Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บอกเล่า / BOKLAO
•
ติดตาม
28 ส.ค. 2020 เวลา 08:00 • ประวัติศาสตร์
ย้อนวันวานเกือบ 50 ปี!! "ตลาดนัดสนามหลวง"
1
ตลาดนัดสนามหลวงเคยเป็นย่านการค้าที่โด่งดังในสมัยอดีต มีเฉพาะแค่วันเสาร์-วันอาทิตย์
2
ส่วนมากจะขายของทุกอย่างคล้ายๆตลาดนัดจตุจักร แต่ที่มีเสน่ห์มากกว่านั้นคือมีการขายของบนพื้นที่เรียกว่า "แบกะดิน"
ก่อนจะย้ายไปที่ตลาดนัดจตุจักรในปี พ.ศ. 2525 เพราะมีการปรับปรุงสนามหลวงให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจต้อนรับ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
รูปพวกนี้เราเคยเซฟเก็บไว้เมื่อหลายปีก่อนเนื่องจากได้อ่านจากบทความนึงแล้วชอบการดำเนินชีวิตและไลฟ์สไตล์ของคนแต่ก่อนมาก รู้สึกเรียบง่ายดี เลยขอนำภาพมาแชร์ให้ได้ดูกันนะคะ❤️
2
CREDIT : FACEBOOK ย้อนอดีต...วันวาน
1
บรรยากาศตอนฝนตกแต่ก็มีคนมาช้อปปิ้งที่ตลาดนัดสนามหลวงอย่างไม่ขาดสาย
แผงลอยและผ้าใบใต้ต้นมะขามคือสัญญลักษณ์ที่คุ้นตาของคนที่เกิดทันและเคยมาเที่ยวตลาดนัดสนามหลวงสมัยนั้น
แผงขายผักดูไม่ต่างอะไรจากตลาดทั่วๆไป
ลูกค้าซื้อของตามอัธยาศัย
บริเวณภายในตลาด
ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในราคาถูก สังเกตว่าราคาเตารีดจากปกติ 250 บาท เหลือ 99 บาท
พ่อค้าแม่ค้ากับวิทยุเป็นของคู่กัน สมัยนั้นวิทยุธานินทร์ระบบทรานซิสเตอร์เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่วนใหญ่นิยมฟังละครวิทยุ สังเกตราคากุ้งแห้งขายขีดละ 5.50 บาท บางประเภทก็ 4.50 บาท
ขายอาหารทะเลกันสดๆ
พ่อค้าหาบเร่ขายไส้กรอกอีสานปิ้งกันสดๆ
แผงขายเครื่องทองเหลืองและแผงขายน้ำเติมความสดชื่นระหว่างช้อปปิ้ง
ไอติมตัดยุคโบราณที่หากินได้ตามรถเข็นที่สนามหลวง คนขายจะมีเขียงเล็กๆเอาไว้หั่นไอติม
สมัยนั้นมีการขายน้ำผึ้งและรวงผึ้งกันสดๆ
หาบ 1 อันกับตะกร้า 2 ใบก็เปิดเป็นร้านค้าย่อมๆได้...คุณป้านั่งเคี้ยวหมากไปขายปลาตากแห้งไป(น่าจะเป็นปลาช่อน) ส่วนด้านข้างขายกระรอกให้คนซื้อไปเลี้ยง
สินค้าขึ้นชื่อขวัญใจคนกรุงและขายดีที่สุดโดยเฉพาะปลาแห้ง อาหารทะเลแห้ง ปลากรอบ และปลาสลิด แม่ค้านั่งดื่มแฟนต้าอย่างสุขสบาย ด้านซ้ายขายน้ำอัดลมลังทำด้วยไม้ข้างบนเป็นเป๊บซี่และข้างล่างเป็นแฟนต้า
ขายสินค้าทำมือ
แผงขายสมุนไพรหลากหลายชนิด
บริเวณแผงชุดชั้นในชาย
แผงขายกล้วยไม้มีทั้งของจริงและของปลอมสำหรับการตกแต่ง
สินค้าจักสานเป็นที่ถูกอกถูกใจของชาวต่างชาติ
บริเวณท้องสนามหลวงมีการเช่าจักรยานสำหรับเด็กเพื่อเล่นฆ่าเวลาตอนรอผู้ปกครองเดินช้อปปิ้ง ค่าเช่าชั่วโมงละ 2 บาท
แม่ค้ากำลังปิ้งไก่ที่ร้านอาหารอีสาน
แผงเสื้อผ้าสำหรับเด็ก
ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เด็กมาขายของช่วยพ่อแม่ สังเกตถุงโชคดีในสมัยนั้นฮิตมากและยังไม่มีถุงพลาสติก ขายอันละ 1 บาท สามารถใส่ทุกอย่าง
ขายเครื่องพิมพ์ดีดและเครื่องเล่นแผ่นเสียง
แผงหนังสือมือสองเป็นเสน่ห์ของตลาดนัดสนามหลวงจนเข้าสู่ยุคตลาดนัดจตุจักรในปัจจุบัน สมัยนั้นขายตรงบริเวณพระธรณีบีบมวยผม
แผงขายเสื้อผ้า มีร้านข้าวหมูแดงและข้าวหมูกรอบ
สมัยนั้นเคยมี "ปาหี่" เป็นที่มาของ "อับดุล" ที่พวกคณะตลกนิยมล้อเลียนถามอับดุล เป็นเสน่ห์ของตลาดนัดสนามหลวง
อีกรูปของการแสดง "ปาหี่" งูเห่าสู้กับพังพอน มักจะมีผู้คนล้อมมุงกันดูเป็นวงๆจนอยากที่จะแทรกตัวเข้าไปยืนแถวหน้าๆแต่ส่วนมากกว่าจะได้ปล่อยงูออกมาให้เห็นแบบในภาพบางทีก็ยืนรอลุ้นจนเมื่อย
ร้านข้าวหมูแดงตรงบริเวณโซนร้านอาหาร
แม้ค้าคนหนึ่งถือไม้ระกำลำใหญ่เต็มไปด้วยของเล่นประเภทหน้ากากและเครื่องบินที่มีใบพัดหมุนท้ายลำ เวลาโดนลมเสียงจะเพราะมาก
แม่ค้าคนหนึ่งขายมะตูมเชื่อมเป็นของกินจุบจิบที่นิยมในช่วงนั้น
แผงขายกุนเชียงเยอะมาก
หอมและกระเทียมเป็นสินค้าขายดีเช่นกัน
แม่ค้าขายมีดและพร้าจากอยุธยา สังเกตด้านหลังขายน้ำ ในสมัยนั้นยังไม่มีแก้วพลาสติกจะใช้แก้วกระดาษไขเคลือบเทียนและสามารถกันน้ำได้ดี
โซนขายกระเป๋า เครื่องสำอาง และหัตถกรรมผ้า
โปสเตอร์ดาราสมัยนั้นขายแผ่นละ 1 บาท ส่วนโปสเตอร์พระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงและราชินีขายแผ่นละ 5 บาท
โซนขายเครื่องใช้ในราคาถูก
ร้านขายภาพพระบรมฉายาลักษณ์
ร้านขายเครื่องนอนสำหรับเด็ก
แผงขายต้นไม้บริเวณคลองหลอด
แผงขายผลไม้
โซนขายของเล่นและแม่ค้าหาบเร่ขายขนมเบื้อง
คนรอรถเมล์กันตรงนั้น สังเกตแม่ค้าขายน้ำตาลสด ขายถุงละ 1 บาท
ตลาดนัดสนามหลวงบริเวณทางเดินตรงกลางของสนามหลวง
ลูกค้ากำลังอร่อยอยู่กับหาบขนมจีน
อิ่มจากของคาวหรือคอแห้ง ต้องนี่เลยน้ำตาลสดร้อยเปอร์เซนต์จากแม่ค้าที่มาจากต่างจังหวัดจริงๆ
พ่อค้าขายข้าวขาหมู
เสื้อผ้าสตรีในสมัยนั้น
หาบเร่ขายเต้าหู้ทอด
เด็กๆกำลังดูแผงแสตมป์
เด็กๆกำลังซื้อมะขามป้อมกับผลไม้ดอง
โซนขายปลาสวยงาม
CREDIT : FACEBOOK ย้อนอดีต...วันวาน
46 บันทึก
121
31
120
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เมืองไทยในอดีต
46
121
31
120
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย