31 ส.ค. 2020 เวลา 18:25 • ข่าว
🎥 ด่วน "Paul Rusesabagina" นักสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ชาวรวันดา ที่เรื่องราวของเขาถูกนำไปสร้างภาพยนตร์ชื่อดัง เรื่อง "Hotel Rwanda" ถูกจับแล้ว ในรวันดา (Rwanda) 🇷🇼
(📷 : Reuters, Rwanda Investigation Bureau/Twitter)
หลายคนอาจจะเคยได้ยิน หรือได้ชมภาพยนตร์ เรื่อง Hotel Rwanda ที่ออกฉายในปี 2004 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง เมื่อปี 1994 โดยเรื่องราวของ พอล (Paul Rusesabagina) ถูกถ่ายทอดผ่านสู่สายตาชาวโลกโดยภาพยนตร์เรื่องนี้ พอลผู้นี้นี่เอง คือผู้ที่ช่วยเหลือชาวรวันดา จำนวนมากกว่าร้อยคน จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา โดยการให้ที่พักและที่หลบซ่อนแก่คนพวกนั้นอยู่ภายในโรงแรม Milles Collines hotel ในระหว่างเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งเขาทำงานเป็นผู้จัดการโรงแรมอยู่ในสมัยนั้น เมื่อเหตุการณ์เริ่มคลี่คลาย เขาสามารถช่วยเหลือผู้หลบภัยทุกคนจนปลอดภัยดีทั้งหมด
1
ภาพโปสเตอร์ภาพยนตร์ Hotel Rwanda ซึ่งถูกฉายในปี 2004 นำแสดงโดย Don Cheadle (📷 : Imdb)
สำหรับสาเหตุที่พอล ถูกจับครั้งนี้ทางการชี้แจงว่า เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้าย ซึ่งทางสำนักงานสืบสวนของประเทศรวันดา ได้ชี้แจงผ่านทาง Twitter
โดย พอลถูกตั้งข้อหาว่า "เป็นผู้ก่อตั้ง,ผู้นำ และผู้สนับสนุน กลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรง รวมถึงมีส่วนในการลักพาตัวและฆาตกรรม" ทางเจ้าหน้าที่ของรวันดากล่าว
อย่างไรก็ตามทางกลุ่มผู้สนับสนุนพอลจำนวนมาก เชื่อว่า พอล ตกเป็นเป้าหมาย และถูกกลั่นแกล้ง จากทางรัฐบาลของ "ประธานาธิบดีคากาเม" Paul Kagame (ขอใช้คำเรียกว่า คากาเม เพื่อป้องกันความสับสน) โดย คากาเม ผู้นี้นี่เอง ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี, รัฐมนตรีความมั่นคงของรวันดา และเป็นผู้ควบคุมกองกำลังทหารของรวันดาในช่วงปี 1994 ระหว่างที่มีเหตุการณ์การล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งตอนนี้ คากาเม ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี มาตั้งแต่ปี 2000 จนมีวาระไปถึงปี 2024 และสามารถเป็นประธานธิบดีต่อไปอีกสมัยได้ หากเขาชนะในการเลือกตั้งครั้งหน้า
พอล คากาเม (Paul Kagame) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศรวันดา (📷 : Deutsche Welle, Reuters)
หลังเหตุการณ์ที่ รวันดาในปี 1994 จนถึงปี 1996 พอลได้เดินทางออกจากรวันดา เพื่อหลบหนีจากการตามลอบสังหาร ไปอาศัยอยู่ที่ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม และเมือง ซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส ในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ Paul ยังได้ก่อตั้ง มูลนิธิ Hotel Rwanda Rusesabagina Foundation เพื่อต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทั่วโลก
เขาได้รับรางวัลต่างๆ ทางด้านสิทธิมนุษยชนมากมาย จากการช่วยเหลือผู้คนจากเหตุการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และงานทางด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงรางวัล U.S. Presidential Medal of Freedom จากประธานาธิบดี จอร์ช ดับเบิลยู บุช ในปี 2005
ภาพของพอล ขณะรับมอบ รางวัล Presidential Medal of Freedom จากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในปี 2005 (📷 : Susan Biddle/The Washington Post)
สำหรับเรื่องราวต่อไปของพอล จะเป็นอย่างไรต่อไป หากมีความคืบหน้า ทางเพจเราจะสรุปมาให้ทุกคนได้ติดตามกันแน่นอน กดติดตามกันไว้ได้เลย
สรุปข่าวสั้นที่สามารถอ่านให้จบใน 3 นาที /โดย รอบโลกใน 3 นาที
Source: CNN, Washington post, Deutsche Welle, Reuters
1 กันยายน 2020
โฆษณา