30 ส.ค. 2020 เวลา 01:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“FED : Federal Reserve System “
นโยบายใหม่ ฉีกตำราเศรษฐศาสตร์ เดิมอีกแล้ว !?!
และอาจจะกระทบกับ ชีวิตประจำวันของเราอย่างมากๆ ได้
ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแล้วละ
มาทำความเข้าใจกันสักหน่อย ดีกว่าครับ
Federal Reserve System
เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2563 ; 20.42 PM. เวลาไทย
ทาง Fed ได้แถลง นโยบาย ทางการเงิน รูปแบบใหม่ ....
"following periods when inflation has been running persistently below 2 percent, appropriate monetary policy will likely aim to achieve inflation moderately above 2 percent for some time."
ที่ซึ่ง ทำให้เกิดความสงสัยว่าแท้จริงแล้ว FED มองเห็นอะไร ??
ก่อนอื่น ลองมองย้อนกลับไป ตั้งแต่ วิกฤติ 2008 "Subprime"
สภาพเศรษฐกิจใน Real sector ที่ฟื้นตัวอย่างช้าๆ ๆ
ตลอดระยะเวลา 10 ปี่ที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจจะฟื้น มิได้ทำให้เงินเฟ้อขึ้นถึง 2% เลย ในทางกลับกันดูเหมือนจะยิ่งลด ๆ ๆ ไปในทางเดียวกับดอกเบี้ย ก็ติดลบในปีล่าสุด
ข้อมูลกล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ตลอดสิบปีที่ผ่านมา อยู่ที่ ราวๆ 1.6% เท่านั้น
ทั้งๆ ที่ ธนาคารกลางสหรัฐ ได้ทำนโยบาย "QE Quanititative Easing " ผ่อนคลายทางการเงิน โดยการ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ และ ลดดอกเบี้ย นโยบาย เพื่อหวังให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ เกิดการจับจ่ายใช้สอย
แต่เงินเฟ้อ ก็ยังไม่มา.... แล้วเงินไปไหน ??
และ ทำไมราคาสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ทองคำ ที่ดิน พันธบัตรต่างๆ และอื่นๆ
ได้พุ่งขึ้นอย่างมหาศาลในช่วง 10 ปี่ที่ผ่านมา สวนทางกับดอกเบี้ย
ดังภาพ
สีฟ้าคือ ดัชนีตลาดหุ้น Dow Jones สีขาวคือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย FED
เงินเฟ้อ ยังคงแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งตรงนี้ แหละที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ FED ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อใว้ที่ 2 % แต่ ทำอย่างไร ก็ไม่ได้ตามเป้า....
จนกระทั่ง ในปี 2020 ที่โลกต้องช๊อค..... "Pandemic of COVID-19" คือการระบาดครั้งใหญ่ ที่ซึ่งทำให้เศรษฐกิจทั้งโลก หยุดชะงักในทันที
เงินไม่หมุนเวียน สภาพคล่องถูกตัดขาด บริษัทหมุนเงินไม่ทัน ปลดพนักงาน ลดต้นทุน เท่าที่จะทำได้ .... ทนไม่ไหวก็ ล้มละลายตายจากไป
แต่ แต่ แต่ .... บางบริษัท และเศรษฐกิจโดยรวมของอเมริกานั้น สำคัญเกินกว่าจะปล่อยให้ล้ม ได้
ดังนั้น QE ครั้งยิ่งใหญ่จึงเกิดขึ้น ในนาม " Unlimited QE"
พูดให้เข้าใจง่าย คือ พิมพ์เงินไม่อั้น
Unlimited QE
จากกราฟข้างบน จะเห็นว่า แค่ ไม่กี่เดือนช่วงต้นปี FED ได้พิมพ์เงินเพิ่มขึ้น เกือบ 20 % ปริมาณเงิน มหาศาลนี้ เข้าสู่ระบบถึงมือประชาชน จริงๆ หรือ ??
ท้าวความสักหน่อยครับ เวลาจะกำหนดนโยบายทางการเงินเนี่ยเขาไม่ได้กำหนดลอยๆขึ้นมา แต่จะมีการคำนวน ดังสมการ…
สมการทางการเงิน Monetary Marketing
" MV = PQ "
M = Money (ปริมาณเงิน)
V= Money Velocity (ความเร็วในการเปลี่ยนผ่านเงิน)
P = Price (ราคาสินทรัพย์ หรือ เงินเฟ้อ)
Q= Quantity (ปริมาณเงินที่ผลิตออกมา)
มาดูกัน เมื่อ FED พิมพ์เงิน คือ ...
การเพิ่มการพิมพ์เงิน(เพิ่ม Q) ทำให้มีปริมาณเงินเพิ่ม(เพิ่ม M) เมื่อเงินเข้าสู่ระบบ เงินถูกใช้ไป เพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นการได้เงินมาและใช้ออกไป คือ V เพิ่ม ทำให้ เกิด Demand vs supply เงินถูกใช้มาก เสมือนมี Demand มากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ตามมาคือ สินค้าจะแพงขึ้น ซึ่งก็คือ P = Price นั่นเอง
ในความจริงแล้ว สิ่งที่ FED หวัง ตามหลักเศรษฐศาสตร์คือ Price ของสินค้าควรจะเพิ่มขึ้น หรือพูดอีกนัย คือ มีเงินเฟ้อควรจะมากขึ้นนั่นเอง
แต่ในสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา Price ที่ขึ้นนั้น ไม่ได้ขึ้นที่เงินเฟ้อเลยครับ .... แต่ คนใช้เงินไปขึ้นที่ สินทรัพย์ครับ แทนการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ
ลองมาดู ภาพต่อไปนี้กัน ครับ....
แล้วคุณจะทราบว่าเงินมหาศาลก้อนนี้ ส่วนใหญ่แล้วไปอยู่ที่ไหน ?
กราฟ ราคาสินทรัพย์ หุ้นและทองคำ
คำตอบคือ สินทรัพย์ และเงินออม !!
ตอนนี้ ดัชนีราคาสินทรัพย์ หุ้น และ ทองคำ และ เงินเก็บออมทรัพย์ นั้นได้ พุ่งสูงขึ้น และ ในบางตลาด เช่น NASDAQ , S&P 500 ได้ ทำจุดสูงสุดใหม่ ตลอดกาล " All Time High" ไปเป็นที่เรียบร้อย
แม้ว่า !! ..... โควิด ยังไม่จบ เศรษฐกิจยังไม่กลับมาเหมือนปรกติ
และ จำนวนผู้ติดเชื้อ ยังคงพุ่งสูงๆขึ้นเรื่อยๆ เช่นกันครับ
แหม ๆ ...... พุ่งแรงไม่แพ้ดัชนีสินทรัพย์เลยนะครับ คุณ COVID-19
จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมล่าสุดที่ได้รับการยืนยันแล้ว
แล้ว นโยบายใหม่ของ FED ณ วันที่ 27 - 08- 2020 คืออะไร ??
On price stability, the FOMC adjusted its strategy for achieving its longer-run inflation goal of 2 percent by noting that it "seeks to achieve inflation that averages 2 percent over time."
แปลไทย
เดิมเนี่ย มีเป้าหมายเงินเฟ้อระยะยาวที่ 2 % ตลอด
To this end, the revised statement states that "following periods when inflation has been running persistently below 2 percent, appropriate monetary policy will likely aim to achieve inflation moderately above 2 percent for some time."
แปลไทย
แต่ตอนนี้ นะ มันยังคงต่ำกว่า 2 % ตลอด เพราะฉะนั้นไม่คุมละ ยอมให้บางครั้ง มันสูงกว่า 2% ก็ได้
** ถามว่า มีเงินเฟ้อมันดีอย่างไร ในเมื่อเฟ้อขึ้น ของก็แพงขึ้นสิ .... ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์นั้น การที่มีเงินเฟ้ออยู่หน่อยๆ ไม่มากเกินไปและค่อยๆ เพิ่มๆ มันบ่งบอกว่า เศรษฐกิจกำลังดีเฟื่องฟูในทางที่ควรจะเป็น **
อ้าวว... FED เปลี่ยนนโยบายแบบนี้ เงินเฟ้อเพิ่มมา ทำร้ายกันชัด ๆ ช่วยคนรวยสิแบบนี้.... สินทรัพย์ก็ยิ่งแพงงงง ขึ้นไปอีก
แบบนี้ เงิน 100 บาท จะซื้อของได้ไม่กี่อย่างละสิ ??
คนรายได้น้อยก็เสมือนว่า…กลายเป็นคนจน ??
คนรายได้ปานกลางก็ … จะกลายเป็นคนรายได้น้อย ??
โดยเปรียบเทียบไปโดยปริยาย
ใช่ครับ ตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว มันควรเป็นอย่างนั้น
แต่.... FED เขาอ้างว่าได้ทำการศึกษาวิจัยโดยทีมงานของ FED มาแล้วครับว่า เงินเฟ้อจะยังคงต่ำ 2% อยู่อย่างนี้ไปอย่างน้อย 5 ปี และ จะคงดอกเบี้ย 0% ต่อไป และจะมีนนโยบายเพิ่มเติมตามความเหมาะสมต่อไป
....
ก็ FED เขาว่างั้นแหละครับ.... เป็นสิ่งที่น่าติดตามมากทีเดียวครับ
เพราะกระทบระบบการเงินทั้งหมดครับ รวมถึงไทย
ถ้าไทยยังคงใช้นโยบายเข้มงวดทางการเงิน ในขณะที่ประเทศอื่นเขาผ่อนคลาย ต่อไปเงินบาทจะยิ่งแข็งค่า ทำให้กระทบความสามารถในการแข็งขัน และจะค่อย บั่นทอนเศรษฐกิจไทยอย่างช้าๆ ครับ
..... ครั้งนี้จะเป็นนโยบายที่ถูกหรือผิดอย่างไร คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์แล้ว ละครับ
====ขอให้โชคดีปลอดภัยใน ชีวิตและการลงทุนครับ====
References
เชิญติดตามบทความน่าสนใจเพิ่มเติม ผมรวบรวมใว้ Link ด้านล่าง
• วิธีการทำเงินให้ พอกพูนเพิ่มขึ้นเรื่อย ได้อย่างไร ?
จาก 100,000 ไปเป็น 133,000,000 ล้าน
• ว่าด้วยเรื่อง …… กาแฟ
• ยากันยุง …… กันยุงได้ จริงหรือ?
• อันตรายจาก น้ำแข็งกัด
• ข่าววัคซีน โควิด
• พระพุทธเจ้าบนก้อนหิน
• สายปีนเขา ต้องรู้
• พิษวิทยา
• มันสำปะหลัง มีพิษ
• ไฟฟ้าดูด
• “The Force” … หรือ ‘’พลัง’’ จะมีอยู่จริง ?
• ทารุณกรรม …… หรือแค่ป่วยทางจิต ?•!
โฆษณา