26 ส.ค. 2020 เวลา 07:06 • การเมือง
เดอะซีเรียส EP.14 - ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วย "เรือดำน้ำ"
เมื่อคุณอ่านบทความนี้จบคุณจะเข้าใจทันทีว่า ในทางวิชาการแล้วกองทัพเรือมีความจำเป็นต้องซื้อ "เรือดำน้ำ" ด้วยความน่าจะเป็น 100% และจะกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเพจอย่างหนาแน่น (สาธุ)
ก่อนอื่นขอย้ำอีกครั้งว่าบทสรุปดังกล่าวนั้นใช้ทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ (Game Theory) เท่านั้น ไม่ได้ใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองมาร่วมในการพิจารณา
The Serious EP. 14 - 'Submarines' Economics
ข่าวการพิจารณางบประมาณรัฐประจำปี 2564 ของคณะอนุกรรมาธิการฯ ซึ่งมีมติเห็นชอบ 5 ต่อ 4 เสียงให้ซื้อเรือดำน้ำนั้น เป็นดั่งกับระเบิดปรมานูทางการเมือง ที่ดับทุกกระแสข่าวอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้าเลยทีเดียว ทำให้เราต้องมาหาคำตอบกันว่า เหตุใดกองทัพเรือจึงยอมแบ่งรับแบ่งสู้กระแสต้านทางสังคมที่รุนแรงเพื่อเรือดำน้ำในรอบนี้
เราจะเริ่มต้นโดยการยกเนื้อหาจากภาพยนต์เรื่องสมการแห่งรักหรือ 'A beautiful mind' ซึ่งเป็นภาพยนต์ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของต้นกำเนิดของ 'ทฤษฎีเกมของแนช' (Game Theory) ของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชื่อก้องโลกอย่างนายจอห์น แนช (John F. Nash) นั่นเอง
'A Beautiful Mind Poster (2001)'
ในฉากที่ 'พีค' ที่สุดของเรื่องซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีเกมส์ของนายจอห์นนั้น คือ ฉากที่พระเอกนั่งอยู่ในบาร์แล้ววิเคราะห์พฤติกรรมของสุภาพบุรุษ 4 คน ซึ่งกำลังพยายามที่จะสร้างความประทับใจให้กับสาวงามคนเดียวกัน
โดยสุภาพบุรุษกลุ่มนี้ได้ตกลงกันก่อนว่า จะใช้หลักการของบิดาแห่งนักเศรษฐศาสตร์โลกอย่างนายอดัม สมิทธ์ (Adam Smith) ที่กล่าวว่า 'ทุกคนต้องทำงามเต็มที่ โดยมุ่งให้ได้ผลลัพท์กับตัวเองที่ดีที่สุด (ทฤษฎีการแข่งขัน) (In competition, individual ambition serves as a common goods)' ในการลงมือจีบสาวงามคนนี้
แต่ระหว่างนั้นเองนายจอห์นฯ ก็จินตนาการขึ้นได้ว่า สำหรับกรณีนี้ การที่ทุกคนต่างแข็งขันกันจีบสาวงามคนเดียวกันอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะทุกคนต่างก็คิดว่า อีก 3 คนที่เหลือคงใช้กลเม็ดต่าง ๆ ในการที่จะทำให้ตนเองชนะเกมส์นี้ เช่น การแอบนินทานิสัยไม่ดีของเพื่อนตนให้หญิงงามคนนี้ฟัง ซึ่งหากทุก ๆ คนคิดแบบนี้จะกลายเป็นว่า หญิงงามก็จะปฏิเสธสุภาพบุรุษทั้ง 4 คนนี้นั่นเอง
นั่นจึงเป็นต้นกำเนิดของทฤษฎีเชิงพฤติกรรมเกี่ยวกับ 'ความชื่นชอบการแข่งขันโดยไม่ร่วมมือกันของมนุษย์ (Non-cooperative game) โดยนายจอห์นฯ มีหลักคิดว่า 'ทุกคนตัดสินใจบนการคาดการณ์ความคิดของผู้อื่น' ซึ่งหากปล่อยให้ทุกคนทำสิ่งที่ดีที่สุดของตนเองโดยไม่ได้คำนึงผู้อื่น อาจทำให้สังคมโดยรวมได้ประโยชน์น้อยลงได้
ซึ่งทฤษฎีของนายจอห์นฯ นั้น มีแนวคิดตรงกันข้ามกับทฤษฎีของนายอดัม สมิทธ์ ซึ่งครอบงำวงการเศรษฐศาสตร์ของโลกมายาวนานกว่าร้อยปีนั่นเอง (Adam Smith คือยุค 1830s และ John Nash คือยุค 1950s)
แล้วทฤษฎีนี้เกี่ยวอะไรกับเรือดำน้ำ ? แน่นอนว่า หากถามมุมมองของคนทุกประเทศเกี่ยวกับการสะสมอาวุธต่าง ๆ คงไม่ได้มีความเห็นแตกต่างกันว่า 'การสะสมอาวุธไว้เฉย ๆ ก็เป็นต้นทุนเสียโอกาสในการนำไปพัฒนาสาธารณะสุขด้านอื่น ๆ'
1
ดังนั้น หากทุกประเทศร่วมมือกันทำในสิ่งที่ดีที่สุดของตนเอง ตามทฤษฎีของ Adam Smith ทุกประเทศก็จะมาร่วมตกลงกันเลิกสะสมอาวุธเป็นการถาวร เพราะจะทำให้ทุกประเทศลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาวุธลงจนเหลือ 'ศูนย์' และนำเงินไปใช้พัฒนาประเทศได้
อย่างไรก็ดี เมื่อเป็นประเด็นด้าน 'ความมั่นคง' แล้ว แต่ละประเทศมักมีจุด 'ความสบายใจในการเปิดเผยข้อมูล' ที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละประเทศ (1) ไม่อยากร่วมมือกันมากนัก (2) ย่อมมีความคลางแคลงใจว่า 'ประเทศอื่นจะกำลังสะสมอาวุธโดยไม่เปิดเผย' หรือ (3) ในกรณีเรือดำน้ำก็มีความชัดเจนว่าหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็มีกองเรือดำน้ำของตนเอง จึงทำให้ความร่วมมือในด้านความมั่นคงนั้นไม่สามารถทำได้ 100% นั่นเอง
ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมกองทัพเรือไทยฯ จึงต้องยึดทฤษฎี Non-cooperative game ในการตัดสินใจเสนอซื้อเรือดำน้ำในครั้งนี้
เกร็ดความรู้ : ครูใหญ่โรงเรียน Carnegie Tech เขียนหนังสือรับรอง (Recommendation Letter) ให้ John Nash เข้ามหาวิทยาลัยปริ้นซ์ตันฯ (Princeton University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกด้านเศรษฐศาสตร์สั้น ๆ ว่า "เด็กคนนี้อายุ 19 และเขาเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์" (He is 19. He is a mathematical genius.)
#เดอะซีเรียสเศรษฐกิจ
#ชอบกดไลค์ #ใช่กดแชร์ #อยากรู้ต่อกดติดตาม
โฆษณา