3 ก.ย. 2020 เวลา 11:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Wizard Library X Kim Property Live
ที่มาของมูลค่าทองคำ (The History of Gold)
ทุกครั้งที่เศรษฐกิจอ่อนแอหลายคนมักจะนึกถึงทองคำ ทองคำนั้นมีค่าถึงขนาดที่ทุกประเทศยอมรับให้เป็นสินทรัพย์สำหรับทุนสำรองระหว่างประเทศกันเลย (หมายความว่าการที่เราจะพิมพ์เงินออกมาได้นั้นเราต้องมีทองคำเก็บไว้เป็นตัวหนุนหลังเงินของเรานั่นเอง) คำถามก็คือทำไมทองคำมันถึงได้มีค่าขนาดนั้น ทำไมถึงมีความเชื่อใจและความมั่นใจขนาดนี้ ถ้าเรามองย้อนกลับไปในทุกการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทองคำก็มักจะราคาสูงขึ้นมาตลอดเช่น ต้มยำกุ้ง ซับไพร์ม แฮมเบอร์เกอร์ หรือแม้แต่ครั้งนี้ก็ตาม
ถ้าเราพูดถึงคำว่า “เงิน” คนทั่วไปมักจะนึกถึงเงินที่เป็นกระดาษก่อน แต่ความจริงแล้วเงินนั้นไม่ใช่กระดาษเสมอไป เราเคยใช้เปลือกหอยแทนเงินในอดีตหรือใช้ Barter System (การแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการระหว่าง ตนเองกับผู้อื่น) จนได้มีระบบมาตรฐานทองคำ (gold standard) เกิดขึ้นมาจากในปี 1717 ตอนนั้นประเทศอังกฤษกำลังเป็นเจ้าโลกอยู่ แล้วในตอนนั้นประเทศอังกฤษจะมีเหล็กสามชนิดเป็นเงินตราคือ Gold(ทองคำ) Silver(เงิน) และ Copper(ทองแดง)
ซึ่งเมื่อมีเงินตราอยู่3ชนิดทำให้คนเข้ามาเก็งกำไรรายวันตอนที่ราคาทั้ง3ชนิดมันไม่เท่ากัน ประเทศเลยต้องให้ Sir Isaac Newton คนดังของเรามาทำหน้าที่ในการปรับมูลค่าเงินตราให้เท่ากันทุกวัน แต่มีอยู่วันนึงเขาได้คำนวณผิดพลาดทำให้อัตราส่วนระหว่างเงินตราทั้งสามชนิดนั้นเปลี่ยนไปทำให้ทองคำมีมูลค่ามากกว่า ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์เลยทำให้ต้องเอา Silver กับ Copper ออกจากประเทศอังกฤษทั้งหมด ทำให้ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบบมาตรฐานทองคำ(gold standard) และเกิดการใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกจนทั้งโลกใช้ ทองคำในระยะเวลาต่อมา
แต่ข้อเสียของทองคำก็คือมันฝืดเพราะว่าเวลาในการขุดทองคำช้ากว่าการเติบโตของผลิตภาพ(Productivity)มาก นวัตกรรมใหม่ๆทำให้ผลิตของได้ถูกลงออกมาในจำนวนมากขึ้น ทำให้สินค้าออกมาเต็มตลาด แต่สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหรือทองคำเนี่ยมันออกมาช้าเกินไปทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เงินฝืด” ทำให้ระบบเศรษฐกิจล่ม เป็นเหตุผลที่ทำให้โลกของเราเปลี่ยนเป็นอีกระบบนึงที่ชื่อว่า Bretton Woods System ในปี 1945
Bretton Woods System เป็นช่วงที่อเมริกาแซงหน้าอังกฤษเป็นเจ้าโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทางอเมริกาก็บอกว่าในเมื่อทองคำเนี่ยมันฝืดเกินไปใช่ไหม นั้นเรามาใช้ US Dollar เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนแทนละกัน โดยทุก US Dollar ที่พิมพ์ออกมาจะมีทองคำเก็บหนุนหลังไว้โดยที่ 35 Dollar จะเท่ากับทองคำหนึ่งออนซ์ เพราะว่ากระดาษที่ชื่อว่า US Dollar นี้ สามารถแลกทองคำได้และทุกคนก็เชื่อมั่นในทองคำด้วย กระดาษที่ชื่อว่า US Dollar เลยมีความน่าเชื่อถือขึ้นมา
แต่หลังจากนั้น Productivity นั้นโตขึ้นอย่างมหาศาลทำให้อเมริกาต้องวิ่งหาทองคำมาหนุนหลังมากขึ้น สุดท้ายแล้วก็กลับไปปัญหาเดิมคือหาทองคำไม่ทันและที่สำคัญเลยคืออเมริกาได้ไปทำสงครามกับเวียดนาม ทำให้ทางอเมริกาพิมพ์เงินออกมาเพื่อทำสงคราม ซึ่งมากกว่าที่ทางอเมริกานั้นเก็บทองคำไว้จริงและตอนนั้นคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้
แบงค์ชาติของฝรั่งเศษเป็นที่แรกที่เห็นถึงความผิดปกติ เขาเลยขน US Dollar ไปทางเรือเพื่อที่จะไปแลกเป็นทองคำคืนมา วันนั้นเลยเป็นวันที่ทั้งโลกรู้ความจริงว่า US Dollar ไม่ได้เก็บทองคำในอัตราส่วนเดิมอีกแล้ว ระบบก็เลยล่ม ตอนนั้นก็เลยเกิดเหตุการณ์ Nixon Shock ขึ้นในปี 1971 Nixon ประธานาธิบดีของอเมริกาประกาศเลิกผูก US Dollar กับทองคำ หมายความว่า กระดาษที่ชื่อว่า US Dollar ที่สามารถแลกทองคำได้ตอนนี้แลกไม่ได้อีกแล้ว
หลังจากเหตุการณ์ Nixon Shock อเมริกาสามารถที่จะพิมพ์เงินออกมาเท่าไหร่ก็ได้ ความหมายของคำว่าเงินก็ได้เปลี่ยนไปจาก “Money” เป็น “Currency” เงินที่เราใช้ทุกวันนี้เรียกว่า Fiat Currency คือ เงินที่ไม่มีมูลค่าในตัวมันเอง เมื่อเปรียบเทียบกับ Money ที่มูลค่าที่แท้จริงเกิดจากสิ่งของหรือบริการที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน(ซึ่งก่อนหน้านี้ก็คือทองคำ) แต่มูลค่าของ Fiat Currency นั้นมาจากความต้องการของตลาด เมื่อวันนึงไม่มีใคร ต้องการมันก็จะเป็นแค่กระดาษแผ่นนึงหรือเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Hyperinflation
ที่ทองคำราคาขึ้นมานั่นก็เพราะว่าทองคำนั้นมีมูลค่าในตัวมันเองไม่ว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดหรือค่าเงินจะเสื่อมก็ตาม ทองคำยังคงคุณค่าที่แท้จริงของมันอยู่ ซึ่งตอนเกิดวิฤตหนักๆเนี่ยทองคำจะเป็นสินค้าที่ถูกควบคุม อย่าง อเมริกาช่วงที่เกิดวิกฤตหนักๆทองถูกห้ามนำออกนอกประเทศหรือกรีซเองก็ถึงขนาดที่ไปซื้อ iMac แทนทองคำเพราะคิดว่า iMac นั้นมีค่ามากกว่าเงินของเขาเสียอีก
สิ่งที่ทำให้ทองคำมีคุณค่าเนี่ยก็ชัดเจนเลยว่ามันเป็นสิ่งที่คนมีความมั่นใจร่วมกัน ซึ่งเป็นความมั่นใจทั้งโลกมานานหลายร้อยปี(นับจากช่วง Gold Standard) ซึ่งในปัจจุบันทองก็ยังได้รับความมั่นใจและความเชื่อถืออยู่ นอกจากนี้ทองยังคงมีความต้องการในตลาดเครื่องประดับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และยานพาหนะอวกาศอีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นบทความนี้ไม่ได้เป็นการเชียร์ให้คุณซื้อทองคำแต่อย่างไร ใครที่สนใจจะลงทุนขอให้ตระหนักไว้ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน” นะครับ
ขอขอบคุณพี่คิมนักลงทุน เเละ ผู้ประกอบการในอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของเพจ KIM Property Live ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์แชร์ความรู้ร่วมกับเรา Wizard Library
สำหรับใครที่สนใจด้านการลงทุน สามารถติดตามความรู้ได้ฟรีๆ จากพี่คิมได้ที่ช่องทาง Facebook และ YouTube
Facebook - KIM Property Live
เรายังมีคอนเทนต์แนวนี้อีกมากมาย เช่น สงครามระหว่างมนุษย์กับแบคทีเรีย หรือ Harvard Business Case Study ที่คุณอาจยังไม่เคยเห็นจากที่ไหนมาก่อน ถ้าคุณสงสัยเรื่องยากแต่อยากเข้าใจง่าย เราคือคำตอบของคำถามคุณ อย่าลืมติดตาม Wizard Library
สามารถดูคลิปเพิ่มเติมเรื่องทองคำและการเงินโลกได้ที่
โฆษณา