25 ส.ค. 2020 เวลา 00:47 • หนังสือ
สรุปหนังสือ Homo Deus
"หรือสุดท้ายแล้ว Homo Sapiens จะเป็นสัตว์ล้าหลังตัวหนึ่ง ที่ไม่มีความสลักสำคัญใดๆต่อโลกใบนี้? "
The Human Agenda
Harari เริ่มต้น Homo Deus ด้วยประเด็นว่า มนุษย์นั้นได้บรรลุความใฝ่ฝันของผู้คนในอดีตแล้ว เช่น หากคุณเกิดมาสมัยยุคกลางของยุโรป มันก็เป็นเรื่องปกติที่อายุขัยคนรอบๆตัวคุณจะไม่ได้ยืนยาวเกิน 60 ปี เป็นเรื่องปกติที่วันดีคืนดีคุณจะติดเชื้อโรคระบาดแล้วก็ตายไป วันดีคืนดีคุณจะไม่มีอะไรกิน หรือโดนเมืองข้างๆเปิดสงคราม บุกโจมตี คนในสมัยก่อนคงไม่คิดว่าจะมีวันใดที่มนุษย์สามารถเอาชนะ ภาวะอดอยาก (Famine), โรคระบาด (Plaque) และสงคราม(War) ไปได้ พวกเขาแค่อยู่รอดไปวันๆก็เก่งแล้ว
แต่ไม่ใช่ในสมัยนี้ ที่ สามเรื่องดังกล่าวเป็นอะไรที่เราคุมได้ เราผลิตอาหารได้มากพอ ที่ภาวะอดอยากนั้นเป็นเรื่องของปัญหาการเมือง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น นั่นคือความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายทางสาธารสุข และเรามีคนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย มากกว่าการฆาตกรรมหรือจากสงครามรวมกันเสียอีก
ฉะนั้นแล้วเมื่อมนุษย์สามารถเติมเต็มสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้แล้ว ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่มันจะพอใจแค่นั้น เราได้กลายเป็นเจ้าของชะตาชีวิตของเราเอง ไม่มีอะไรมาหยุดเราไม่ให้ Upgrade ตัวเราให้ดีขึ้น เพื่อชีวิตที่อมตะ (Immortality) เพื่อสุขนิรัน (Bliss) และอำนาจเหนือพระเจ้า (Divinity)
The Hive Switch
แต่ก่อนที่ Harrari จะพยายามอธิบายว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ในอนาคต เขากลับมาตั้งคำถามอีกครั้ง นำผู้อ่านย้อนสู่หนังสือ Sapiens โดยเน้นประเด็นที่ว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?
เรามาอยู่ในจุดที่มนุษย์เป็น Species เดียวที่สามารถกำหนดความเป็นไปของระบบนิเวศได้ทั่วทั้งโลก ซึ่งแม้จะมีสิ่งมีชีวิตเกิดมาล่วงหน้าเราหลายล้านปี ก็ไม่เคยมี Species ที่ใดที่ทำเช่นนี้ได้
Harari เสนอว่าที่มนุษย์ทำเช่นนี้ได้ ไม่ใช่จากที่มันรู้ภาษา ไม่ใช่จากที่มันทำเครื่องมือหินได้ ไม่ใช่จากที่มันเป็นสัตว์ประเสริฐอะไรใดๆ ไม่ใช่เพราะมันมีความรู้สึกนึกคิดละเอียดอ่อนใดๆ แต่เพราะด้วยความเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในสมอง ทำให้เราสามารถแต่งนิยาย(Story)ได้ ซึ่งนิยายในที่นี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความเชื่อที่แชร์ร่วมกัน” (Inter-subjective reality) เช่น เราเชื่อว่าเงินมีค่า เพราะคนอื่นๆก็เชื่อว่าเงินมีค่า แต่ถ้าเราเอาเหรียญหรือธนบัตรไปให้คนป่าดู พวกเขาก็คงไม่ได้เห็นค่าอะไร เพราะเขาไม่ได้แชร์ความเชื่อนั้นกับเรา
1
การที่มนุษย์เชื่อใน Intersubjective reality นี้เอง ทำให้เราสามารถสร้างความร่วมมือได้ในระดับมวลมหาประชาชน ซึ่งไม่มีสัตว์Speciesใดทำได้
ถามว่า Intersubjective Reality นี้ ทำให้มนุษย์ร่วมมือกันได้อย่างไร? นั่นเพราะมันทำให้มนุษย์มีเป้าหมายในชีวีต และ มันให้ความหมายของชีวิตมนุษย์ เช่น ชาวอียิปโบราณเชื่อในฟาโรห์ เชื่อว่าฟาโรห์เป็นพระเจ้า และตนมีชีวิต เกิดมาเพื่อรับใช้ จึงยอมอดทนใช้แรงงานสร้างสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆมากมาย รวมถึงสามารถสร้างพีระมิดด้วยความลำบากลำบนได้
The Pie
นอกจากนี้ Intersubjective Reality ยังทำให้สังคมมนุษย์ อยู่อย่างสงบสุข และเกิดสมดุลในการใช้ทรัพยากร
ทำไมจึงเกี่ยวกับความสงบ? เพราะการจะตัดสินได้ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดี หรือไม่ดี (Morally Right or Morally Wrong) ก็ต้องใช้หลักคิด คำสอนต่างๆ มาตัดสิน เช่นคำสอนที่มาจากศาสนา (เช่น ขโมยของเป็นบาป การพนันเป็นบาป เป็นต้น)
ส่วนเรื่องความสมดุลในทรัพยากร ก็เริ่มจากว่า มนุษย์ในอดีตไม่เชื่อในเรื่องการเติบโต (Growth) ของเศรษฐกิจ นั่นเพราะธรรมชาติไม่ได้มีกลไกเช่นนั้น ธรรมชาติไม่เชื่อใน Credit
ลองคิดดูว่า ในทุ่งหญ้าแห่งหนึ่ง จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีจำนวนหมาป่าเกิดขึ้นเยอะ จนอัตราการบริโภคกระต่ายแซงหน้าการเกิดของกระต่าย? หรือ หมาป่าบริโภคกระต่ายเกินความจำเป็น? ช่วงแรกนั้นหมาป่าก็จะอวบอ้วนสมบูรณ์ แต่เมื่อกระต่ายลดลงเร็วเกินไป แน่นอนว่าหมาป่าก็จะลดจำนวนลง เพราะพวกมันจะอดตาย หรือ แย่งอาหารกันเอง กลับสู่สมดุล ซึ่งนี่คือธรรมชาติ
และคงไม่มีหมาป่าตัวไหน ที่ไปขอแบ่งเนื้อกระต่าย 1 ตัว จากหมาป่าตัวอื่น แล้วสัญญาว่าเดือนหน้าจะคืนกระต่ายให้อีก 2 ตัว
โลกในอดีตก็เช่นกัน คนเห็นทรัพยากรเป็น Fixed Size Pie ถ้าใครได้ชิ้นใหญ่ไป คนอื่นๆก็จะได้ชิ้นเล็ก ถ้าเมืองใดเมืองหนึ่งรุ่งเรือง นั่นหมายความว่ามีเมืองหนึ่งที่ย่อยยับชิบหาย เพราะว่าถูกยึดทรัพสินมา
วิธีที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลนได้นั้น จึงต้องมี Story อะไรบางอย่าง ที่คุมคนไม่ให้แย่งทรัพยากรกัน อาจเป็นการคุมสิทธิเสรีภาพ คุมความทะยานอยากของคนไว้ในคำสอนต่างๆ หรือ ง่ายกว่านั้น ก็บอกว่ามีพายชิ้นใหญ่รออยู่ ในหลังชีวิตความตาย
(Promising pie in the sky) ตอนนี้ก็จงขยัน ทำงาน ทำความดีไว้มากๆซะ
3
ดังนั้น เมื่อมนุษย์ในอดีตไม่เชื่อใน Growth เศรษฐกิจของโลกก็ไม่เจริญ การใช้ทรัพยากรต่างๆ ก็ไม่ได้เพิ่มสูง ไม่ได้มีการพัฒนาอะไรมากนัก
จนเมื่อ Modernity มาถึง มนุษย์พบว่าเราไม่ต้องอยู่อย่างขัดสน ทุกคนสามารถมีกินมีใช้ได้ มีทรัพยากรพอสำหรับทุกๆคน เพียงแค่เราเพิ่มขนาด Pie ด้วยความเชื่อในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ (ผ่านระบบ Credit)
ฉะนั้น คนที่ได้ Pie ชิ้นใหญ่อยู่แล้ว ก็จะได้ชิ้นใหญ่ขึ้นไปอีก คนที่ได้ Pie ชิ้นเล็ก ที่ตอนแรกไม่พอกิน ก็จะได้ Pie ชิ้นใหญ่ขึ้น พอให้อิ่มท้อง
ความเชื่อใน Growth นี้ ขัดกับอำนาจและคำสอนเดิมๆ ที่กักขังความทะเยอทะยานของเหล่าปัจเจก จึงทำให้เกิดการท้าทายต่ออำนาจเดิมที่คุมมนุษย์ไว้ ซึ่งก็คุมไว้ไม่ได้นาน เพราะ Growth นั้นทำให้ทุกคน Win-Win อย่างเห็นได้ชัด
เมื่อมนุษย์ละทิ้งความเชื่อเก่า ก็ไม่มีอะไรมากำหนดความหมายของมนุษย์
เมื่อไม่มีอะไรมากำหนดความหมายของมนุษย์ แล้วมนุษย์จะมีคุณค่าอะไร? ใช้ชีวิตเพื่อเป้าหมายอันใด?
God Is Dead
ทำไมการเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีความหมายใดๆ ไม่ได้ทำให้สังคมมนุษย์เกิดความโกลาหล ทำไมมันยังwork ต่อไปได้?
นั่นเพราะ โดยธรรมชาติ มนุษย์ไม่สามารถ Go on ต่อได้ หากขาด นิยาย บางอย่างที่ให้มันยึดเหนี่ยว มันจึงได้สร้างสิ่งที่รองรับแนวคิดเรื่อง Growth นี้ ผ่านหลักการที่เรียกว่า Humanism
มนุษย์สร้างนิยายชุดใหม่ขึ้นมา เรียกว่า Liberal Humanism
Humanism (มนุษยนิยม) คือการที่ มนุษย์หันมาสร้างคุณค่าของมนุษย์ด้วยตัวของเขาเอง
หลักการ (Dogma) ของHumanism คือ อะไรที่ทำให้มนุษย์มีความสุข สิ่งนั้นก็คือสิ่งที่ถูกต้อง
ความเชื่อนี้บอกว่า มนุษย์คือศูนย์กลาง คือผู้ให้ความหมายของจักรวาล มนุษย์จะทำอะไรก็ได้ ที่ทำให้พวกเขามีความสุข
1
หลักการนี้ ซึ่งก่อร่างพร้อมด้วยกับ Industrial revolution จึงทำให้สังคมมนุษย์เจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่มีอะไรจะมาหยุดมนุษย์ได้อีกแล้ว ด้วยความรู้ทาง Genetic engineer , Artificial Intelligence และวิทยาการต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นทุกวันๆ ก็ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรจะมาหยุดเรา ไม่ให้มีอำนาจเทียมเท่าพระเจ้าได้
ซึ่ง Harari เสนอว่า การที่เราพยายามจะ play god นี่แหละ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของหายนะมวลมนุษยชาติ เพราะสุดท้ายแล้ว ความเจริญนี้ จะย้อนกลับมาทำลาย “ความหมายของมนุษย์” อันเป็นเสาหลักของ Humanism
1
The Algorithm
อะไรคือความหมายของมนุษย์? อะไรคือ “แก่นของมนุษย์”
ดังที่กล่าวว่า ความพิเศษของมนุษย์อยู่ที่การร่วมมือระดับมวลมหาประชาชน ไม่ใช่ในระดับปัจจเจก ตัว Harari นั้น ไม่เชื่อในจิตวิญญาณ ไม่เชื่อใน Free will ของปัจเจกใดๆทั้งสิ้น
ในมุมมองของ Harari, มนุษย์เดี่ยวๆนั้น ไม่มีความพิเศษอะไรไปมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆเลย
เขาเสนอให้มองว่าสิ่งมีชิวิตนั้น ก็คือ Algorithm ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Biological algorithm
Biological algorithm นี้มีหน้าที่ในการรับ Input และแปลงให้ได้ Output ใดๆก็ตามให้มันสามารถอยู่รอด และสืบพันธุ์ ได้ต่อไป
เมื่อเป็น Algorithm ก็แสดงว่าเรามี Pattern ที่เราสามารถทำนาย ควบคุม และเลียนแบบได้
ดังนั้นจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อความเจริญด้านชีววิทยา สามารถ Crack the code ถอดรหัส Algorithm ของสมองมนุษย์ได้ สามารถคุมการทำงานของความคิดมนุษย์ได้ และจะเกิดอะไรขึ้น หาก AI สามารถพัฒนา Algorithm ให้ก้าวหน้าจนสามารถทำอะไรต่างๆ ได้เก่งกว่ามนุษย์
ลางหายนะข้อที่หนึ่ง จึงเป็นว่าเมื่อ AI มาแทนที่มนุษย์ จนทำอะไรต่างๆได้ดี มนุษย์เดิมที่มีคุณค่าอย่างน้อยที่สุดในงานแรงงาน ก็จะกลายเป็น ชนชั้นที่ไม่มีคุณค่าใดๆ (Useless class of human) โดยสมบูรณ์แบบ
อาจมีข้อค้านว่า แม้AI จะเก่งยังไง มันก็ไม่มีความรู้สึกนึกคิด (Consciousness) แม้ในปัจจุบันAIจะพัฒนาเร็วแค่ไหน ด้านพัฒนาความรู้สึกก็ยังดูห่างไกล ไม่ได้มีความคืบหน้าใดๆ ยังไงเสีย เมื่อมนุษย์นั้น ยังมีความรู้สึกนึกคิด ฉะนั้น AI ก็น่าจะยังตามหลังเราอยู่เสมอ
แต่ ปัญหาคืออะไรสำคัญกว่าหละ ในการทำงาน ระหว่าง ความฉลาด (Intelligence) หรือ ความรู้สึก (Consciousness) ถ้า AI สามารถทำงานได้เก่งกว่ามนุษย์ จำเป็นด้วยหรือ ที่มันต้องมีความรู้สึก?
หายนะข้อที่สองที่จะมาท้าทายความเป็นมนุษย์ ก็คือความเจริญของ Biogenetic และ Bioengineering
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราสามารถปรับแต่งพันธุกรรมได้สมบูรณ์ เราสามารถกำหนดคุณสมบัติของมนุษย์ได้ตั้งแต่ปฏิสนธิ และเราสามารถปรับเสริมเติมแต่ง ใส่นุ่นนี่นั่นให้มนุษย์ได้ (สร้างCyborg) จนสุดท้ายเราอาจสามารถเปลี่ยนสมอง คุมความคิดของมนุษย์ได้ อุปนิสัยอะไรที่ไม่ดี เราก็กด Switch ปิดมัน อุปนิสัยที่ดีๆ เราก็ขยายสัญญาณมันมากๆขึ้นๆ
เมื่อความก้าวหน้ามาถึงขั้นเราสามารถ Manipulate ความรู้สึกของคนได้แล้ว เรายังจะเรียกได้หรือไม่ ว่าแต่ละคน Unique หรือ มีตัวตนอันเป็นเอกลักษณ์จริงๆ
หายนะที่ต่อเนื่องมาคือ หากการ Engineer มนุษย์นี้ เกิดขึ้นจริง มันย่อมเกิดขึ้นก่อนในหมู่ Elite ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้ความสามารถของคนธรรมดากับคนที่ได้รับการปรับแต่ง ห่างชั้นกันมากขึ้น พวก Elite ที่ได้รับการปรับแต่ง อาจมีการทำงานร่างกายที่ไม่เหมือนเรา อาจมีสมองที่คิด รู้สึก ประสบการณ์ต่างจากเราไปมากเรื่อยๆ เหมือนที่เราไม่มีวันเข้าใจความคิดของหมู ของไก่
พวกเขาอาจเปลี่ยนไปเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ที่Sapiens ไม่มีวันเข้าใจ เกิดเป็นมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ เรียกว่า Homo Deus
It’s all about the Data Flow
เมื่อเสาหลักของ Humanism ซึ่งก็คือความ Unique และความหมายของแต่ละคน ถูกท้าทาย และมีแนวโน้มจะถูกทำลายไป นั่นแปลว่า Liberal humanism อาจถูกทำลายได้ในอนาคต
เมื่อนั้นแล้วอะไรจะมาแทนที่มันหละ อะไรจะมากำหนดความหมาย กำหนดเป้าหมายให้ Homo Sapiens ได้อีก?
Harari เสนอว่า สิ่งนั้นอาจเป็น Dataism
Dataism ยึดหลักที่ว่า Universe ไม่ใช่อะไรอื่น มันคือ Data flow
คุณค่าหรือความหมายของสิ่งใดๆ ขึ้นกับว่ามันสามารถ มอบอะไรให้กับการสร้าง แปรผล และผลิตซ้ำ แบ่งปัน Data ได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้ามันทำให้เกิด Data Flow ได้มาก แสดงว่ามันมีคุณค่า และมันได้ไปต่อ
การที่มนุษย์มาถึงจุดนี้ได้ ก็เพราะมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถ contribute data flow ได้ดีกว่าสัตว์ตัวอื่นๆ โดยเฉพาะการที่มันสามารถร่วมมือเป็นมวลมหาประชาชนนี้ได้ ยิ่งทำให้เกิด Processor อันทรงพลัง มันจึงเป็นผู้ชนะในโลกนี้
กรณีอื่นๆ เช่น การที่ ทุนนิยม เอาชนะ คอมมิวนิส ได้นั้น ไม่ใช่เพราะ ทุนนิยมคือพระเอก คอมมิวนิสคือซาตาน แต่เพราะทุนนิยมใช้ระบบ Distributed Data processing ในขณะที่ Communist ใช้ Centralised Data processing ซึ่งช้ากว่า มันเลยแพ้ไป
Dataism เกิดจาก การพยายามผสานรวมกันของสองทฤษฏีที่สำคัญ คือ การมองสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเป็น ฺBiochemical algorithm และ การเกิดมาของ Computer ซึ่งเป็น Electronic algorithm
Dataism เสนอว่า เราควร ควบรวม ทั้งสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน ทำลายบาเรียกั้นระหว่างสัตว์และเครื่องจักร เมื่อนั้นแล้วองค์ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ก็สามารถผนวกรวมกัน เกิดเป็น Single Processing algorithm ที่ทำให้ข้อมูลมีการ Flow อย่างดีที่สุดโดยที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
และโลก ก็จะอยู่ในยุคสมัยแห่งความรุ่งเรือง ก้าวหน้า อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่นกัน
หาก Dataism สามารถครองโลกได้สำเร็จ จะเกิดอะไรขึ้นกับมวลมนุษชาติ?
Harari เสนอว่า ในช่วงแรก มนุษย์จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล จากความเจริญรุ่งเรืองต่างๆ
แต่แน่นอนว่าสิ่งที่จะรับมือกับข้อมูลปริมาณมหาศาลนี้ได้ มิใช่สมองมนุษย์ มันคือ AI
สุดท้ายแล้ว AI จะสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และ มนุษย์ จะไม่เกี่ยวอะไรกับโลกนี้อีกต่อไป
ความสุขของมนุษย์จะไม่มีความสำคัญใดๆอีกต่อไปมนุษย์ จะไม่มีความหมายใดๆอีกต่อไป เพราะBiological algorithm ที่ล้าหลังของมนุษย์ จะถูกแทนที่ด้วย Electrical Algorithm
มนุษย์จะยังคงมีอยู่ อยู่ดี กินดี แต่ชีวิตเหล่ามนุษย์ที่ไม่มีความหมายเหล่านี้ มันจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา?
สุดท้ายแล้ว มนุษซึ่งสร้าง Electric Algorithm ขึ้นมา ก็จะถูกลดสภาพเป็นแค่ฟันเฟืองหนึ่งในระบบ แล้วอาจหายไปกับกลุ่มข้อมูลต่างๆ
บั้นปลายของ Dataism จึงชี้ให้เห็นว่า สุดท้าย มนุษย์จะกลายเป็นสิ่งที่ทำมันทำสัตว์ร่วมโลกใบนี้ ที่มันทำกับหมู ทำกับไก่
สุดท้าย Homo Sapiens จะเป็นสัตว์ล้าหลังตัวหนึ่ง ที่ไม่มีความสลักสำคัญใดๆต่อโลกใบนี้
Harari ทิ้งท้ายหนังสือ ด้วยคำถามสำคัญสามข้อ ซึ่งเขาเชื่อว่าสามารถตอบทุกๆปัญหา และพอชี้ให้เราเห็นแนวทางในอนาคตได้ นั่นคือ
1. Are organism really just algorithm, and is life really just data processing? (สิ่งมีชีวิตเป็นแค่ Algorithm และ ชีวิตเป็นแค่ Data processor จริงๆหรือ)
2. What’s more valuable – intelligence or consciousness? (อะไรสำคัญกว่า ความรู้สึก หรือ ความฉลาด)
3. What will happen to society, politics and daily life when non-conscious but highly intelligent algorithm know us better than we know ourselves? (อะไรจะเกิดขึ้นต่อระบบสังคม การเมือง และชีวิตประจำวันของพวกเรา หากมี algorithm ที่ไม่มีความรู้สึกใดๆ แต่ฉลาดมากๆ รู้จักตัวเรา ดีกว่าเรารู้จักตัวเองสะอีก)
Note : คำเฉพาะภาษาไทยที่ใช้นี้มาจากผมลองแปลจากVersion ภาษาอังกฤษเองนะครับ น่าจะมีหลายๆคำ ที่ไม่ตรงกันกับฉบับ Official แปลไทย
โฆษณา