Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชีวิตไม่ติดกรอบ🌏🌏🌏
•
ติดตาม
29 ส.ค. 2020 เวลา 01:53 • ท่องเที่ยว
ตะลอนทัวร์ทั่วไทยโครงการที่ 13...😂😂😂
หลังจากทำภารกิจช่วยคุณเพื่อนติดป้ายขายที่ดินเรียบร้อยที่อำเภอปากชมจังหวัดเลย
เข้าป่าก็แบบนี้ล่ะครับ...อะไรจะมันส์เท่าชีวิต 2 กระปุก
เสร็จภารกิจหลังจากเข้าไร่เข้านาลุยขี้โคลนก็ได้ของแถมเอาไว้ทำอาหารนิดนึง
ไปไหนล่ะกินข้าวต่อสิครับที่แก่งคุ้ดคู้อําเภอเชียงคานจังหวัดเลย
ฟินไปบรรยากาศริมแม่น้ำโขงมาฟังเรื่องเมื่อยๆ...เพราะตำนานแก่งคุดคู้กัน
ตำนานแก่งคุดคู้
นานแล้วมีพรานป่าคนหนึ่งชื่อ “จึ่งขึ่งดั้งแดง” รูปร่างสูงใหญ่ล่ำสัน มีฝีมือในการล่าสัตว์ วันหนึ่งนายพรานผู้นี้ตามล่าควายเงินมาจากหลวงพระบาง (ที่เรียกควายเงินเพราะมูลของควายตัวนี้เป็นเงิน) พอมาถึงริมน้ำโขงเห็นควายเงินพักกินน้ำ นายพรานจึงดักซุ่มยิง พอดีชาวบ้านแล่นเรือผ่านมา ควายเงินตกใจตื่นเตลิดขึ้นไปบนเขาลูกหนึ่ง (ต่อมาเขาลูกนี้ได้ชื่อว่า”ภูควายเงิน”) นายพรานเลยยิงไปถูกเขาอีกลูกจนพังทลายไปซีกหนึ่ง กลายเป็นหน้าผาสูงชัน ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ภูผาแบ่น”
นายพรานโกรธคนที่แล่นเรือผ่านซึ่งเป็นต้นเหตุให้ควายเงินหนีไป จึงกลั่นแกล้งด้วยการขนหินมาขวางกั้นลำโขงไม่ให้เดินเรือได้ นายพรานทำการเกือบจะสำเร็จ ก็พอดีมีสามเณรรูปหนึ่งมาเห็นเข้า เณรนั้นออกอุบายหลอกให้นายพรานใช้ไม้เฮียะ (ไม้ใผ่ชนิดหนึ่ง) ผ่าซีกหาบหินแทน ไม้เฮียะผ่าแล้วจะเป็นสันคมกริบ เมื่อนายพรานใช้หาบหิน ไม้นั้นก็บาดคอนอนตายคุดคู้อยู่ที่ริมโขงนั้นเอง แก่งหินนั้นจึงเรียกว่า “แก่งคุดคู้”
ผลจากการที่นายพรานขนหินมาวางขวางทำให้กลางน้ำโขง มีหลายแก่งหลายแห่ง มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น แก่งฟ้า แก่งจันทร์ เป็นต้น แก่งเหล่านี้แม้จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางในลำน้ำโขงมาแต่โบราณ แต่ก็เป็นบริเวณที่มีปลาเข้ามาอยู่อาศัยอย่างชุกชุม
แก่งคุดคู้
“แก่งคุดคู้” คือแก่งหินขนาดใหญ่ขวางกั้นอยู่กลางลำน้ำโขงทำให้เกิดกระแสน้ำเชี่ยวไหลผ่านแก่ง ในช่วงฤดูแล้ง (ประมาณเดือน ก.พ. – พ.ค.) ระดับน้ำในแม่น้ำจะลดลงต่ำจนทำให้ก้อนหินน้อยใหญ่รวมถึงหาดทรายซึ่งเคยจมอยู่ใต้สายน้ำโผล่ขึ้นมาอวดลวดลายอันงดงามให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม ส่วนในช่วงฤดูฝน – ฤดูหนาว (ประมาณเดือน มิ.ย. – ม.ค.) ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะสูงขึ้นกลืนกินแก่งหินและหาดทรายส่วนใหญ่ให้จมอยู่ภายใต้สายน้ำไปจนเกือบหมด แต่คุณก็จะสามารถพบกับภาพประทับใจของมวลหมู่เมฆและสายหมอกซึ่งล่องลอยคลอเคลียอยู่เหนือยอดเขาและราวป่าริมสองฝั่งน้ำได้แทน สำหรับใครที่อยากจะล่องเรือสัมผัสบรรยากาศของลำน้ำโขงอย่างใกล้ชิดก็สามารถติดต่อสอบถามได้บริเวณท่าเรือ ณ แก่งคุดคู้นั่นเอง ค่าบริการล่องเรือเป็นดังต่อไปนี้
– กรณีมีผู้โดยสารมากกว่า 15 คนขึ้นไปคิดคนละ 30 บาท (ระยะทางไป – กลับ 8 กม.ใช้เวลาประมาณ 30 นาที)
– กรณีมีผู้โดยสารน้อยกว่า 15 คนต้องเหมาลำเที่ยวละ 400 บาท (ระยะทางไป – กลับ 8 กม.ใช้เวลาประมาณ 30 นาที)
– กรณีต้องการล่องเรือเหมาลำระยะทางไกลขึ้นใช้เวลาประมาณ 1 ชม.คิดราคา 700 บาท
การเดินทาง : จาก อ.เมือง จ.เลย ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 มุ่งหน้าไปทาง อ.เชียงคาน เมื่อใกล้ถึง อ.เชียงคานจะพบกับสามแยกไฟแดงให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 (เชียงคาน – ปากชม) ตรงไปเรื่อยๆ ออกจากตัวเมืองเชียงคานไปประมาณ 2 กม.จะพบกับทางแยกและป้ายบอกทางไปแก่งคุดคู้ด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายแล้วขับรถไปตามถนนซอยผ่านวัดท่าแขกตรงเข้าไปเรื่อยๆ ประมาณ 2 กม.ก็จะถึงแก่งคุดคู้ หมายเหตุ : เก็บข้อมูลแก่งคุดคู้ เมื่อ ต.ค. 2552
สามารถสอบถามข้อมูลการล่องเรือเพิ่มเติมได้ที่ “ชมรมเรือนำเที่ยวแก่งคุดคู้” โทรศัพท์
(084)-795-6908 หรือติดต่อกัปตันเรือแต่ละลำได้โดยตรงดังเบอร์โทรศัพท์ต่อไปนี้ (089)-862-4144 ,(087)-855-0297 ,(080)-764-0692 ,(084)-937-8716
ที่มา :
thaiticketmajor.com
:
http://www.thaiticketmajor.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-@%E0%B8%88.%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2-1726.html
บรรยากาศน่าพักผ่อนครับ
อาหารอร่อยจากฝีมือกลุ่มแม่บ้านซึ่งเป็นธุรกิจท้องถิ่น..ขอแนะนำเมนู..กุ้งเต้น
และต้มยำปลาคังกับปลาเนื้ออ่อนทอดกระเทียมพริกไทย
ทำงาน/เที่ยว/กินไปอย่างมีความสุข...ในวันหยุดครับ
ชีวิตไม่ติดกรอบ....นักพัฒนาเดินดิน
29 สิงหาคม 2563
1 บันทึก
9
26
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชีวิตไม่ติดกรอบ
1
9
26
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย