27 ส.ค. 2020 เวลา 01:51 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ปลอดหนี้จน”
เรามาเข้าต่อจากตอนที่แล้ว บทที่ 2 ปลอดหนี้จน
The money coach ได้กล่าวไว้ว่า”สิ่งที่จะทำให้คนเรารวยนั้น ไม่ใช่เงิน แต่มันคือ นิสัยการใช้เงิน”
ในทางการเงินนั้นมี “หนี้”อยู่ด้วยกัน 2 ประเภท นั่นคือ หนี้รวย และหนี้จน
หนี้รวย คือ หนี้ที่เมื่อเราก่อขึ้นแล้ว ทำให้เรามีรายได้เพิ่ม (รวยขึ้น คล่องขึ้น) ส่วน หนี้จน นั้นหมายถึง หนี้ที่เมื่อเราก่อขึ้นแล้ว ทำให้มีรายจ่ายเพิ่ม
(จนลง ฝืดลง)
ยกตัวอย่าง นายเอ ซื้อบ้านหลังหนึ่ง ราคา 1,000,000 บาท โดยวางดาวน์ 200,000 บาท ที่เหลืออีก 800,000 บาทจำนอง (เป็นหนี้) กับธนาคาร โดยต้องมีค่าผ่อนชำระคืนเดือนละ 6,000 บาท
หากนายเอ ซื้อบ้านหลังนี้ไว้เพื่ออยู่อาศัยเอง หนี้จดจำนองบ้านจะทำให้นายเอต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 6,000 บาท ไปทุกเดือน ตลอดระยะเวลากู้ยืม (โดยปกติ 30 ปี) ในกรณีนี้บ้านหลังดังกล่าวจะถือเป็นหนี้จน เพราะทำให้นายเอจนลง จากรายจ่ายที่เพิ่มข้ึน
กล่าวโดยสรุป วิธีการตัดสินว่าสิ่งใดเป็นหนี้รวยหรือหนี้จนนั้น ไม่ได้แยกตามส่ิงของที่เราซื้อ แต่วัดกันที่ผลลัพธ์สุดท้ายว่า การก่อหนี้นั้นทำให้เรามีรายได้เพิ่ม(หนี้รวย) หรือมีรายจ่ายเพิ่ม (หนี้จน)
โดยหนี้จนยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. หนี้บริโภค : หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้นอกระบบ เป็นหนี้ที่เลวร้ายที่สุด ไม่ควรมี เพราะเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้แล้วหมดไป
1. หนี้บริโภค : หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้นอกระบบ เป็นหนี้ที่เลวร้ายที่สุด ไม่ควรมี เพราะเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้แล้วหมดไป
อีกประเด็นหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสภาพคล่องของหนี้กลุ่มนี้ก็คือ ความหรูหราเกินพอดี รถยนต์ต้องคันใหญ่ รุ่นใหม่ บ้านต้องหลังใหญ่ หรูหรา ตรงนี้ก็ต้องแล้วแต่ละบุคคลว่า พร้อมจ่ายได้แค่ไหน หากจ่ายไหวก็ไม่มีใครว่า แต่ถ้าซื้อเกินตัวแล้วกระทบสภาพคล่อง อย่างนี้ก็จะมั่งคั่งยาก
ด้วยประโยคที่น่าสนใจ คือ "วงจรการเป็นหนี้ เข้าแล้วออกยาก ที่สำคัญคือ การไม่รู้ว่าตัวเองกำลังตกอยู่ในวงจรนี้ กว่าจะรู้สึกตัวอีกทีก็มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกินแก้เสียแล้ว" ซึ่งตรงกับชีวิตจริงของหลายๆ คนเลยทีเดียว
Google
เครดิต Money coach
โฆษณา