Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ความรู้ครอบตัว
•
ติดตาม
26 ส.ค. 2020 เวลา 00:00 • การเมือง
มาเล่ากันต่อจากคราวที่แล้วครับ จากที่อัพเดทสถานการณ์การเลือกตั้งในสหรัฐกันไปคราวก่อน วันนี้ผมจะอธิบายรายละเอียดการวิธีเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐให้ฟังกันครับ
จริงๆแล้วการที่ประเทศสหรัฐนั้นกว่าจะได้ประธานาธิบดีแต่ละครั้ง ค่อนข้างมีรายละเอียดขั้นตอนที่มากมายและซับซ้อนมากครับ ไล่ไปตั้งแต่การโหวตหาตัวแทนผู้ลงคะแนนเสียงในแต่ละพรรค เพื่อมาลงคะแนนค้นหา Candidate หรือผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยวันนี้ผมจะขอข้ามมาเล่าในส่วนของ ณ วันที่แต่ละพรรคได้ตัวแทนผู้ที่จะลงแข่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วครับ
โดยผมจะขอข้ามขั้นในส่วนของการขับเขี้ยวคัดเลือกผู้แทนภายในไป ซึ่งจริงๆแล้วมันมีหลายขั้นตอนมากๆ และค่อนข้างขับเขี้ยวกันดุเดือดพอสมควรกว่าที่จะได้มาเป็นตัวแทนการลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดี ไว้มีโอกาสผมจะมาเล่าให้ฟังกันในรอบถัดไป
มาเล่ากันต่อสำหรับขั้นตอนหลังจากที่แต่ละพรรคได้ตัวแทนผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วนั้น การจะตัดสินว่าใครได้เป็นประธานาธิบดีนั้นจะเกิดขึ้นในช่วง Election Day ซึ่งจะเป็นวันอังคารหลังวันจันทร์แรก ในเดือนพฤศจิกายน ในปีที่มีการเลือกตั้งครับ หรือก็คือทุกๆ 4 ปีนั่นเอง
โดยระบบการเลือกตั้งในสหรัฐจะไม่ใช้ลงคะแนนให้ผู้สมัครโดยตรง แต่จะใช้ระบบโหวตเลือกตัวแทนเพื่อให้ตัวแทนไปโหวตเลือกประธานาธิบดีอีกต่อหนึ่งครับ โดยตัวแทนทั้งหลายก็จะมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคนั้นๆนั่นเอง ซึ่งทำให้ผลการตัดสินจะไม่ใช่การเลือกตั้งแบบ Popular Votes หรือรวมเสียงจากประชาชนทุกคนเพื่อตัดสินการเป็นประธานาธิบดีครับ แต่ระบบของ US จะเป็นในรูปแบบที่เรียกว่า Electoral Votes โดยแต่ละรัฐจะมีจำนวนตัวแทนที่มีเสียงโหวตที่ถูกกำหนดไว้ตามสัดส่วนประชากรครับ บวกกับจำนวนเสียงของวุฒิสมาชิกอีก 2 เสียง รวมกันทั้งประเทศรวม 538 เสียงครับ
ซึ่งแน่นอนสัดส่วนที่ถูกกำหนดด้วยวิธีดังกล่าวก็จะส่งผลให้รัฐใหญ่ที่มีประชากรเยอะ มีจำนวนตัวแทนออกเสียงค่อนข้างมากครับ แต่อีกมุมหนึ่งด้วยการกำหนดรูปแบบดังกล่าว ก็จะทำให้รัฐที่มีประชากรน้อย หรือพื้นที่เกษตรกรรมยังพอที่จะมีส่วนร่วมและมีอิทธิพลต่อการเลือกประธานาธิบดีอยู่ด้วยครับ ซึ่งส่วนตัวผมมองว่าเป็นระบบที่โอเคพอสมควร
ส่วนที่พิเศษอีกหนึ่งอย่างก็คือ เกือบจะทุกรัฐจะใช้ระแบบ Winner Take All ครับ ซึ่งก็คือหากพรรคใดไชนะคะแนนโหวตจากประชากรในรัฐนั้นๆ ไม่ว่าจะชนะมากหรือน้อย ก็จะได้รับจำนวนคะแนนเสียง(หรือจำนวนตัวแทน)ที่กำหนดไว้ของรัฐนั้นทั้งหมดไปครับ ซึ่งเป็นผลให้รัฐที่มีจำนวนตัวแทนคะแนนเสียงที่ถูกกำหนดไว้มากหน่อย มีการแข่งขันในการหาเสียงกันค่อนข้างมากครับ
ทั้งนี้จะมีแค่เพียง 2 รัฐ ที่ไม่ใช้ระบบ Winner Take All โดยทั้งสองรัฐ จะมี 2 ที่นั่งจากวุฒิสภา และ 3 ที่นั่งจากแต่ละเขต ซึ่งจะแข่งขันแยกกันตามเขต ทำให้เป็นเพียง 2 รัฐ ที่สามารถมีตัวแทนโหวตจากทั้งสองพรรค
ทั้งด้วยระบบ Winner Take All ความลุ้นจะอยู่ตรงที่รัฐที่เป็น Swing State หรือมีฐานเสียงที่ค่อนข้างสูสีคู่คี่กันจะมีการแข่งขันกันหาเสียงดุเดือดมากครับ โดยสามารถพลิกผันกันได้ยันวันสุดท้ายของการเลือกตั้งเลยทีเดียว ในทางกลับกันรัฐที่เป็นฐานเสียงใหญ่ หรือที่เรียกได้ว่าชนะขาดลอย (Safe State) ก็จะมีการขับเขี้ยวกันที่เบาบางลงไปนั่นเอง โดยท้ายที่สุด ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงโหวต 270 เสียงจาก 538 ก็จะเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีนั่นเองครับ
จุดสำคัญก็คือ แม้ในบางครั้งแม้โพลชี้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะขาดลอยหลายล้านเสียง แต่นั่นเป็นเพียง Popular Votes หรือผลจากการรวมคะแนนเสียงโหวตของประชาชน ซึ่งไม่ได้แบ่งตามเขตหรือรัฐ ก็เลยทำให้การพลิกโผสามารถเกิดขึ้นได้ครับ เนื่องจากเสียงโหวตกระจุกตัวชนะอย่างท่วมท้นจากประชากรในรัฐบางรัฐนั่นเอง แต่จำนวนที่นั่งหรือตัวแทนที่ได้กลับไม่มาก นั่นเป็นอีกหนึ่งความสนุกของเกมการเมืองของสหรัฐครับ โดยว่าง่ายๆก็คือ ต้องทำให้ชนะในหลายๆรัฐโดยเฉพาะในรัฐที่มีโควต้าตัวแทนโหวตมาก โดยไม่ต้องชนะขาดคะแนนเสียงในรัฐนั้นๆก็ได้ครับ
โดยการพลิกโผก็เคยเกิดขึ้นมาให้เห็นแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในสมัยที่ นาย จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช แพ้คะแนน Popular ถึง 5 แสนคะแนน หรือแม้แต่สมันทรัมป์เองที่แพ้คะแนน Popular Votes จาก ฮิลลารี คลินตัน เกือบ 2 ล้านเสียง แต่กลับได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เนื่องจากได้รับคะแนนเสียงจากตัวแทนโหวตมากกว่า หรือเรียกว่าชนะในแต่ละรัฐจนได้รับโควต้ารวมมากกว่านั่นเองครับ
สุดท้ายนี้ การเลือกตั้งในสหรัฐก็ใกล้เข้ามาทุกวัน โพลส่วนใหญ่ทุกท่านก็คงเห็นอยู่แล้วว่าค่อนข้างเอนเอียงไปทางเดโมแครต ซึ่งส่วนใหญ่จะมีฐานเสียงเป็นคนเมืองใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามอย่าพึ่งปักใจเชื่อเช่นนั้นเสมอไปครับ สุดท้ายการพลิกโผก็สามารถมีให้เห็นกันได้อยู่หลายครั้ง ร่วมลุ้นกันต่อไปครับ
ท่านใดเชียร์ใคร หรือมีความเห็นอย่างไรก็สามารถมาคอมเม้นท์คุยกันได้นะครับ เรื่องนี้ค่อนข้างจะเขียนให้เข้าใจยากและยาวซักเล็กน้อย ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่อ่านจนจบครับ
อ้างอิง
https://www.usa.gov/election
2 บันทึก
1
1
2
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย