31 ส.ค. 2020 เวลา 16:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรื่องราวเกี่ยวกับ "การเดินทาง" และ "เวลา" ของหนังดังทั้ง 3 เรื่อง
TENET, Doctor Strange และ About Time
คือเราแค่นั่งคิดเล่นๆ ว่าไอเดียการทำหนังต่างๆเนี่ย ถ้าต้องการให้มีความน่าสนใจก็อาจจะใช้ทฤษฏีเกี่ยวกับ เวลา และเหตุการณ์ต่างๆเนอะ
ใจจริงอยากจะเอาเรื่องของ Inception และ Interstellar มากรวมด้วยมากๆ แต่มันก็จะเป็นการเกิดขึ้นจากความคิดของ Nolan คนเดียว
งั้นเราขอหยิบยกมา 3 เรื่องละกัน จะได้มาจากไอเดียต่างผู้กำกับ และต่างระยะเวลากัน
About Time - Richard Curtis (2013)
Doctor Strange - Scott Derrickson (2016)
TENET - Christopher Nolan (2020)
เนื่องจากเราไม่ต้องการให้มีความยาวของบทความมาก กลัวเพื่อนๆขี้เกียจอ่านกัน
T^T เราขออนุญาตไม่เล่าเรื่องราวของหนังนะ แต่ขอเข้าไปที่การหยิบยกเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ "การเดินทาง" และ "เวลา" เลยละกัน
1. About Time (2013) กับ The Butterfly Effect
เรื่องนี้มีความเป็น Rom - Com เพราะงั้นแล้ว Richard Curtis จึงไม่ได้เน้นในเรื่องของ Theory ในการเดินทางข้ามเวลา หรือเล่นกับเวลามากนัก
แต่เป็นจินตนาการของการย้อนเวลาเพื่อกลับไปในความทรงจำที่เคยเจอมา และเต็มอิ่มกับความรู้สึกในช่วงเวลานั้นใหม่อีกครั้ง ก็คือแนว Fantasy ไปเลย (ไม่มี Sci-fi)
The Butterfly Effect หรือทฤษฏีผีเสื้อขยับปีก
- อันนี้เดาว่าเพื่อนๆน่าจะรู้กันอยู่แล้ว ก็คือเป็นทฤษฎีของ Edward Lorenz ที่เค้าได้ทำการคำนวนจากการปัดตัวเลขทศนิยม (round-up) ที่มีค่าน้อยมากๆ แต่ด้วยการกระทำอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แล้วพอ Edward ได้ plot ลงบนคอมพิวเตอร์ซิมูเลชัน ก็พบว่ามันขยายวนไปเป็นรูปปีกผีเสื้อเลย
- สิ่งที่ The Butterfly Effect มาเกี่ยวกับเรื่อง About Time ก็คือทุกครั้งที่พระเอกเข้าไปในตูแล้วย้อนเวลากลับไปในอดีตที่ตัวเองมีความทรงจำอยู่
- ในทุกๆการกระทำของเค้าในอดีตเพียงเล็กน้อย จะส่งผลถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งมีความสอดคล้องกันกับ Butterfly effect อย่างในเนื้อเรื่องคือ พระเอกที่มีลูกสาวในปัจจุบัน แต่หลังจากย้อนเวลากลับไปแล้วไปปรับเปลี่ยนสิ่งเล็กน้อย นั้นทำให้เค้าได้ลูกผู้ชายขึ้นมาแทน
การมีตัวตนของทั้งอนาคตและอดีตที่เหมือนกันของ About Time และ TENET
- การย้อนเวลากลับไป ในช่วงเวลานั้นๆก็จะมีตัวเราถึง 2 คน ซึ่งเป็นไอเดียของ Curtis ที่เหมือนกัน Nolan
- ต่อให้ย้อนเวลากลับไป อายุก็ยังเท่าเดิม ก็คือเราแก่ไปเรื่อยๆนั้นเอง
แต่ Curtis ได้ใส่ความไม่ลงตัวของเหตุผลไปด้วยการที่ ตัวตนในอนาคตถ้าย้อนเวลากลับมา ในช่วงเวลาเดียวกับ ตัวตนในอดีตย้อนเวลากลับไป ก็จะถือว่าเข้ามาแทนที่ไปเลย
- โดยในเรื่องนี้ Tim พระเอกของเรา ถ้ามีการเดินทางย้อนเวลาในตู้เสื้อผ้า แล้วจังหวะนั้นตรงพอดีกับที่ Tim ในอดีตกำลังย้อนเวลาในตู้พอดี ตัวเค้ในอนาคตก็จะเข้าไปแทนที่ทันที โดย Curtis ก็ไม่ได้ให้เหตุผลอะไรเกี่ยวกับทฤษฎีที่เค้าสร้างขึ้นมา นอกจากความ Fantasy และ Movie sets up its rules
2. Doctor Strange (2016) กับ Reverse Time
Doctor Strange มีคอนเซ็ปเรื่องเวลาที่คล้ายกับ Tenet ผสมความรวดเร็วของการย้อนเวลาแบบ About Time
- ผู้กำกับ Derrickson ได้ออกมาบอกว่า Doctor Strange ไม่ได้ใช้ Time Stone เพื่อย้อนเวลาแบบพี่ทิมจาก About Time หรือการ Inverse time อย่างค่อยๆเป็นค่อยไปแบบ TENET แต่ด้วยพลังพิเศษของ Time Stone ที่ทำให้ Movie rule มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
- โดยที่ Derrickson เค้าได้บอกว่า เพื่อนๆกำลังดูหนัง weird sci-fi concept อยู่ เพราะฉะนั้น ไม่มีกฏที่แน่นอนหรอก
- ก็คือด้วยพลังเวทย์ของพี่หมอแปลก จึงทำให้เค้าเล่นกับการเวลา และมิติของเวลาได้อย่างเต็มที่เลย เช่น การก้าวข้ามผ่านมิติของเวลา หรือ การย้อนกลับของเวลา แม้กระทั่งการกักขังห้วงเวลาให้วิ่งวนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแบบที่เค้าเจอกันดอมัมมู
- การเข้าใจการทำงานของ Time หรือเวลาคือสิ่งที่ทำให้ Doctor Strange มีจุดเด่นและได้เปรียบฮีโร่ตัวอื่นๆ
Paradoxical alternate timeline ที่ทำให้ Doctor Strange พบวิธีการชนะธานอสใน 14,600,005 หนทาง และดอมัมมูตัวร้ายภาคแรก
- พูดแล้วอาจฟังดูยาก แต่มันคือการที่ Doctor Strange เข้าไปดูในมิติเวลาคู่ขนานต่างๆ ที่การกระทำจะแตกแยกออกไปจนทำให้เกิด Paradox ต่างๆ
- และโดยการเล่นกับการย้อนกลับเพื่อไปดูเหตุการณ์ต่างๆที่ควรจะเกิดขึ้น (แต่ไม่มีการกระทำที่ทำให้เปลี่ยนแปลงความจริงในปัจจุบัน เอาง่ายๆคือ ไม่ทำให้เกิด Butterfly effect หรือ Grandfather paradox (ที่เค้าบอกว่า ถ้าเราย้อนเวลากลับฆ่าคุณปู่ของเรา ตัวเราก็จะหายไป)
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า Reverse Time แบบ Doctor Strange ตามความคิดของผู้กำกับ Derrickson สามารถสร้างได้โดย Quantum computer ? (อันนี้ที่เราตามหาอ่านมามันยาวมาก ใช้เวลาอ่านเพื่อทำความเข้าใจพร้อมดู Youtube ก็ 30 นาทีแว้ว T^T)
สรุปให้เข้าใจง่ายๆคือ
- ปกติการทำงานของคนเรา หรือคอมพิวเตอร์ปกติจะเป็นแบบ Linear หรือเอาง่ายๆก็คือเป็นเส้นตรง ทำงานเสร็จ 1 อย่างใช้เวลา 30 นาที ถ้าจะทำ 5 อย่างให้เสร็จก็ 150 นาทีเนอะ
Linear Graph
- แต่ว่าด้วยการพัฒนาของ Quantum Computer ซึ่งตอนนี้ Google และ Apple กำลังพัฒนา Chip ตัวแนวนี้อยู่
- คือเค้าสามารถทำงาน 5 อย่าง ได้ในเวลาแค่ 30 นาที จะว่าไงดีอะเพื่อนๆ มันคือการทำงานหลายๆอย่างทับซ้อนกันในช่วงเวลาเดียวกัน คล้ายๆกับเราแยกร่างอะเพื่อนๆ
- เหมือนเวลาที่ Doctor Strange แบบ หัวหมุนๆ วูปวาป วิ่งเข้าไปในมิติความคิด
จังหวะวูปวาปแบบนี้ละ
- จริงๆเค้าจะมีเรื่องราวของ "การซ้อนทับของควอนตัม (Quantum Superposition) ด้วยค่า 1 และ 0" เพื่อนๆสามารถ Search ดูใน Youtube ได้นะ จะเห็นภาพมากกว่าเยอะเลย
- ต้องขอออกตัวก่อนว่า เราไม่ได้มีความรู้เฉพาะทางในสาขาของ Quantum physics เพราะฉะนั้นอาจจะเขียนอธิบายได้เพียงแค่เท่านี้ (แต่เมื่อกี้นั่งดูมานานมากกก)
3. TENET (2020) และ Time Inversion แบบสมจริง
มั่นใจเลยว่าเพื่อนๆชาว Blockdit ที่พึ่งออกจากโรงหนัง หรือพึ่งดูจบไป คงรีบตามไปเก็บความรู้กันอย่างแน่นอนในเรื่องของ Inverse Time
ในเรื่องของ TENET นี้ การเล่นกับเวลาสามารถทำได้อย่างเดียว คือการถอยกลับของเวลา (มันไม่ใช้การวาร์ปไปวาร์ปมาในช่วงเวลาได้อย่างหนังเรื่องอื่นๆนะ)
- ก็คือถ้าเราอยากกลับไปดูในอดีต เราก็ต้องเริ่มจากการนับเลขถอยหลัง หรือการกรอเทปนั้นเอง โดยระยะเวลาของการไหลย้อนกลับของเวลา ก็จะมีอัตราส่วนของเวลาทำกับเวลาที่พุ่งไปข้างหน้า เรานึกถึงเวลาที่เดินจากจุด A ไปถึงจุด B แล้วเดินกลับ ก็จะง่ายที่สุด
- การเคลื่อนที่สลับกันจาก Forward ไป Backward และการเล่นกับนิยามของ Entropy ที่ทำให้เกิด
- โดยปกติการที่เราจะเปลี่ยนแปลง Entropy นั้นไม่มีทางเป็นไปได้เลย ไข่ไก่ที่ตกแตกเละไปแล้ว ไม่สามารถทำให้มันคืนสภาพได้แน่นอน (ซ่อมไม่ได้อีกด้วย)
- แต่หนังเรื่องนี้คือการเล่นกับ Entropy การถอยกลับของเวลา ซึ่งนี้คือหัวใจของการดำเนินเรื่องเลยก็ว่าได้นะ
TENET เป็นหนังที่มีความยืดหยุ่นในเรื่องของ Fantasy น้อยที่สุด โดยอ้างอิงกับความเสมือนจริงอย่างมากที่สุดเลยละ
- ส่วนสำคัญอีกส่วนคือความเชื่อที่ขัดแย้งกันในเรื่องของ "Grandfather paradox" ของคนจากโลกอนาคตที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในอดีตจะไม่มีวันส่งผลกระทบถึงพวกเค้าได้ หากพวกเค้ากลับมาใช้ชีวิตในอดีตซะเลย
- แต่อย่างไรก็ตาม เรามีพระเอกอยู่แล้วเนอะ ก็คือคนที่เชื่อว่า Grandfather paradox มันเป็นเรื่องจริงๆ เพราะฉะนั้น พวกเค้าจะหายไปทันทีถ้าคนกลุ่มนั้นสามารถทำลายอดีตได้
สเน่ห์อีกอย่างของการเล่นกับเวลาในหนัง TENET คือ การใช้กลยุทธ์ Temporal Pincer Movement หรือ ปรากฏการณ์คีบขนาบ ที่เค้าแบ่ง 2 ทีมแดงและฟ้า ตาม Forward - Backward ของเวลา
สุดท้ายนี้ 2 เรื่องแรกจะเป็นการเล่นกับเวลา เพื่อการแก้ไขสิ่งต่างๆ แต่ของ TENET ไม่ได้เป็นการย้อนเวลาเพื่อไปแก้ไขสิ่งต่างๆ แต่เป็นการที่ทำให้ทุกอย่างนั้น อยู่ในจุดสมดุล และป้องกันจากการปั่นป่วนของกลุ่มคนในอนาคตที่หวังดีจะช่วยฟื้นฟูธรรมาชาติของโลกนั้นเอง
1
จบแล้วจ้าเพื่อนๆ หวังว่าคงจะอ่านกันเพลินๆ และได้สาระสนุกๆกันไปเนอะ !
โฆษณา