29 ส.ค. 2020 เวลา 16:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“คนเก่งไม่ใช่เพราะเขาไม่เคยล้มเหลว
แต่เขาคือผู้ยิ่งใหญ่ที่ความล้มเหลวไม่สามารถหยุดเขาได้” ~ ขงจื้อครูและนักปรัชญาชาวจีน
ตอนที่ 2 กลยุทธ์ในการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด
ต่อจากบทความที่แล้วว่าความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นได้ ผู้บริหารและพนักงานควรมีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมภายในองค์กร
กระตุ้นและผลักดันให้กระบวนการนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรม บริหารความผิดพลาดให้ตรงจุด และจริงจังพอๆกับการให้ความสำคัญกับความสำเร็จขององค์กร
เรามาดูกันว่า 3 กลยุทธ์จากการเรียนรู้จากความผิดพลาดขององค์กรนั้นมีลักษณะใดบ้าง Cloud Business Review จะเล่าแบบคร่าวๆให้ฟังค่ะ
«องค์กรของท่านสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดได้ทั้งของตนเองและของผู้อื่น» แต่นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างที่เราทราบกัน
นาย Thomas Hoholm อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชายุทธศาสตร์จาก สถาบัน BI Norwegian Business School ได้นำเสนอสามกลยุทธ์สู่ความสำเร็จเพื่อให้องค์กรและเหล่าผู้บริหารนำไปเป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพ
“การเรียนรู้จากความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่” นายโทมัส ได้เกริ่นเอาไว้ข้างต้น
องค์กรต่างๆมักไม่มีความพร้อมหรือมีแล้วแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ดีพอในการตรวจจับข้อผิดพลาด ไปจนถึงความสามารถในการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด
ข้อผิดพลาดขององค์กรไม่ควรมองข้ามหรือแก้ไขอย่างผิวเผิน แต่ควรเกิดขึ้นเป็นระยะยาว
ควรคำนึงถึงความสำคัญของทุกขั้นตอน
พัฒนาให้กลายมาเป็นวิถี และวัฒนธรรมที่สำคัญขององค์กรอย่างจริงจัง
ปัญหาอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้การปฏิรูปโครงสร้างคือการสร้างเกมส์ในองค์กรที่มีชื่อว่า
«การล่าแพะมารับบาป»
อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการเรียนรู้จากความผิดพลาดคือ "เกมที่จะโทษใคร" ซึ่งถูกเล่นในองค์กรส่วนใหญ่
การยอมรับความผิดพลาด
ส่วนใหญ่มักให้นิยามถึงการรับโทษและการถูกประนาม
ผู้บริหารหลายท่านมีความรู้สึกว่าพวกเขากำลังเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก จากบทบาทและผิดชอบต่อความผิดพลาด
ส่วนพนักงานทั่วไปก็กลัวการทำผิด หรือแม้กระทั่งไม่กล้าที่จะเปิดเผยสิ่งที่ผิดพลาดไปเพราะกลัวถูกตำหนิ หรือเป็นเรื่องน่าอาย
ดังนั้นเราจะจัดการกับความผิดพลาดอย่างเปิดเผยแบบสร้างสรรค์ได้อย่างไรโดยไม่ต้องพูดพร้อมกันว่า "ทุกอย่างเรียบร้อยดีครับ/ค่ะ บอส"
ศาสตราจารย์ Amy Edmondson จาก Harvard Business School ได้ถามผู้บริหารว่าความผิดพลาดในองค์กรของพวกเขามีกี่ข้อที่สมควรได้รับการตำหนิอย่างแท้จริง
📊ราวๆ 2-5% เท่านั้นที่ยอมรับอย่างเปิดเผยและควรได้รับคำตำหนิ
📊 70 - 90% คือผู้นำที่มักจะหลีกเลี่ยงการรายงานความผิดพลาด นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ
วัฒนธรรมและความเป็นผู้นำที่เคยทำตามๆกันมายาวนาน
เพราะความผิดพลาดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือข้อผิดพลาดปรากฏขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า
ศาสตราจารย์ Edmondson ได้แบ่งข้อผิดพลาดออกเป็นสามประเภทหลักๆ เพื่อจัดการข้อผิดพลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.ความผิดพลาดที่อาจเป็นเรื่องเลวร้าย/หลีกเลี่ยงได้
2.ความผิดพลาดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
3.ความผิดพลาดที่เป็นเรื่องดี อันนำไปสู่แนวคิดและนวัตกรรมใหม่
ข้อผิดพลาดที่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ข้อผิดพลาดที่หลีกเลี่ยงได้คือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานประจำและงานที่คาดเดาได้
เช่นการเก็บเอกสารทางการเงิน หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น "ผู้กระทำความผิด" สมควรได้รับฟังปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อเตือนสติ และรับไปปรับปรุง
ข้อผิดพลาดที่หลีกเลี่ยงได้อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากความไม่ตั้งใจหรือแม้กระทั่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
การแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวคือสิ่งที่เราเรียกว่าการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง:
📈การฝึกอบรมการพัฒนาความสามารถและการปรับปรุงสถานการณ์ในการทำงาน เช่น วิธีการปรับปรุงคุณภาพแบบ LEAN "ลีน"
นี้คือปรัชญาจากบริษัทโตโยต้าของญี่ปุ่น ที่หลายบริษัททั่วโลกนำมาประยุกต์ใช้ปรับปรุงโครงสร้างขององค์กร ส่วนหนึ่งของแนวคิดนี้คือการรับฟังข้อผิดพลาด และหาวิธีป้องกัน
ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันภายในองค์กร และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ข้อผิดพลาดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย
ข้อผิดพลาดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบการทำงานที่ซับซ้อน โครงสร้างสังคมและองค์กรมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
ผลที่ตามมาของความซับซ้อนของแต่ละองค์กร
มีผลทำให้เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบได้ทั้งระบบ แลบ Domino Effect (โดมิโน่ เอฟเฟค) หรือล้มทั้งระบบ
หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ เราไม่สามารถสรุปภาพรวมทั้งหมดได้ คือทำให้ยากต่อการค้นพบผิดพลาดในระบบนั่นเอง
ข้อผิดพลาดดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้เสมอถึงแม้ว่าคุณจะทำตามนโยบายของหน่วยงานและองค์กรก็ตาม
แต่กระนั้นก็พิสูจน์ได้ไม่ดีเพียงพอ หรืองานที่ต้องแก้ไขอาจถูกท้าทายมากจนเกิดขีดความสามารถเพราะขาดทรัพยากร
หรือแม้กระทั่งทางเลือกที่สมเหตุสมผลก็ได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงปรารถนาได้เพราะเราไม่สามารคาดการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำตลอดเวลา
กระบวนการที่ซับซ้อนก็เสี่ยงพังลงได้ อันเนื่องจากขาดการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ดีพอ
ความผิดพลาดเกิดขึ้น และหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยพื้นฐานอยู่แล้ว
อย่างเช่น ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่เกิดขึ้นและยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อตัวบุคคลและองค์กรทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบันอยู่
ยากที่จะคาดเดาได้แม่นยำว่าการแพร่เชื้อจะหยุดเมื่อไหร่ หรือวัคซีนจะทันสำเร็จเมื่อไหร่ ยังไม่มีใครทราบได้แม่นยำ เพราะไวรัสมีโอกาสกลายพันธุ์อยู่เรื่อยๆ
บ่อเกิดแห่งความสะสมเสี่ยงทวีคูณขึ้น อาจก่อให้เกิดป็นภัยต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติได้
ความผิดชนิดที่ 3 นี้ อย่างที่เกริ่นเอาไว้สักคู่นั้นคือ
ความผิดพลาดที่นำไปสู่แนวคิดและนวัตกรรมใหม่
คือข้อผิดพลาดอันฉลาดอัจฉริยะ อย่างองค์กรที่ผลิตนวัตกรรมยานยนต์ มักจะเรียนรู้ที่จะออกแบบกระบวนการที่ "ค้นหา" ข้อผิดพลาดของเครื่องยนต์
ด้วยการทดลองใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น บวกกับสร้างวิธีแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และพัฒนาศักยภาพขึ้นเรื่อยๆอย่างเช่น นาย Musk ผู้ให้กำเนิดรถยนต์ไฟฟ้า และพัฒนาเชื่อม Brain Chip เข้ากับสมองของมนุษย์ ที่มีชื่อ Neuralink
ถูกพัฒนาขึ้นมาช่วยเหลือผู้ที่มีไขสันหลังที่บกพร่องหรือหักทั้งหมด เพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวให้กลับมาคล่องแคล่วได้ปกติ
เทคโนโลยีนี้ยังจะช่วยในการบรรเทาความเครียดและความวิตกกังวลโดยการปรับเปลี่ยนและปรับสมดุลของระดับฮอร์โมนในสมอง เพื่อบรรเทาความตึงเครียดทางอารมณ์ เป็นต้น
กลยุทธ์ที่ดีนั้นควรได้เกิดจากการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด
ออกแบบกระบวนการที่ทำให้ค้นพบและรายงานความผิดพลาดอย่างสร้างสรรค์ ผู้บริหารได้เอื้ออำนวยต่อบรรยากาศการเรียนรู้ในลักษณะนี้
ความท้าทายอย่างหนึ่งในการเป็นผู้นำและบริหารงานนั้นคือ การสร้างทัศนคติที่ดีในองค์กร สงเสริมและสร้างสรรค์กระบวนการการเรียนรู้จากความผิดพลาด
และนี้คือจุดเริ่มต้นของการสร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร ส่วนการหาแพะรับบาปนั้นถือว่าล้าสมัย กระตุ้นให้พนักงานรู้สึกที่จะไม่สบายใจ และลาออก
เมื่อเขาต้องการรายงานข้อผิดพลาดกับเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างานของเขาได้โดยไม่รู้สึกอาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นที่ดี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรต่อไป
การกลั่นกรองความคิดและสร้างคำถามที่ทำให้คนสบายใจขึ้นนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงคำถามว่า
“ใครเป็นคนทำ"
แต่เราควรถามว่า “เกิดอะไรขึ้น”
ที่สำคัญเราต้องให้เกียรติต่อผู้ที่ทำผิดพลาด
เพื่อให้เขาได้มีโอกาสปรับปรุงงานพร้อมหาทางแก้ไขที่ถูกต้องตามกฏระเบียบ และนโยบายต่อไป
📚3 กลยุทธ์
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้จัดการและพนักงานหลายคนปฏิเสธที่จะรายงานข้อผิดพลาด
🥇กลยุทธ์ที่ 1: ตรวจจับและรายงานข้อผิดพลาดได้อย่างไร เช่น อุบัติเหตุใหญ่สองครั้งที่เกี่ยวข้องกับกระสวยอวกาศของ NASA
ในปี 1986 และ 2003 แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการรายงานและประเมินความผิดพลาดที่คล้ายคลึงกัน
ในทั้งสองกรณีวิศวกรได้ตรวจพบสัญญาณอันตรายล่วงหน้าได้ดี พวกเขาได้ขอความช่วยเหลือเพื่อเข้าไปแก้ไขลดระดับความเสี่ยง และตรวจสอบอย่างละเอียดจริงจัง
......แต่กลับถูกปฏิเสธ
......ผลลัพธ์ต่อมาที่ได้นั้น น่าเศร้าค่ะ
🥈กลยุทธ์ที่ 2: พัฒนาวิธีการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด:
การตรวจสอบข้อบกพร่องที่รายงานอาจเป็นอะไรที่ไม่สวยงามมากนักภายในองค์กร
สิ่งนี้ต้องใช้เวลาและทรัพยากรและโอกาสเพื่อระบุปัญหาได้ถูกต้อง และแม่นยำนั้นอาจเป็นงานที่ไม่สนุกเสมอไป
แต่อย่าลืมว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและต่อสังคมจริงๆ
มนุษย์เราชอบหลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดของตนเป็นส่วนใหญ่ อาจมองข้ามความรับผิดชอบ และโทษสิ่งแวดล้อมในยามที่ล้มเหลว
LEAN (ลีน) เป็นตัวอย่างของวิธีที่เราสามารถคลี่คลายสิ่งที่นำไปสู่ข้อผิดพลาดได้อย่างเป็นระบบ ช่วยวิเคราะห์หาต้นต่อของสาเหตุ
🥉 กลยุทธ์ที่ 3. การค้นหาข้อผิดพลาดในเชิงรุก
ในเชิงวิทยาศาสตร์เราทราบกันว่า การทดลองที่ล้มเหลวเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็น
ออกแบบกระบวนการโดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาทุกสิ่งที่อาจผิดพลาด เพื่อจำกัดขอบเขตความเสียหายที่
โดยสรุป:
💓สิ่งสำคัญคือการสรรสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดภายในองค์กร
💓เรียนรู้ที่จะสร้างทัศนะคติที่ดีต่อความผิดพลาด:
กล้าเผชิญหน้ากับความผิดพลาดและข้อบกพร่องของตนเองและผู้อื่น
💓พนักงานต้องรู้สึกปลอดภัยในการยอมรับและรายงานข้อผิดพลาด
💓ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้
💓การผสมผสานระหว่างความหวาดระแวงระเบียบวินัยและการวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์!
💓องค์กรสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดทั้งของตนเองและของผู้อื่น นี่คือตรรกะสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมาย
💓อย่าลืมว่าปัญหาทุกปัญหาไม่เหมือนกัน ดังนั้นข้อผิดพลาดประเภทต่างๆต้องถูกจัดการแตกต่างกันเพื่อบรรลุประสิทธิภาพที่ดี
💓ข้อผิดพลาดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การมีทรัพยากรหลากหลายด้าน เพื่อต้านทานกับความเสี่ยงนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง
💓ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี หรือแม้กระทั่ง Know-how ความรู้ที่องค์กรมีอยู่เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาองค์กรแบบยั่งยืน
“ผมเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของคนรุ่นก่อน มุ่งเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้บริษัทได้รับความเสื่อมเสีย ผมไม่ชอบรอให้ปัญหาเกิดขึ้นแล้วค่อยดำเนินการแก้ไข”
«I learn from my predecessors to focus on preventing the company from deteriorating to the point where a rescue operation becomes neccesdary.»
~ Fujio Cho ประธาน บริษัท Toyota Motor Corporation กล่าวไว้ เมื่อ 19 มกราคม 2547
อ่านกันมาถึงตรงนี้แล้ว อาจส่งสัยว่าแล้วจะลงมือทำได้อย่างไร มาติดตามตอนต่อไปกับ กับวิธีลงมือบริหารความผิดพลาด
อย่าลืมกดไล้ท์ กดแชร์ และกดติดตามเพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดบทความต่อไปนะค่ะ
Blockdit: Cloud Business Review
Facebook: Cloud Business Review
แวะมาเล่นเกมส์ลุ้นรับรางวัลได้ที่ FB แฟนเพจระหว่างวันที่ 30ส.ค.-8ก.ย. ได้นะค่ะ 🎁🎉
อ้างอิง:
Collins & Hansen (2011), Great by choice, HarperBusiness
Colville, Pye & Carter (มีนาคม 2013), «การจัดระเบียบเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย: การสร้างความรู้สึกท่ามกลางความซับซ้อนแบบไดนามิก»ใน Human Relations, Sage
Edmondson (2011), «กลยุทธ์เพื่อการเรียนรู้จากความล้มเหลว»ใน Harvard Business Review
Ries (2011), The Lean Startup, Crown Business
Sarasvathy & Dew (2005)“ การสร้างตลาดใหม่ผ่านการเปลี่ยนแปลง” ใน Journal of Evolutionary Economics, 15, Springer
Starbuck & Hedberg (2003), «องค์กรเรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวได้อย่างไร»ใน Oxford Handbook of Organizational Learning and Knowledge, Oxford University Press
Weick, Sutcliffe & Obstfeld (1999), «การจัดระเบียบเพื่อความน่าเชื่อถือสูง: กระบวนการของการมีสติร่วมกัน»ในการวิจัยในพฤติกรรมองค์กร Jai Press, Stanford
Real LEAN,learning the craft of Lean management, Vol.4, Bob Emiliani
โฆษณา