26 ส.ค. 2020 เวลา 03:37 • ความคิดเห็น
เรือดํานํ้าที่เหมาะกับอ่าวไทย
เขียนโดย "ลพรวี"
ระหว่างที่กระทรวงกลาโหมกําลังรอเรื่องขอจัดซื้อเรือดํานํ้าจีน S26T เข้าที่ประชุม คณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติจัดซื้อและผูกพันงบประมาณ 11 ปี ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากประชาชน จํานวนมาก ลองมาพิจารณาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของอ่าวไทยแล้วลองประเมินว่าเรือดํานํ้าที่ สามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรโดยยังไม่ต้องกล่าวถึงความ เหมาะสมด้านงบประมาณและข้อพิจารณาอื่นๆ
หมายเหตุ : ภาพแผนที่ 'อ่าวไทย' จาก th.wikipedia.org , ภาพเรือดำน้ำจาก OK Nation Blog
ลักษณะของอ่าวไทย
อ่าวไทยเป็นส่วนในสุดของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เชื่อมต่อมาจากด้าน ตะวันตกของทะเลจีนใต้ มีลักษณะเป็นอ่าวกึ่งปิด ที่โอบล้อมด้วยชายฝั่งทะเลของคาบสมุทร มลายู และแผ่นดินของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีช่องเปิดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างแนวเชื่อมต่อระหว่างปลายแหลมญวน ประเทศเวียดนาม และเมืองโกตาบารู ประเทศ มาเลเซีย ลักษณะภูมิสัณฐานของพื้นท้องทะเลอ่าวไทยมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีความลึกเฉลี่ย ประมาณ 44 เมตร บริเวณใจกลางของอ่าวเป็นส่วนที่ลึกที่สุดประมาณ 86 เมตร มีเนื้อที่ในส่วนที่ เป็นเขตเศรษฐกิจน่านนํ้าไทยมีประมาณ 200,000 ตารางกิโลเมตร (กรมทรัพยากรธรณี, 2555)
อ่าวไทยมีนํ้าลึกเฉลี่ย 44 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีความลึกสูงสุดประมาณ 40 เมตรทางฝั่งขวาของอ่าว ส่วนฝั่งซ้ายจะตื้นเขินกว่า ความลึกเฉลี่ยในอ่าวไทยตอนบนเพียง 15 เมตร (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)
อ่าวไทยมีพื้นที่ 300,858.76 ตารางกิโลเมตร เขตแดนของอ่าวไทยกําหนดด้วยเส้นที่ ลากจากแหลมกาเมาหรือแหลมญวนทางตอนใต้ของเวียดนาม ไปยังเมืองโกตาบารูในชายฝั่ง มาเลเซีย ซึ่งอยู่ห่างกัน 381 กิโลเมตร โดยจุดเหนือสุดของอ่าวไทย ตรงปากแม่นํ้าเจ้าพระยา นิยมเรียกกันว่า "อ่าวประวัติศาสตร์รูปตัว
ก" ซึ่งต่างชาติเรียก "อ่าวกรุงเทพฯ" ชายฝั่งทะเลอ่าว ไทยทอดยาว 1,840 กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 58 เมตร (190 ฟุต)[3] จุดที่ลึกที่สุด 85 เมตร (279 ฟุต) (วิกิพีเดีย)
หมายความว่าพื้นที่ปฏิบัติการของเรือดํานํ้าค่อนข้างจํากัด เมื่อตัดพื้นที่ทะเลอาณา เขต (เขต 12 ไมล์ทะเลจากขอบฝั่ง) ซึ่งเป็นบริเวณนํ้าตื้นจะเหลือพื้นที่ปฏิบัติการประมาณ 200,000 ตารางกิโลเมตรโดยที่ในพื้นที่นี้จะมีความลึกประมาณ 30 – 85 เมตร ส่วนฝั่งซ้ายของ อ่าวไทยลึกเพียง 15 เมตร และปากอ่าวกว้างเพียง 208 ไมล์ทะเล (381 กิโลเมตร)
สําหรับพื้นที่ 200,000 ตารางกิโลเมตร (71,888 ตารางไมล์) นั้นแคบมากสําหรับการ ปฏิบัติการใต้นํ้า ทําให้เรือดํานํ้าซ่อนพรางและหลีกเลี่ยงการตรวจค้นจากเรือและเครื่องบินปราบ เรือดํานํ้าได้ยาก รวมทั้งการวางทุ่นระเบิดปราบเรือดํานํ้าก็ง่ายขึ้น อีกทั้งเรือดํานํ้าขนาดใหญ่ที่มี ความลึกปลอดภัย (safty depth) ประมาณ 60 เมตรอย่างเรือดํานํ้า S26T จะไม่สามารถปฏิบัติการ ไต้นํ้าได้ตั้งแต่ครึ่งอ่าวไทยตอนบน
คุณสมบัติสําคัญที่ต้องการ
ถ้าต้องการเรือดํานํ้าที่ปฏิบัติการไต้นํ้าได้ทั่วทั้งอ่าวไทยและนอกอ่าวไทยได้ด้วย เรือ ดํานํ้านั้นควรมีคุณสมบัติสําคัญคือ
(1) สามารถเดินเรือไต้นํ้า (maneuver) ได้อย่างปลอดภัยในเขตนํ้าตื้น ประมาณ 30 เมตรหรือตํ่ากว่าเพื่อสามารถซ่อนพรางและดําเนินการทางยุทธวิธีเข้าโจมตี เรือข้าศึกได้ทั่วทั้งอ่าวไทย
(2) สามารถออกไปปฏิบัติการนอกอ่าวไทยได้ ซึ่งจะต้องมีระยะปฏิบัติการที่ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย (ความสามารถในการดําได้ลึกไม่ใช่ประเด็นเพราะเรือดํานํ้า ปัจจุบันทุกแบบสามารถดําได้ลึกกว่า 200 เมตร)
(3) สามารถซ่อนพรางได้ดีในนํ้าตื้น และหลบหลีกการตรวจจับเพื่อเล็ดรอด ออกนอกอ่าวไทยได้ (ซึ่งปากอ่าวกว้างเพียง 208 ไมล์ทะเล)
เรือดํานํ้าขนาดต่างๆ
เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของเรือดํานํ้าโจมตีขนาดต่างๆจะพบว่า เราสามารถแบ่งเรือ ดํานํ้าโจมตีออกได้ 3 ประเภทคือ
(1) เรือดํานํ้าโจมตีทะเลลึก (blue water attack submarine) มีขนาดระวางขับ นํ้า 1,000 ตันขึ้นไป (เรือดํานํ้า S26T ของจีนมีระวางขับนํ้า 2 ,600 ตัน) จะกินนํ้าลึก ระดับเปอริสโคป (periscope depth) ประมาณ 16 เมตรถึง 20 เมตร และต้องการความลึก ปลอดภัยประมาณ 50 เมตรขึ้นไป โดยขณะปฏิบัติการใต้นํ้าต้องการความลึกใต้กระดูกงู เรือ (heel) ประมาณ 20 เมตรเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ เรือดํานํ้าขนาดนี้จึงเหมาะ กับการปฏิบัติการในทะเลลึก ไม่เหมาะที่จะใช้งานในอ่าวไทย และถ้าจะออกไป ปฏิบัติการนอกอ่าวไทยก็ยากที่จะเล็ดรอดการตรวจการณ์ออกไปจากปากอ่าวที่แคบเพียง 208 ไมล์ทะเลเนื่องจากขนาดใหญ่ของเรือ
(2) เรือดํานํ้าชายฝั่ง (coastal submarine) มีระวางขับนํ้าประมาณ 150 -900 ตัน จะกินนํ้าลึกระดับเปอริสโคปประมาณ 4 – 10 เมตร ความลึกปลอดภัยประมาณ 15 - 30 เมตร และต้องการความลึกใต้กระดูกงูเรือประมาณ 5 - 10 เมตร ดังนั้นจึงสามารถ ปฏิบัติงานได้ทั่วทั้งอ่าวไทย และในทุกพื้นที่ทะเลในโลกนี้ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือ ดํานํ้าส่วนใหญ่มีขนาดอยู่ในเกณฑ์นี้ เรือ U480 ที่โด่งดังของเยอรมัน (ไม่มีใครตรวจจับได้) มีระวางขับนํ้า 769 ตัน (ปลายสงครามจมด้วยทุ่นระเบิดในช่องแคบอังกฤษที่นํ้าลึก 55 เมตร) เรือดํานํ้าชายฝั่งมีคุณสมบัติเหมือนเรือดํานํ้าทะเลลึกทุกประการแต่มีขนาดเล็ก กว่า
(3) เรือดํานํ้าจิ๋ว (midget submarine) เรือดํานํ้าจิ๋วหมายถึงเรือดํานํ้าที่มีระวาง ขับนํ้าตํ่ากว่า 150 ตัน เรือดํานํ้าชนิดนี้สามารถปฏิบัติการได้ทั่วอ่าวไทยจนถึงชายฝั่งและ ออกสู่น่านนํ้าลึกได้ โดยมีอาวุธและอุปกรณ์ต่างๆเหมือนเรือดํานํ้าขนาดใหญ่แต่จํานวน น้อยกว่า เรือดํานํ้าจิ๋วจึงเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวของเรือทุกประเภทรวมทั้งเรือรบ เพราะ ข้อได้เปรียบของขนาดเล็กทําให้ตรวจจับได้ยาก
ตัวอย่างอานุภาพของเรือดํานํ้าชายฝั่งและเรือดํานํ้าจิ๋วในกรณีที่ยังเป็นข้อ พิพาทระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ (จากการเอาคืนของเกาหลีเหนือที่เรือรบเกาหลี เหนือถูกเรือรบเกาหลีใต้จม 2 ครั้งในปี 1999 และปี 2009) ขณะที่เรือคอร์เวตเกาหลีใต้ ชื่อ Cheonan กําลังฝึกปราบเรือดํานํ้าร่วมกับเรือรบสหรัฐฯ ในวันที่ 26 มีนาคม 2010 บริเวณทะเลเหลืองในเขตนํ้าลึก 130 เมตรได้เกิดระเบิดอย่างรุนแรงบริเวณท้ายเรือจนเรือ ขาดออกเป็นสองท่อนและจมลงในเวลา 8 นาที ลูกเรือตาย 46 คนจาก 104 คน จากการ สอบสวนของสหรัฐฯและเกาหลีใต้พบชิ้นส่วนตอร์ปิโดของเกาหลีเหนือและเส้นทางเดินเรือของเรือดํานํ้า จิ๋วชั้น Yono-class submarine ระวางขับนํ้า 130 ตัน (midget submarine) และ Sang-O-class submarine ระวางขับนํ้า 275 ตัน (coastal submarine) ของเกาหลีเหนือสอดคล้องกับเวลาและตําบลที่ๆเกิดเหตุ จึงสันนิษฐานว่าเรือลําหนึ่งใน สองลํานี้ได้ยิงตอร์ปิโดในระยะประมาณ 3 กิโลเมตรเข้าใส่เรือ Cheonan โดยที่เรือปราบ เรือดํานํ้าของสหรัฐฯและเกาหลีใต้จับเป้าเรือดํานํ้าเกาหลีเหนือไม่ได้
เรือดํานํ้าชายฝั่งและเรือดํานํ้าจิ๋วจึงน่าเกรงขามสําหรับชาติมหาอํานาจทาง ทะเล และเป็นทางเลือกที่ดีของชาติเล็กๆ ที่มีเงินน้อยและไม่มีเทคโนโลยีสูง เช่น ปากีสถาน อินโดนีเซีย อิหร่าน และเกาหลีเหนือ ที่สามารถสร้างเองได้ และชาติเล็กๆอีก กว่า 20 ชาติที่มีเรือดํานํ้าชายฝั่งและเรือดํานํ้าจิ๋ว แม้แต่ชาติมหาอํานาจเช่น สหรัฐฯ รัสเซีย เยอรมัน จีน ก็ยังต้องสร้างและทดลองเรือดํานํ้าชายฝั่งและเรือดํานํ้าจิ๋วเพื่อ การศึกษาและฝึกการต่อต้าน
เรือดํานํ้าที่เหมาะกับอ่าวไทย
เหตุผลของไทยที่มีข้อจํากัดอย่างมากด้านภูมิยุทธศาสตร์ (ยังไม่พูดถึง ข้อจํากัดด้านอื่นเช่น งบประมาณ ความจําเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง และฯลฯ) จึงไม่ อาจหาข้อสนับสนุนในการจัดหา เรือดํานํ้าดีเซลโจมตีทะเลลึก (blue water attack submarine) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือดํานํ้า S26T ที่ใหญ่ถึง 2,600 ตัน ได้เลย ทางเลือก ที่เหมาะสมและเป็นไปได้มีสองทางเท่านั้นสําหรับเรือดํานํ้าในอ่าว ไทยคือ coastal submarine หรือ midget submarine
อาวุธที่ดีคืออาวุธที่เหมาะกับเรา ไม่ใช่วัดที่ราคา ไม่ใช่วัดที่ขนาดใหญ่กว่า ข้าศึก ไม่ใช่วัดที่เทคโนโลยี และไม่ใช่วัดที่ของแถม
โฆษณา