โดยเนื้อหาหลักๆในหนังสือเล่มนี้จะแบ่งเป็น 10 ส่วนหลักๆ ซึ่งประเด็นที่ทำให้ผมรู้สึกชื่นชอบหนังสือเล่มนี้เป็นพิเศษ เนื่องด้วยการยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับการตลาดโดยนำเอาหลักการ แง่คิด และประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียนสอดแทรกเข้าไปในเรื่องเล่าได้อย่างแยบยล ไม่ได้เป็นการสอนเหมือนกับเนื้อหาในตำราเรียนที่เรารู้จักกัน อีกทั้งยังประกอบด้วยการสอนให้คนเราคิดนอกกรอบ เฉกเช่น หมาป่า เรียกได้ว่าครบเครื่องครบรสเลยทีเดียวครับ
...ขออนุญาตยกตัวอย่างวิธีการคิดสอนของ Dave Trott ที่มีในหนังสือมาแบ่งปันกับเพื่อนๆนะครับ ว่าเขามีหลักการคิดวิเคราะห์อย่างไร ถึงได้มีประสบความสำเร็จในด้าน "สื่อโฆษณา" อย่างท่วมท้น....
นาวาอากาศเอกจอห์น คันนิงแฮม เป็นหัวหน้าฝูงบินขับไล่กลางคืนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ตอนที่อังกฤษถูกทิ้งระเบิดปูพรม ฝูงบินของเขายิงเครื่องบินฝ่ายศัตรูตกมากกว่าฝูงบินอื่นถึงสองเท่า
ทุกคนรู้เคล็ดลับของเขา
สายตาของงคันนิงแฮมดีเยี่ยมเพราะเขาทานแครอตเยอะ
แครอตมีวิตามินเอสูง
นั่นช่วยให้จอตารับแสงได้ดีขึ้น แถมยังกลับมาทำงานเป็นปกติได้อย่างรวดเร็วเมื่อเจอแสงสว่างวาบในที่มืด
ในยุคนั้นคนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักวิตามิน
หนังสือพิมพ์จึงลงข่าวนี้กันอย่างครึกโครม
คันนิงแฮมกลายเป็นคนดัง
ตอนกลางวันเขาจะสวมแว่นตาดำ
และถอดออกตอนที่ต้องขึ้นบินในยามค่ำคืนเท่านั้น
สรุปก็คือ คันนิงแฮมเป็นนักบินขับไล่กลางคืนฝีมือฉกาจ เพราะมีสายตาดีเยี่ยม
อันที่จริงก็ไม่ใช่เสียทีเดียวหรอกครับ
เรื่องทั้งหมดเป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อ
ความจริงแล้วกองทัพอากาศอังกฤษพัฒนาระบบเรดาร์แบบผสมขึ้นมา
แต่เรื่องนี้จะแพร่งพรายออกไปไม่ได้ มิฉะนั้นศัตรูอาจไหวตัวทันและหามาตรการมาตอบโต้
ยิ่งกองทัพอากาศอังกฤษเก็บเรื่องนี้ได้นานเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีมากเท่านั้น
คันนิงแฮมจึงกลายเป็นวีรบุรุษของคนอังกฤษ
สายลับของศัตรูรายงานกลับไปยังเยอรมนีว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดถูกสอยร่วงไปมากมายเพราะคันนิงแฮม "ตาแมว" อันร้ายกาจ
กองทัพอากาศเยอรมันเชื่อเรื่องนี้อยู่พักใหญ่
กว่าจะรู้ความจริงฝ่ายเยอรมันก็สูญเสียเครื่องบินทิ้งระเบิดไปไม่น้อย บ่อยครั้งคำโกหกอันเรียบง่ายก็ทรงพลังกว่าความจริงอันซับซ้อน
สิ่งสำคัญคือกลุ่มเป้าหมายพร้อมจะเชื่อมันหรือไม่
นั่นคือปัญหาใหญ่ของวงการโฆษณา
เราฉลาดเกินไป
เราคิดว่าการโฆษณาให้ดูฉลาดหลักแหลมจะต้องได้ผล
แต่มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งครับ
พวกเขาไม่สนใจโลกใบเล็กๆของวงการโฆษณาในลอนดอน
เผลอๆ อาจไม่แยแสเลยด้วยซ้ำ
ถ้าอยากทำให้คนเหล่านี้สนใจ เราก็ต้องลืมสิ่งที่เราคิดว่าน่าสนใจไปก่อน
เราต้องสร้างโฆษณาที่แทรกซึมเข้าไปในโลกของพวกเขาได้
ไม่ใช่สิ่งที่เราเชื่อ...
แต่เป็นสิ่งที่พวกเขาพร้อมจะเชื่อต่างหาก