28 ส.ค. 2020 เวลา 09:39 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ขั้นตอนการเลือกใช้ปล๊กไฟพ่วงให้เหมาะกับการใช้งาน
อย่างแรกที่เราควรจะต้องรู้คือ อุปกรณ์อะไรบ้างที่กินกระแสไฟฟ้าสูงๆ เพราะมันมีผลอย่างมากในการเลือกปลั๊ก เพื่อให้มันสามารถทนต่อการใช้งานได้ไม่เช่นนั้นมันจะทำให้ไฟไหม้และอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ที่มาใช้มัน
ส่วนใหญ่อุปกรณ์ที่กินกระแสไฟฟ้าสูงๆมักจะมีความร้อน เช่น เตาอบไฟฟ้า หม้อต้มห้อมทอดต่างๆ หม้อหุ้งข้าว กระทะไฟฟ้า เตารีด เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ควรนำมาต่อใช้กับปลั๊กพ่วงในชุดปลั๊กตัวเดียวกันเพราะมันจะทำให้เกิดความร้อนสูงที่ปลั๊กได้ บางท่านอาจจะบอกว่าเราก็เปิดใช้อย่าให้พร้อมกันสิก็จริงอยู่แต่บางครั้งไม่ได้มีผู้ใช้คนเดียวอาจมีสมาชิกในครอบครัวท่านอื่นอีกและที่สำคัญคือพวกอุปกรณ์ที่มีระบบอุ่นอัตโนมัติอันนี้ต้องระวังให้ดี เช่น หม้อหุ้งข้าว กาต้มน้ำ หม้อต้มกาแฟต่างๆ เรามาดูกันว่าอะไรบ้างที่กินกระแสไฟฟ้ามากๆในบ้านเรา
ค่ากำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ต่างๆต้องการ
ชนิดของปลั๊กไฟ
ขั้นต่อไปเราจะต้องมาเลือกชนิดของปลั๊กพ่วงกัน โดยแบ่งได้หลักๆ 3 ชนิดคือ
1. ปลั๊กไฟพ่วงแบบธรรมดาทั่วไป
ปลั๊กไฟพ่วงแบบนี้จะไม่มีอะไรซับซ้อนก็แค่มีช่องให้สียบอุปกรณ์ อย่างในรูป
ปลั๊กไฟฟ้าพ่วงแบบธรรมดา
2. ปลั๊กไฟฟ้าพ่วงแบบมีระบบป้องกันฟ้าผ่าป้องกันไฟเกินไฟกระชาก หรือที่เขาเรียกว่า ปลั๊กแบบมีระบบ SURGE PROTECTION
ปลั๊กแบบนี้จะดีกว่าแบบแรกคือตรงที่เมื่อมีกระแสไฟฟ้าที่มากกว่าปกติของระบบไฟฟ้ามันจะทำการปรับหรือตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่มาต่อใช้กับมัน หรือกระแสไฟฟ้าที่มาจากการที่ฟ้าผ่าระบบสายส่งของการไฟฟ้า ซึ่งภายในจะมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์อยู่ ปลั๊กแบบนี้จรึงมีราคาแพงกว่าแบบธรรมดาทั่วไปเหมาะสำหรับใช้กับอุปณรณ์ไฟฟ้าที่มีราคาแพงหรือไวต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณของกระแสไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น TV LED,LCD มือถือ computer แบบต่างๆ เครื่องเสียงราคาแพง PS4 XBOX เป็นต้น
ปลั๊กแบบมีระบบ SURGE PROTECTION
3. ปลั๊กไฟพ่วงแบบที่มีระบบควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าให้คงที่ตามความต้องการและมีระบบป้องกันต่างๆ หรือที่เรียกว่า ระบบ STABILIZER
ปลั๊กไฟแบบจะสามารถทำการชดเชยแรงดันไฟฟ้าที่ลดต่ำลงหรือจะทำการตัดออกเมื่อแรงดันไฟฟ้าเกินกว่าปกติเพื่อป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มาต่อใช้กับมัน ซึ่งภายในจะมีอุปกรณ์ก็บประจุไฟฟ้าเอาไว้ใช้ในตอนกระแสไฟตกหรือแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่าค่าปกติ อย่างเช่นมีแบตเตอรี่อยู่ภายใน แบบเดียวกับที่พวก UPS มีแต่จะไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เป็นเวลานานๆแบบ UPS ได้เพราะมีขนาดที่เล็กกว่า ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพดีกว่าแบบ surge protection เพราะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ราบเลื่อนส่งผลต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ แต่ราคาก็จะแพงขึ้นตาม ปลั๊กแบบนี้เหมาะกับอุปกรณ์ที่เราต้องการดูแลรักษาเป็นพิเศษหรือราคาแพงๆทั่งหลาย ไม่ว่าจะเครื่องเสีย ระบบรักษาความปลอดภัย เครื่องใช้ไฟฟ้าแสนรักของคุณ
ปลั๊กแบบมีระบบ STABILIZER
1. ระบบความปลอดภัยของปลั๊กไฟ
หลังจากเรารู้แล้วว่าปลั๊กไฟชนิดไหนที่เราอยากจะได้ ต่อมาคือสิ่งที่เราต่อสนใจคือ ความปลอดภัยของตัวปลั๊กที่เราจะเอามาใช้ ซึ่งสำคัญมากๆและต้องมีให้ครบทุกข้อดังต่อไปนี้
