26 ส.ค. 2020 เวลา 00:08 • ปรัชญา
ทำไมบางคนสูงศักดิ์ ทำไมบางคนต้อยต่ำ ทำไมคนถึงไม่เท่าเทียมกัน?
“สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม๓ ภาค ๒
“คนทำไมเกิดมาไม่เท่ากัน
ก็มันทำบุญไม่เท่ากัน
สร้างเหตุการเกิดไม่เท่ากัน
สร้างเหตุการเวียนว่ายตายเกิดไม่เท่ากัน
แล้วจะเกิดเท่ากันได้ยังไง” หลวงตาม้า
แล้วอะไรที่มนุษย์เท่ากัน
เท่ากันด้วยไตรลักษณ์
เกิด และตายทั้งนั้น
เวียนว่ายในสังสารวัฏทั้งนั้น
ประการสำคัญคือกรรมคือตัวที่ส่งผลเสมอ
กรรมนั้นยุติธรรมเสมอ
ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม
ทำไมคนทำไม่ดีแล้วยังได้ดี?
รู้ได้ไงว่าเขาได้ดีไปตลอด
ใครบอกว่าทำชั่วได้ชั่ว(ทันที)
ทุกสิ่งมีเวลาของมันตามเหตุและปัจจัย
สิ่งที่เกิดได้ทันทีคือทำชั่วคือคนทำชั่วแล้วทันที
ทำไมคนทำดีไม่ได้ดี?
ใครบอกว่าทำดีแล้วได้ดี(ทันที)
ทำดีย่อมเป็นการสร้างเหตุและปัจจัยที่ดีแล้ว
ทุกสิ่งก็มีไทม์ไลน์ของมัน
เหมือนกันปลูกมะม่วง หรือปลูกพืชต่างๆ
บางชนิดก็ได้ผลได้ดอกรวดเร็ว
บางชนิดก็อาศัยการดูแลที่ยาวนานหน่อย
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือทำดีก็ดีแล้วทันที
มีคนค่อนขอดว่าถ้าเช่นนั้นก็ไม่ยุติธรรม
ทำไมคนเกิดมาสูงศักดิ์ร่ำรวย
แปลว่าทำบุญทำความดีก็เพื่อให้ตัวเองร่ำรวยอย่างนั้นหรอ
ศาสนาพุทธสอนแบบนี้หรอ
ศาสนาพุทธสอนแบบไหนหรอ?
แก่นคือ "ทำดี ละชั่ว ทำจิตใจบริสุทธิ์"
ซึ่งการทำบุญก็เป็นการทำดีไม่ใช่หรอ
ที่นี่การทำดีมันจะส่งผลอย่างไร
การทำดีก็คือมาจากการทำกรรมดี
เมื่อพูดถึงกรรมดีก็คงย้อนกลับไปที่เรื่องของ
ปัจจัยที่แยกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
"กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้"
ในขณะที่ยังเวียนว่ายอยู่นี้
ทำกรรมแบบไหน
เราเลือกเป็นสัตว์แบบไหน
รู้อะไรไหมทำไมพุทธศาสนาจึงเชื่อว่าไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ
เพราะทุกสิ่งเกิดขึ้นมาด้วย "เหตุและปัจจัย"
และสิ่งที่ทำให้เกิดเหตุและปัจจัยก็คือกรรมที่เรากระทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนั้นเอง
วันนี้วันพระ
โฆษณา