Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
การบริหารการเงินส่วนบุคคล
•
ติดตาม
26 ส.ค. 2020 เวลา 01:59 • การตลาด
“สภาพคล่องการเงินส่วนบุคคลที่ดี”
การวางแผนการเงินส่วนบุคคลนั้น การเริ่มต้นที่สำคัญคือการรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่เรามีอยู่ ณ.ปัจจุบัน เพื่อนำมาวิเคราะห์สถานะทางการเงินของแต่ละบุคคล โดยผ่านเครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่า "งบการเงินส่วนบุคคล"
งบการเงินส่วนบุคคลคือ ข้อมูลทางการเงินที่แสดงให้ทราบถึงสถานภาพ และความแข็งแกร่งทางการเงินของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จากกิจกรรมทางการเงินด้านต่างๆ เช่น รายรับ รายจ่าย ทรัพย์สิน หนี้สิน การออม การลงทุน ซึ่งงบการเงินส่วนบุคลนี้จะช่วยให้เราทราบได้ว่า เรามีปัญหาทางการเงินด้านใดหรือไม่ หากมีจะได้ทำการป้องกันหรือแก้ไขได้ทันท่วงที
ซึ่งงบการเงินส่วนบุคคลที่นำมาเพื่อวิเคราะห์สถานภาพทางการเงินมีอยู่ 2 ประเภท คือ
งบกระแสเงินสดส่วนบุคคล (Personal Statement of Cash Flows)
งบดุลส่วนบุคคล (Personal Balance Sheet)
“ความฉลาดทางการงิน(ตามโค้ช หนุ่ม) มี 6 ข้อ เรามาเริ่มที่บทที่ 1 กันดีกว่า”
บทที่ 1 สภาพคล่องดี คือ สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสิ่งของ หรือทรัพย์สินเป็นเงินสด การมีสภาพคล่องทางการเงินที่สูง คือ การที่สามารถเปลี่ยนทรัพย์สินกลับมาเป็นเงินได้อย่างรวดเร็ว เรามีรายได้มากกว่ารายจ่ายนั้นเอง
การที่จะมีสภาพคล่องทางการเงินสูงหรือต่ำนั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเปลี่ยนสินทรัพย์ชนิดนั้นไปเป็นเงินสด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของทรัพย์สินเหล่านั้นว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน หรือที่เรียกว่าอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) คือความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในท้องตลาด
การบริหารสภาพคล่องทางการเงิน
เนื่องจากการอยู่ในสถานการณ์ที่สภาพคล่องทางการเงินต่ำ มักก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย การบริหารสภาพคล่องทางการเงิน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจ SME หรือบุคคลทั่วไปต้องรู้ และนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันสภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งวิธีการบริหารสภาพคล่องทางการเงินที่น่าสนใจจะมีดังนี้
1. อย่าให้เงินสดขาดมือ คือ อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เงินสด ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุดอย่างนึง ควรมีการแบ่งถือเงินสดในจำนวนที่พอเหมาะ เพื่อเป็นเงินสำรองไว้ในกรณีฉุกเฉิน โดยอาจคำนวณได้โดยคิดจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายคงที่อย่าง ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ หรือค่าใช้จ่ายแปรผัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากินอยู่ เงินลงทุนเป้าหมายในแต่ละเดือนโดยประมาณ และคูณด้วย 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยงได้ของแต่ละบุคคลนั่นเอง
2. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย คือ การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ช่วยให้เรามองเห็นรูรั่วของเงินได้มากขึ้น ถือเป็นการตรวจสอบการใช้จ่ายและรายรับของเงินที่นำมาวางแผนทางการเงินต่อได้ เพิ่มโอกาสที่จะรับรู้ความผิดพลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเป็นการป้องกันการรั่วไหลที่ดี
3. ปัญหาทางการเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจสะสมกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ คือ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ตรงงวดได้ หรือปัญหาจากการขาดสภาพคล่องเล็กๆ น้อยๆ ที่กิจการไม่รีบแก้ไข อาจก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินที่พอกพูนขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จนส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ หรือปัญหาเกี่ยวกับเครดิตได้ในอนาคต เพราะฉะนั้นควรรีบดำเนินการแก้ไข เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเสียก่อนที่จะสาย
บทที่ 2 ปลอดหนี้จน
บทที่ 3 พร้อมชนความเสี่ยง
บทที่ 4 มีเสบีงสำรอง
บทที่ 5 สอดคล้องภาษี
บทที่ 6 มีทุนเกษียณ
เราจะมาเล่ากันต่อในโพสต่อไปครับ ผมเชื่อว่าทุกคนมีอิสรภาพทางการเงินได้ทุกคนถ้าเราตั้งใจทำจริง
เครดิต
https://www.moneywecan.com/liquidity/
เครดิต
http://www.konpakanpai.com/webpage/financial_plan/การบริหารจัดการงบการเงิน.html
เครดิต มัมนี่โค้ช (โค้ชหนุ่ม)
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย