่น้อย
แต่หากเราตื่นขึ้นมา แล้วเจอแต่ความอ้างว้าง ไม่พูดคุยกับใคร ทำอะไรแต่ลำพัง ใครจะทำอะไรก็ไม่สน แบบนี้คงเป็นสภาวะที่น่าเบื่อและแย่มากๆ
1
โรเบิร์ต วาลดิงเจอร์ ให้ข้อคิด 3 ข้อ จากบทสรุปของงานวิจัยที่ทำมา 75 ปี คือ
1.ความสัมพันธ์ที่ดีในในสังคมมีผลต่อชีวิตมนุษย์มาก เพราะหากเราอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย ไร้มิตรสหาย ไร้สังคมรอบข้าง นั่นจะทำให้ชีวิตของเรามีแต่ความทุกข์ รู้สึกอ้างว้าง ผิดกับคนที่มีความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง มีเพื่อนที่ดี มีครอบครัวที่ดี มีสังคมที่ดี สิ่งเหล่านี้จะช่วยเกื้อหนุนให้ชีวิตประสบความสำเร็้จ มีสุขภาพดี และมีความสุข
2.คุณภาพของความสัมพันธ์สำคัญกว่าจำนวน หมายความว่า การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนเพียงน้อยนิด ดีกว่าการมีสัมพันธ์ด้านลบกับคนแย่ๆ หลายคน เช่น มีเพื่อนน้อย แต่เพื่อนเหล่านั้นเป็นเพื่อนที่ดีกับเราจริงๆ คอยช่วยเหลือกันตลอด ย่อมดีกว่าการมีเพื่อนเยอะๆ แต่ไร้ซึ่งความสัมพันธ์ใดๆ
หรือแม้แต่คู่รัก หากแต่งงานกันแล้ว แต่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ลงรอยกัน ก็ย่อมเสียหายมากกว่ามีความสุข เพราะคุณภาพของความสัมพันธ์มันสำคัญกว่าจำนวนหรือปริมาณใดๆ เป็นไหนๆ
3.ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นเกราะปกป้องสมอง งานวิจัยบอกเราว่า นอกจากความสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้เรามีความสุขแล้ว ในด้านสมองมันจะช่วยให้เรามีความจำที่ดีด้วย ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีอายุ 80 ปี แต่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง รู้สึกว่าพึ่งพากันได้ จะช่วยให้ความจำของผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากกว่าคนที่อายุ 80 แต่ไม่มีความสัมพันธ์อันดีกับใครเลย
1
งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ที่ดี คือกุญแจของชีวิต แน่นอนหากคุณอยู่ในสังคมที่ล้อมรอบไปด้วยคนดีๆ คุณก็จะมีความสุขด้วยเช่นกัน
แต่หากสังคมที่คุณอยู่ มีแต่ความสัมพันธ์แย่ๆ ไม่สามารถพึ่งพาหรือไว้เนื้อเชื่อใจได้ ย่อมทำให้คุณรู้สึกมีความทุกข์อยู่ไม่น้อย
อย่างไรก็ตาม ในโลกของความเป็นจริง เราย่อมเจอความสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่ามันจะดีหรือแย่ ท้ายที่สุดแล้ว ก็ขึ้นอยู่ตัวเราเอง ว่าจะเลือกความสัมพันธ์แบบไหน จะดีหรือแย่ ทั้งหมดอยู่ที่ "ตัวเรา"
โฆษณา