1.1. ต้องมี มอก. หรือต้องได้รับมาตรฐานสากล เช่น CE TUV CCC CQC เป็นการบอกให้เรารู้ว่าของนี้ได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือแล้ว
1.2. ขนาดของสายไฟที่ติดมากับตัวปลั๊กพ่วง สามารถดูได้บนสายไฟยิ่งขนาดต่อsqmm.ใหญ่ก็ยิ่งทนกระแสไฟได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น
-สายขนาด 0.5 sqmm. จะใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 1,200 วัตต์ (โดยประมาณ)
-สายขนาด 1.0 sqmm. จะใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 2,200 วัตต์ (โดยประมาณ)
ตัวอย่างข้อมูลบนตัวสายไฟ
1.3. ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินหรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์(circuit breaker ) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเปิดและปิดวงจรไฟฟ้าแบบไม่อัตโนมัติ แต่สามารถเปิดวงจรได้อัตโนมัติ ถ้ามีกระแสไหลผ่านเกินกว่าค่าที่กำหนด โดยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่ต่อกับเซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นเกิดความเสียหายขึ้นจากกระแสที่เกินกำหนด การที่กระแสเกินกำหนดอาจมาจากการที่เรานำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดการกินกระแสไฟฟ้าสูงๆเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวมาต่อใช้งานหรืออาจเกิดการลัดวงจรไฟฟ้าของอุปกรณ์นั้นๆก็เป็นได้เพื่อป้องกันอันตรายต่อผู้ใช้และการเกิดเพลิงไหม้ขึ้น
circuit breaker switch
1.4. เต้ารับและเต้าเสียบอุปกรณ์ไฟฟ้า จะต้องเป็นแบบ 3 รูเท่านั้น ถึงจะมีความปลอดภัยโดยทั้ง 3 รูนี้จะทำให้ป้องกันการถูกไฟฟ้าดูดจากการไปจับตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมา แต่ระบบการเดินสายไฟภายในอาคารที่เราเข้าไปใช้ไฟจะต้องมีการเดินระบบไฟฟ้าแบบ 3 สายที่ถูกต้องเอาไว้ด้วยจึงจะทำให้ระบบป้องกันแบบนี้ทำงานได้อย่างที่เราต้องการ เพราะบางครั้งปลั๊กตัวรับของเรามี 3 รูก็จริงแต่ที่ปลั๊กติดกับตัวอาคารกลับมีแค่ 2 รูหรือมี 3 รูแต่ไม่ได้ต่อระบบนี้ไว้อย่างถูกต้อง ระบบนี้ก็ไม่ช่วยให้ปลอดภัยจากการถูกไฟฟ้าดูดอยู่ดี
ระบบไฟฟ้าแบบมีการต่อสายดิน(Ground rod)
1.5. ตรวจดูลักษณะทั่วๆไปของตัวปลั๊กพ่วงว่ามี ม่านนิรภัยที่ครบไหมสามารถปิดเปิดได้ดี ไม่หลุดเสียหายหรือติดขัดเวลาใช้งาน ทดสอบเขย่าตัวปลั๊กดูว่ามีอะไรหลุดอยู่ภายในหรือไม่เช่นมีน๊อตหลุดอยู่อาจทำให้เกิดการลัดวงจรจนเกิดความร้อนสูงจนเกิดไหม้ได้ หรือสายไฟภายในหลุดจนทำให้ใช้งานไม่ได้ ตัวเคสแตกหักหรืปิดไม่สนิด สายไฟหรือตัวเต้าเสียบมีรอยฉีกขาดจนเห็นทองแดง หรืขาหลวมไม่แน่น
หมายเหตุ : อย่าลืมนำมาทดสอบก่อนทำการซื้อทุกครั้งนะครับ
2. ลักษณการใช้งาน
2.1. ชนิดของเต้ารับ เราควรเลือกดูว่าจะเอาไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีเต้าเสียบแบบไหนและมีทิศทางการเสียบที่เป็นแบบอย่างไง เช่น เวลาใช้อุปกรณ์ 2-3 ตัวพร้อมกันสามารถเสียบสายได้ไหมจะติดขัดกันหรือขวางกันเองไหมเพราะปลั๊กบางแบบออกแบบมาให้มีการเสียบที่ไม่ขวางกันเวลาใช้งานในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีหัวเต้าเสียบใหญ่ๆ
หัวปลั๊กแบบต่างๆ
2.2. จำนวนช่องของเต้ารับที่เราต้องการ มีสวิตซ์ปิด-เปิดหรือไม่แต่ควรจะมีเพื่อเป็นการสะดวกในการใช้งานจะได้ไม่ต้องถอดสายเข้าออกบ่อยๆและสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ไฟจากช่องไหนเป็นการประหยัดไฟไปในตัว มีไฟบอกสถานะหรือไม่ถ้ามีจะดีมากทำให้เราดูออกได้ง่ายขึ้นว่าช่องใดมีการเปิดใช้ไฟอยู่และควรเป็นหลอดแบบLEDซึ่งมีความร้อนน้อยกินกระแสไฟฟ้าน้อยด้วย
2.3. เอาแบบมี USB charger ด้วยก็ดีนะครับจะได้สะดวกก็เลือเอาเลยครับว่าอยากได้จำนวนกี่ช่อง แล้วอย่าลืมทดสอบด้วยละว่ามันใช้ได้จริงทุกช่องการจะซื้อกลับบ้าน
ปลั๊กพ่วงแบบมี USB charger
การใช้งานปลั๊กไฟสายพ่วงแบบที่ถูกต้องและปลอดภัย
การใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงด้วยความระมัดระวัง โดยปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ากับ ปลั๊กไฟสายพ่วง เมื่อใช้งาน เต้าเสียบและเต้ารับต้องแน่นพอสมควรและไม่หลวมง่าย เพราะหากปลั๊กไฟหลวม แม้จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปริมาณไฟฟ้าน้อย ก็สามารถทำให้เกิดความร้อน จนเกิดประกายไฟลุกไหม้ได้
ไม่ใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงเกินขนาดพิกัดกระแสไฟฟ้า โดยไม่เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดพร้อมกัน หากใช้ปริมาณไฟฟ้ารวมกันเกินขนาดที่ปลั๊กไฟสายพ่วงกำหนด (16 แอมป์ หรือ 2,600 โวลต์) สายไฟจะเกิดความร้อนสูงจนละลาย ทำให้สายทองแดงที่อยู่ภายในสายไฟทั้งสองเส้นแตะกัน ส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้
ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากปลั๊กไฟสายพ่วงทุกครั้งหลังใช้งาน พร้อมถอดเต้าเสียบของสายพ่วงออกจากปลั๊กที่ติดกับผนัง เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าและป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
กรณีพบสิ่งผิดปกติขณะใช้งานปลั๊กไฟสายพ่วง เช่น สายไฟร้อน มีเสียงดัง เกิดประกายไฟ เป็นต้น ให้หยุดใช้งานทันที พร้อมปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้า สวิตช์ปลั๊กไฟสายพ่วง จากนั้นให้ถอดเต้าเสียบของปลั๊กไฟสายพ่วงที่ติดกับผนังออก เพื่อความปลอดภัย ไม่ควรนำปลั๊กไฟสายพ่วงที่ชำรุดมาใช้งานอย่างเด็ดขาด เพราะจะก่อให้เกิดอันตรายได้
ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดพร้อมกัน
ข้อควรระวังในการใช้งานปลั๊กไฟสายพ่วง
ไม่นำปลั๊กไฟสายพ่วงที่อยู่ในสภาพชำรุดมาใช้งานอย่างเด็ดขาด เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟแตก สายไฟมีรอยซ่อมแซมหรือพันด้วยเทป เต้ารับและเต้าเสียบมีรอยไหม้ ขาปลั๊กเต้าเสียบหลอมละลาย เป็นต้น เพราะเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
ห้ามนำรางปลั๊กไฟสายพ่วงไปติดตั้งแบบถาวร หรือเดินสายไฟปลั๊กพ่วงติดกับผนังห้อง ฝ้าเพดาน ใต้พื้น และใต้พรม เพราะรางปลั๊กไฟถูกออกแบบสำหรับใช้งานชั่วคราว หากติดตั้งแบบถาวรจะชำรุดได้ง่ายและเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร
ไม่ใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าตลอดเวลา เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำเย็น เป็นต้น ควรใช้ปลั๊กไฟแบบถาวรที่ติดกับผนัง รวมถึงไม่ใช้รางปลั๊กไฟสายพ่วงต่อพ่วงกันหลายชั้น เพื่อป้องกันสายไฟเกิดความร้อนสูง ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้
ทั้งนี้ การเลือกใช้ปลั๊กไฟสายพ่วง นอกจากผู้ใช้งานต้องคำนึงถึงความสะดวกและความเหมาะสมต่อสภาพการใช้งานแล้ว ควรพิจารณาคุณภาพของชุดวัสดุที่ประกอบเป็นปลั๊กไฟสายพ่วงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด พร้อมหมั่นสังเกตและตรวจสอบปลั๊กไฟสายพ่วงให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ จะช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การใช้ปลั๊กพ่วงที่ถูกต้อง
เป็นอย่างไงกันบ้างครับสำหรับบทความนี้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการให้แก้ไไขข้อมูลให้ถูกต้องลงไว้ได้เลยครับ ขอบคุณทุกๆท่านที่สนใจในบทความนี้ ขอบคุณครับ
โฆษณา