27 ส.ค. 2020 เวลา 14:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เกร็ดน่ารู้ที่แปลกประหลาดเกี่ยวกับเวลาของดาวศุกร์!
เราเรียกมันว่าดาวเคราะห์ฝาแฝดของโลก ที่เรียกแบบนี้เพราะขนาด มวล ความเร่งโน้มถ่วงนั้นค่อนข้างใกล้เคียงกัน
สิ่งที่น่าสนใจคือ การไปอยู่บนดาวศุกร์นั้นเป็นปัญหาใหญ่หลักๆ 2 ข้อคือ เรื่องแรก ปัญหาของวงโคจรหรือการหมุนรอบตัวเอง ซึ่งการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 243 วัน ซึ่งต่างจากโลกที่หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลาเพียง 1 วัน
แล้วการโคจรของดาวศุกร์หมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 225 วัน อาจจะฟังดูไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่หากเราไปอยู่บนดาวศุกร์อาจจะรู้สึกประหลาดเรื่องเวลา ที่1 วันนั้น ยาวนานกว่า 1 ปี! ซึ่งถือว่ามันแปลกประหลาดมากในสามัญสำนึกของเรา แต่กลับเป็นเรื่องปกติของธรรมชาติในจักรวาล
และหากมนุษย์ไปอยู่ที่ดาวศุกร์จริงๆ คงต้องปรับ Time Zone กันใหม่ทั้งหมด ซึ่งสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ เราได้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า คอนเซ็ปเรื่องวันกับปีที่เกิดขึ้น มันเกิดขึ้นเฉพาะดาวเคราะห์ที่เราอาศัยอยู่เท่านั้น
เป็นเพียงสิ่งสมมติที่ฝังอยู่ใน DNA ของเราในอารยธรรมของเรา ในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งเมื่อเราหลุดออกไปจากโลกของเรา สิ่งสมมติพวกนี้ก็จะใช้ไม่ได้ กับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ
แต่สาเหตุหลักที่เราไปอยู่ดาวศุกร์ไม่ได้จริงๆ คือ “อุณหภูมิ” ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยของดาวศุกร์สูงอยู่ที่ประมาณ 400 องศาเซลเซียสนั่นเอง
อ้างอิง
อาจารย์ อาจวรงค์ จันทมาศ อดีตนักวิชาการดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา