30 ส.ค. 2020 เวลา 02:56 • ธุรกิจ
How to be a Facilitator? 🧐
FB page: Six Sigma Coaching by Ploy-พา-Ploen
How to be a Facilitator? 🧐
ในการทำงานปัญหามีเข้ามาให้แก้ทุกวัน ถ้าเป็นปัญหาในแผนก ไม่เกี่ยวกับแผนกอื่น เราก็มักจะแก้ปัญหาได้
เพราะเราเป็นคนตัดสินใจได้เลย ว่าจะเอาอย่างไร
แต่ในชีวิตจริง มีเกือบทุกวันเหมือนกัน ที่เราเจอปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแผนกอื่นๆ อีกหลายแผนก
มันยากตรงที่เราไม่สามารถเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แถมยังมีเรื่อง Conflict of interest ระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วย
คลาสสิคเคสคือ ถือ KPI คนละตัว
Case study นี้ มาจาก Head of Operation ขอให้ช่วยร่วมแก้ปัญหา เพราะมันซับซ้อน ยุ่งยาก วิเคราะห์ปัญหาแล้ว ตีมั่วไปหมด ????
แผนกดูแล Packaging ต้องไปรับ Packaging เปล่า จากลูกค้าที่เลิกใช้งานแล้ว หรือเลิกซื้อขาย หรือซื้อน้อยลง
KPI ของแผนกนี้คือ ต้องไปรับกลับมา เพื่อเอามาหมุนเวียนในระบบ
แผนกนี้ได้ทำงานตามแผน ได้ตามเป้าหมาย แต่ปลายทางของ Process ต้องให้แผนกขนส่งไปรับกลับมา
งานเข้าตอนนี้แหละ !!!
เพราะ KPI ของแผนกขนส่ง คือ ขนส่ง Packaging เต็มให้ลูกค้า แล้วรับ Packaging เปล่ากลับ เขาต้อง Utilize รถให้เต็มที่สุด
นั่นหมายความว่า การตีรถเปล่าไปรับ Packaging เปล่า
คือสิ่งที่ไม่อยากทำ
แต่ถ้าไม่ไปรับ บริษัทก็จะไม่มี Packaging มาหมุนเวียน
ด้วยความซับซ้อนมากมายเหล่านี้
เราต้องช่วยกันหา Solution ที่ตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด
งานนี้ถูกขอให้ไปช่วยรันกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
บทบาทหลัก คือ Facilitator
Facilitator จะทำหน้าที่ออกแบบ workshop/meeting
ที่ผู้เกี่ยวข้องจะมาร่วมกันหา Solution ที่ win-win ทั้งคู่
ตาม step ในรูปเลย
1) Facts and Evidence : What do we know?
2) Discussion and Opinion : What do we think?
3) Ideas and Opportunity : What could we do?
4) Actions and Commitment : What will we do?
แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะว่า เราได้การเรียนรู้อะไรจากเคสนี้บ้าง
#ขอบคุณและดีใจที่จะได้ช่วย
ครูพลอย ❣
โฆษณา