25 ส.ค. 2020 เวลา 12:30 • ถ่ายภาพ
- เอาฟิล์มมาเล่า -
" กะระยะ "
เปิดมาด้วยความเฟี้ยวของคุณป้า แห่งเมืองหนองบัว ไปเลย
ระหว่างที่รอภาพจากฟิล์มที่ส่งล้าง ซึ่งก็น่าจะหลายวันอยู่ และ ระหว่างนี้เพจก็คงจะเข้าสู้ ปรัชญาไร้สาระ ซะส่วนใหญ่ 5555 งั้นวันนี้ เรามาคุยเรื่องกล้องกันดีกว่าครับ 😁 เผื่อใครจะแวะมาอ่านเล่นๆ หรือสนใจจะลองหัดเล่นก็อาจมีประโยชน์บ้างครับ
กล้องฟิล์มที่ผมจะมาแนะนำให้รู้จักกันในวันนี้ เป็นกล้องที่ใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. หรือเรียกกันว่า ฟิล์ม 135 ครับ เป็นฟิล์มที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน หาง่าย ราคาถูก แต่เริ่มแพงขึ้นเรื่อยๆ 😅 ส่วนกล้องฟิล์มที่ว่านี้ก็คือ กล้องฟิล์มแบบกะระยะ ครับผม
เครดิตภาพ : http://www.photographyattic.com
📷 กล้องฟิล์มแบบ " กะระยะ "
หลักการง่ายๆในการใช้งานกล้องแบบ กะระยะ นี้ก็คือ Point&Shoot ครับ " เล็งแล้วลั่น " เน้นความไว ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาง่าย เหมาะมากสำหรับสายสแนป แชะๆ ปัจจุบันก็มีหลายรุ่น หลายนี่ห้อให้เลือกใช้เลยครับ
กล้องแบบกะระยะส่วนใหญ่ จะให้ผู้ถ่ายเลือกค่า ISO (ASA) ที่กล้องเอง ส่วนใหญ่ก็จะเลือกไว้ให้ตรงกับค่า ISO ของฟิล์มที่ใช้ถ่าย ผู้ถ่ายต้องปรับรูรับแสงเอง และกล้องจะเลือกสปีดชัตเตอร์ที่เหมาะสมให้อัตโนมัติ และก็มีบางรุ่น ที่สามรถปรับรูรับแสงและสปีดชัตเตอร์เองได้ท้้งหมด หรือ ออโต้ได้ทั้งหมดเช่นกัน
เครดิตภาพ : www.35mmc.com
ช่องมองภาพของเจ้ากล้องแบบ กะระยะ นี้จะเป็นเพียงกระจกสำหรับมองภาพเท่านั้น การทำงานจะแยกกับตัวเลนท์ของกล้องชัดเจน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานของกล้องแต่อย่างใด ดังนั้นเมื่อเรามองไปที่ช่องมองภาพ สิ่งที่เราเห็น กับภาพที่เราได้มา จะ " ไม่ตรงกัน " ก็เรียกได้ว่ามีไว้เล็งเป็นไกด์ไลน์เฉยๆแค่นั้นเองแหละครับ
ส่วนระบบโฟกัส ผู้ถ่ายจะต้องเป็นคน กะระยะห่าง ระหว่าง วัตถุที่จะถ่ายกับตัวกล้องด้วยตัวเอง โดยกล้องจะมีระยะโฟกัส ที่ประมาณ 1 เมตร 1.5 เมตร 3 เมตร และ สุดสายตา ( คือชัดทั้งภาพนั้นแหละครับ ) ซึ่งความยากของกล้องแบบ กะระยะ นี้ ก็คือการโฟกัสนี่แหละครับ ที่เราจะต้องแม่นพอสมควร ไม่งั้นก็เบลอไปเลยจร้าา
เครดิตภาพ : http://www.photographyattic.com
กล้องบางตัวจะบอกเป็นตัวเลขสำหรับกะระยะ หรือบางตัวจะบอกเป็นสัญลักษณ์ที่ตัวกล้อง ตัวอย่างเช่น เจ้า Olympus trip 35 กล้องยอดฮิตในยุคสมัยหนึ่ง
รูปคนครึ่งตัว แทนระยะ 1 เมตร
รูปคนสองคน แทนระยะ 1.5 เมตร
รูปคนสามคน แทนระยะ 3 เมตร
รูปภูเขา แทนระยะ อินฟินิตี้ หรือ ชัดทั้งภาพ
ตัวอย่างเช่น ผู้ถ่าย ต้องการจะถ่ายวัตถุที่ระยะ 1.5 เมตร ก็ให้หมุนวงแหวนกะระยะ ไปที่รูปคนสองคน ปรับรูรับแสงให้พอดีกับแสง ( บางรุ่นมีโหมดออโต้ ) และกล้องต้องอยู่ห่างวัตถุที่ต้องการถ่าย เมตรเช่น ภาพก็จะออกมาชัดตรงที่ระยะ 1.5 เมตรพอดีครับ หรือ เราต้องการถ่ายภาพวิว ให้ชัดทั้งภาพ ก็หมุนวงแหวนไปที่รูปภูเขา แล้วภาพที่ได้ก็จะชัดทั้งภาพครับ
พออ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจมองว่า" ทำไมมันยากจังว่ะ " ใช่ครับ ตอนผมหัดถ่ายใหม่ๆก็ใช้ไอ้เจ้ากล้องกะระยะนี่แหละ จะถ่ายให้ชัด ให้ได้ดั่งใจคิดนี่ยากมากกกก แต่พอใช้จนคุ้นมือ ใช้จนเข้าใจกล้องแล้ว ถ่ายสนุกมากครับ รวดเร็ว " เล็งแล้วลั่น " แป๊บๆก็หมดไปหลายม้วนแล้วครับบบบ 😁
ข้อดีของเจ้ากล้องกะระยะ คือ น้ำหนักเบาครับ พกพาง่าย หากฝึกฝนดีๆ ก็สามารถ สแนปภาพได้ไว ทำให้ไม่พลาดจังหวะดีๆ และราคายังไม่สูงมาก น่าจะราวๆ 1500 - 4000 บาท แล้วแต่ยี่ห้อ แล้วแต่รุ่น เลยครับ
ส่วนข้อเสียคือ ต้องฝึกฝนการโฟกัสให้แม่นครับ บางคนม้วนแรกเบลอ มืด ทั้งม้วน ถึงกับถอดใจไปก็มี และที่สำคัญเจ้ากล้องกะระยะ ภาพที่เราเห็นในช่องมองภาพกับภาพที่ได้จริงจะไม่ตรงกันครับ จะมีเหลื่อมๆ อยู่บ้าง ฉะนั้นต้องจัดองค์ประกอบภาพให้ดีครับ ไม่งั้นภาพอาจจะเอียงหรือมีบางส่วนขาดหายไปได้
ถ่ายในที่แสงน้อย เปิดรูรับแสงกว้างสุดแล้วได้แค่นี้ 😂
ตอนเล็งในช่องมองภาพ เห็นมังกรเต็มตัวเลยครับบบ
ส่วนภาพนี้ คงไม่ต้องบอกว่าผมโฟกัสจุดไหน 😅
ภาพนี้ตอนเล็ง ตรงเป๊ะเลยครับ ส่วนภาพที่ได้มานั้น...😂
ท้้งหมดนี้เป็นเพียงความเข้าใจของผมเองนะครับ หากมีข้อมูลตัวไหนผิดพลาด ก็แนะนำผมได้เลยนะครับ ผมพร้อมปรับปรุงเสมอ 😁
กล้องดีก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพออกมาสวยครับ แต่การฝึกฝนนั้นก็สำคัญ สำหรับผมที่ไม่ใช่ช่างภาพอาชีพ ถ่ายเพราะความชอบ ความสนุก ได้เท่านี้ผมก็มีความสุขที่ได้มองภาพที่ตัวเองถ่ายแล้วครับ 😁
📸 ถ่ายภาพให้สนุกครับ
📷 Olympus trip 35

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา