Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
information
•
ติดตาม
28 ส.ค. 2020 เวลา 09:11 • สุขภาพ
7 วิธีเพิ่มความจำ และกำราบอาการ “ขี้ลืม” ได้อยู่หมัด
สมองของคนเราคือส่วนสำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่นๆ เพราะต้องคิด วิเคราะห์ วางแผนและสั่งการให้ร่างกายทำในสิ่งต่างๆ ได้อย่างเชื่อมโยงกันด้วยความมีประสิทธิภาพ
คนที่สมองดี มีพลังมักคิดและลงมือทำสิ่งต่างๆ ออกมาได้อย่างราบรื่น เมื่อพบปัญหาพวกเขาก็ย่อมสามารถแก้ไขปัญหาชีวิตตนเองได้
ดังนั้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่เคยมีความจำดีแต่จู่ๆ วันเวลาเปลี่ยนไป อาจเพราะปัญหามากมายที่รุมเร้าทำให้เครียดต้องใช้สมองคิดและแก้ไขปัญหาอย่างหนัก
รวมทั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้นอาจจะทำให้เซลล์สมองตายลงไปบ้างพร้อมกัน อาการขี้หลงขี้ลืมจึงเกิดขึ้นและทำให้กระบวนการคิดไม่คล่องตัวดังเดิมอีกแล้ว
ถ้าเช่นนั้น ถึงเวลากันแล้วที่เราจะหันมารับมืออาการเหล่านี้ด้วยการเสริมสร้างสมองให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปกติดังเดิม
โดยผลการวิจัยได้บอกไว้ว่าหากเราพยายามกระตุ้นพัฒนาการสมองมากเท่าไรสมองก็จะยิ่งได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น มาดูกันเลยค่ะว่า 7 วิธีสร้างความจำและกำราบอาการขี้ลืมได้อยู่หมัดที่เราหยิบมานำเสนอในวันนี้นั้นมีอะไรบ้าง
1. บริหารสมองเสมอ
หากเราหมั่นบริหารสมองอยู่เป็นประจำเซลล์สมองก็จะยิ่งได้รับการกระตุ้นให้เจริญเติบโตมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพทางด้านของการจดจำดีขึ้น สำหรับวิธีบริหารสมองนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ เช่น เล่นหมากฮอส ต่อจิ๊กซอว์และเล่นครอสเวิร์ด เป็นต้น
2. ทานสมุนไพรช่วยเสริมความจำ
มีผลการวิจัยระบุว่า เมื่อเราทานโสมเข้าไปแล้วในปริมาณ 400 มิลลิกรัม หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จะส่งผลให้ความสามารถในด้านของการจดจำดีขึ้นอีกทั้งยังสามารถส่งผลดีต่อสมองได้นานถึง 6 ชั่วโมงอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการยืนยันเพิ่มเติมอีกว่า แปะก๊วย ก็เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีผลดีต่ระบบความจำเช่นเดียวกัน เพราะมันจะเข้าไปช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตภายในสมองให้หมุนเวียนดีขึ้นนั่นเอง
3. ทานผักผลไม้สด
เนื่องจากผักผลไม้สดจากธรรมชาติล้วนมีวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอย่างครบถ้วน อีกทั้งสารอนุมูลอิสระที่ได้มาพร้อมกันยังมีผลดีต่อการทำงานของสมองและช่วยเสริมสร้างความจำไปพร้อมกันด้วย
เพราะเหล่าสารต้านอนุมูลอิสระทั้งหลายที่ได้จากการทานผักผลไม้สด มีประสิทธิภาพในด้านของการช่วยทำลายอนุมูลอิสระซึ่งเกิดขึ้นจากการสะสมตัวเป็นเวลานานของเนื้อเยื่อไขมันจนส่งผลให้สมองทำงานอ่อนแอลงอีกทั้งยังสามารถช่วยชะลออาการความจำเสื่อมหรืออาการขี้ลืมในผู้สูงอายุได้ด้วย
โดยผักผลไม้สดที่อยากแนะนำได้แก่ ผัก ผลไม้ที่มีสีแดง ม่วงและน้ำเงิน ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ตระกูลเบอรี่ต่างๆ โดยมักจะมีอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณเข้มข้นสูงที่เราเรียกกันว่า Anthocyanidi ซึ่งเป็นสารที่พบได้มากในตระกูลพืชพรรณเหล่านี้
นอกจากนี้แล้ว คุณยังสามารถหาทานได้กับแอปเปิ้ล องุ่นม่วง องุ่นแดง มะเขือเทศ มะเขือม่วง หอมแดง กะหล่ำปลีม่วง ข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ลูกหว้า ถั่วแดง ถั่วดำ มันเทศสีม่วง พริกแดงและผลเชอร์รี่ เป็นต้น
4. ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์หลายท่านทราบดีกันแล้วว่าเป็นเครื่องดื่มที่ไร้คุณประโยชน์ ทั้งยังมีผลร้ายต่อตับและยังลดสมรรถภาพในการขับขี่ให้เสื่อมถอยลงจนมักก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง
นอกจากนี้ ผลกระทบต่อสมองของคนเรานั้นยังมีอยู่มากทีเดียว เนื่องจากมันจะปล่อยสารสำคัญเข้าสู่สมอง โดยจะเข้าไปขัดขวางความสามารถไม่ให้สมองสามารถรับรู้หรือจดจำสิ่งใหม่ต่างๆ ได้ โดยเฉพาะกับข้อมูลในด้านของตัวเลขรวมทั้งเหตุการณ์หลายอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้น
อีกทั้งยังช่วยลดทอนประสิทธิภาพในการจดจำเหตุการณ์ในอดีตต่างๆ ไปด้วย แต่หากเมื่อไรเราเลิกดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลงก็ย่อมช่วยให้สมองสามารถสร้างเสริมความทรงจำและพร้อมรับรู้สิ่งใหม่ต่างๆ ได้ดีเยี่ยมมากขึ้น
5. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายของเราแข็งแรงแล้ว ยังมีผลดีต่อสมองไม่น้อยทีเดียว เพราะในขณะที่ร่างกายของเราเกิดการเคลื่อนไหวอยู่นั้น สมองจะได้รับเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น
เนื่องจากสมองจะได้รับกลูโคสและออกซิเจนที่แล่นสู่ร่างกายและถูกลำเลียงส่งต่อมายังสมองพร้อมกัน จึงทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นความจำของสารเคมีในสมองที่มีชื่อว่า Brain-Derived Neurotrophic Factor ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นไปด้วย ตรงกันข้าม การออกกำลังกายแบบหักโหมมากเกินไปกลับไม่เป็นผลดีต่อระบบความจำเช่นเดียวกัน
6. จดบันทึกสร้างเสริมความจำ
โดยธรรมชาติของคนเรา เมื่อสมองเราคิดและจดจ่อกับบางสิ่งบางอย่างตรงหน้า ความทรงจำหรือประสิทธิภาพในการจดจำเรื่องราวอื่นๆ ที่ลดน้อยลง
ดังนั้น แนะนำให้คุณหมั่นย้ายข้อมูลจากสมองมาเก็บไว้ที่อื่นบ้าง เช่น การจดบันทึกลงสมุด คอมพิวเตอร์ ปาล์มและโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น เพื่อช่วยปลดภาระในการจดจำสิ่งต่างๆ อย่างหนาแน่นเกินไป
ทำให้สมองเกิดการทำงานหนัก และเมื่อเราย้ายข้อมูลจากสมองไปสู่ที่อื่นไว้ได้เช่นนี้ก็ย่อมช่วยให้สมองของเราปล่อยวางจากภาระการนึกจำสิ่งเหล่านั้นลง ส่งผลให้สมองมีพื้นที่ว่างมากขึ้นและแน่นอนว่ามันจะทำให้ระบบความจำดีขึ้นตามด้วย
7. ทำสมาธิเป็นประจำ
สมองของคนเราจะทำงานที่ความถี่หรือจากคลื่นสมองในภาวะที่แตกต่างกัน ทั้งหมดนั้นล้วนขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เรากำลังทำหรือคิดอยู่ สำหรับภายใต้ความคิดที่เกิดขึ้นเหล่านั้น คลื่นเบต้าของสมองจะทำงานรวดเร็วขึ้นจึงส่งผลให้สมองลดเลือนสิ่งต่างๆ ได้ง่ายดายยิ่งขึ้นพร้อมกัน
ดังนั้น เราควรฝึกคิดให้ช้าลง ทำสิ่งต่างๆ ให้ช้าลงบ้าง แนะนำให้คุณทำสมาธิด้วยการหลับตาช้าๆ แล้วหายใจเข้าเบาๆ ช้าๆ พร้อมกับตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก จากนั้นหายใจออกอย่างช้าๆ แล้วตั้งสติไว้ที่ช่องจมูกด้านขวาจากนั้นให้คุณหายใจเข้าอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เวลาที่ผ่อนลมหายใจออกให้คุณตั้งสติที่ช่องจมูกด้านซ้าย โดยทำสลับกันประมาณ 10 นาที
หากคุณหมั่นทำเป็นประจำทุกวันรับรองได้ว่าสมองที่เคยตื้อตันคิดอะไรไม่ออกจะกลับมาปลอดโปร่งโล่งสดใสและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้นอีกครั้งค่ะ
อาการขี้หลงขี้ลืมหรือการทำงานของสมองมีประสิทธิภาพช้าลง ล้วนเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายของเราอ่อนแรงล้าอาจเกิดจากการทำงานหนักๆ รวมถึงสภาวะร่างกายที่ย่ำแย่ลงจากอาการป่วยและการที่ร่างกายขาดสารอาหาร
นอกจากนี้ การที่เราไม่ค่อยได้หมั่นบริหารสมองก็เป็นอีกหนึ่งข้อสังเกตที่ทำให้สมองเราทำงานช้าลง ดังนั้น หันมาทำตามทั้ง 7 ข้อดังที่เราแนะนำกันดีกว่า รับประกันได้ว่าสมองและการจดจำของคุณจะต้องกลับมาทำงานดีขึ้นอีกครั้งแน่นอนค่ะ
organicbook.com
7 วิธีเพิ่มความจำ และกำราบอาการ “ขี้ลืม” ได้อยู่หมัด | organicbook
สมองของคนเราคือส่วนสำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่นๆ เพราะต้องคิด วิเคราะห์ วางแผนและสั่งการให้ร่างกายทำในสิ่งต่างๆ ได้อย
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย