7.
ทีนี้เมื่อ แต่สิ่งแตกต่างระหว่างการยึดถือคุณงามความดี กับยึดถือหลักการของพุทธ คือ เหมือนกันแต่ลึกซึ้งกว่ากันนั่นเอง กล่าวถือ ในทางพุทธศาสนาได้ลงรายละเอียด และอธิบายกลไกทั้งหมดในภาพกว้างยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเรื่องเดิมคือ เช่น เราพูดถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ 5 อย่างในข้อก่อน ซึ่งก็คือ ศีล 5 คือ ห้ามฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์ ห้ามลักหรือเอาของใคร ห้ามผิดลูกเมียและทำลายความสัมพันธ์ ห้ามทำร้ายทางคำพูด ไม่จะโกหก ว่าร้าย สอดเสียดฯลฯ ห้ามดื่มสุรายาเมา
ถ้าในมิติทางปรัชญาการไม่ทำสิ่งเหล่านี้มันสิ่งพื้นฐาน ให้ชีวิตเป็นปรกติสุข
แต่มิติทางศาสนาพุทธที่ว่าลงลึก ลงรายละเอียดว่าอย่างไร
ในทางพุทธนั้นอธิบายศีลว่าว่า หากคนยึดมั่นในความปรกตินี้เสมอตลอดทั้งชีวิต ไม่เพียงชีวิตปรกติสุขแล้ว
ยังสามารถมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองได้ และประการสำคัญหลัก 5 ข้อนั้นยังเป็นรากฐานไปสู่การดับทุกข์อย่างถาวร หรือนิพพานได้
ดังที่เราได้ยินพระสวดตอนที่สมาทานศีล 5 ว่า สีเลนะสุขติงยันติ สีเลนะโภสัมปะทา สีเลนะนิพพุติงยันติ
ทำไมศีล 5 ถึงเป็นบันไดหนึ่งสู่การดับทุกข์ได้ ก็เพราะสามสิ่งที่ต้องปฏิบัติสู่การพ้นทุกก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน นั่นเอง กล่าวง่ายๆ คือ เราจะขาดจากศีลไม่ได้หากต้องการพ้นจากทุกข์
กล่าวโดยสรุปง่ายๆ คือ ถ้าทำดีเฉยๆ ไม่รู้และยึดในศาสนาแล้วบังเอิญว่าตรงกับศีล 5 ชีวิตก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีความสุข สงบ ราบรื่น แต่ก็ยังไม่อาจหลุดจากการเวียนว่ายได้