Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
25 ส.ค. 2020 เวลา 11:39 • สุขภาพ
ควบคุมระดับ ‘คอเลสเตอรอล-ไตรกลีเซอไรด์’
ทำความเข้าใจ "คอเลสเตอรอล" และ "ไตรกลีเซอไรด์" ไขมันสองประเภทที่มีความแตกต่าและซับซ้อน กับแนวทางหรือวิธีในการควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับร่างกาย
1
บทความโดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ | คอลัมน์ เศรษฐศาสตร์ + สุขภาพ
ควบคุมระดับ ‘คอเลสเตอรอล-ไตรกลีเซอไรด์’ | กรุงเทพธุรกิจ
เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ก็มักจะเพิ่มขึ้นตามไปพร้อมกับน้ำหนักตัว ความดันโลหิตและระดับน้ำตาล สำหรับผู้สูงอายุนั้นปัจจัยดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากกับการรักษาสุขภาพ ซึ่งในส่วนของระดับน้ำตาลในเลือดนั้นไม่มีความสลับซับซ้อนอะไร เพราะหากน้ำตาลในเลือดสูงก็แปลว่าต้องลดการบริโภคน้ำตาล แต่สำหรับคอเลสเตอรอลนั้น สำหรับผมมีข้อมูลและความสลับซับซ้อนค่อนข้างมาก จึงขอนำมาเขียนถึงอีกครั้งในสัปดาห์นี้
1
คอเลสเตอรอลเป็นไขมัน (lipid) ประเภทหนึ่ง ที่มีประโยชน์สำหรับร่างกายในหลายด้าน เช่น เซลล์จำเป็นต้องใช้คอเลสเตอรอลเพื่อห่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) นอกจากนั้นยังเป็นสารเริ่มต้น (precursor) ในการที่ร่างกายสร้างฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนเพื่อสร้างวิตามินดี และที่สำคัญมากอีกหน้าที่หนึ่งคือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการที่ตับใช้คอเลสเตอรอลสร้าง “น้ำดี” (bile) เพื่อใช้ในการย่อยอาหาร
เมื่อค้นคว้าเรื่องคอเลสเตอรอลให้ลึกซึ้งมากขึ้น ผมก็พบว่าร่างกายของเรา (คือตับ) นั้น สามารถสร้างคอเลสเตอรอลให้กับร่างกายได้อย่างเพียงพอและไม่จำเป็นต้องกินอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ที่มีคอเลสเตอรอล แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ประเมินว่าคอเลสเตอรอลในร่างกายนั้นประมาณ 75% ถูกผลิตโดยตับของเรา และอีก 25% ได้มาจากการกินอาหาร
อย่างไรก็ดี ร่างกายของเรามีระบบควบคุมระดับคอเลสเตอรอล กล่าวคือบทบาทของ lipoprotein ที่เราเรียกว่า “ไขมันดี” หรือ high density lipoprotein cholesterol ทั้งนี้สังเกตว่าทั้ง HDL และ LDL นั้นต่างก็เป็นคอเลสเตอรอลเหมือนกัน เพียงแต่อย่างแรกมีความหนาแน่นสูงและอย่างหลัง (ที่เป็นไขมันไม่ดี) นั้นมีความหนาแน่นต่ำ
ปรากฏว่า LDL Cholesterol ที่เราว่าเป็นไขมันเลวนั้น แปลว่าหากมีมากเกินไป ไม่ได้ถูกนำไปใช้ ก็เสี่ยงที่จะไปเกาะตามเส้นเลือดทำให้แข็งตัวและตีบตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ความดันเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเส้นเลือดจึงเสี่ยงที่จะฉีกขาดหรือไขมันที่เกาะเส้นเลือดหลุดออกมาเป็นลิ่มไปอุดตันเส้นเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเข้าไปเลี้ยงหัวใจหรือสมองได้ ซึ่งเป็นโรคที่ผู้สูงอายุกลัวและต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น
HDL Cholesterol ที่กล่าวว่าเป็นไขมันดีนั้น ความดีคือทำหน้าที่กวาดเอา LDL Cholesterol ออกจากเลือดกลับมาให้ตับเก็บเอาไว้ ดังนั้นแนวทางในการควบคุม LDL Cholesterol ไม่ให้สูงคือการลด LDL Cholesterol และ/หรือการเพิ่ม HDL Cholesterol สำหรับการลด LDL Cholesterol นั้นก็สามารถทำได้ 2 วิธีคือทำให้ตับใช้ LDL Cholesterol มากขึ้นหรือลดการกินอาหารที่เพิ่ม LDL Cholesterol
ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าคอเลสเตอรอลนั้น ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญออกมาโดยตรงได้ แตกต่างจากไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นไขมันอีกประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อเรากินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลที่ให้พลังงาน แต่เมื่อเราใช้พลังงานไม่หมด พลังงานที่เหลือก็จะถูกแปลงเป็นไตรกลีเซอไรด์ ดังนั้นเมื่อออกกำลังกาย เช่น วิ่งหรือปั่นจักรยาน ก็จะสามารถเผาผลาญใช้ไตรกลีเซอไรด์ได้
การออกกำลังกายมีผลอย่างไรต่อคอเลสเตอรอลนั้น เป็นเรื่องที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจทั้งหมด แต่เชื่อว่าการออกกำลังกายกระตุ้นเอ็นไซม์ที่ช่วยในการเพิ่ม HDL Cholesterol (แต่ไม่ได้เผาผลาญ LDL Cholesterol) นอกจากนั้นยังเชื่อด้วยว่าการออกกำลังกายจะช่วยทำให้ LDL Cholesterol มีขนาดใหญ่ขึ้นและนุ่มขึ้น (large and fluffy) ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะ LDL Cholesterol ที่ใหญ่และนุ่มจะถูก HDL Cholesterol กวาดเอาไปเก็บที่ตับได้ง่ายกว่า LDL Cholesterol ประเภทเม็ดเล็กและแข็งที่จะฝังตัวในเส้นเลือดอย่างมิดชิด
bangkokbiznews.com
ควบคุมระดับ ‘คอเลสเตอรอล-ไตรกลีเซอไรด์’
ทำความเข้าใจ ”คอเลสเตอรอล” และ ”ไตรกลีเซอไรด์” ไขมันสองประเภทที่มีความแตกต่าและซับซ้อน กับแนวทางหรือวิธีในการควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับร่างกาย
31 บันทึก
42
25
31
42
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย