3 ก.ย. 2020 เวลา 14:20 • ธุรกิจ
Leadership Mindsets for the New Economy
บริษัทที่ประสบความสำเร็จ มักมีความกระตือรือร้นในการส่งเสริมชุมชนผู้นำให้มี ความคิดใหม่ๆ อยู่เสมอๆ
คุณสามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรของคุณได้หรือไม่? อาจเป็นไปได้ ถ้าคุณ สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่าวัฒนธรรมของคุณคืออะไร หรือถ้าคุณเป็น CEO หรือผู้บริหาร C-suite
แต่ขอให้ผมลองตั้งคำถามใหม่:
คุณสามารถกำหนดรูปแบบและชุดความคิดใหม่สำหรับวิธีการทำงานของทีม
สมาชิกโครงการ หรือส่วนงานที่คุณร่วมมือกันและกับผู้อื่นทั้งภายในและภายนอก
องค์กรของคุณได้หรือไม่?
คนส่วนใหญ่บอกว่าได้
ในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมาผมได้ถามคำถามสองข้อนี้กับผู้จัดการและผู้นำหลายพันคน
จากทั่วโลก รวมถึงในชั้นเรียนสำหรับระดับผู้บริหารที่ MIT Sloan School of
Management สำหรับคำถามแรกมีเพียงไม่กี่คนที่ยกมือขึ้น - แม้ว่าในกลุ่มจะ
ประกอบด้วยผู้นำระดับสูงก็ตาม
แต่เมื่อฉันถามถึงความสามารถของพวกเขาในการกำหนดรูปแบบและชุดความคิด
ใหม่ๆในองค์กรแทบทุกคนรู้สึกว่ามันอยู่ในขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของพวกเขาที่สามารถทำได้
แล้วทำไมเราไม่ท้าทายวัฒนธรรมแบบเดิมๆ ให้ผู้นำรับชุดความคิดใหม่ๆ ที่จะแสดงให้เห็นถึงการมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายในแบบที่จับต้องได้ ที่คนส่วนใหญ่มองว่า
เป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงได้?
ในทางปฏิบัติจะเป็นไปได้อย่างไร? ถ้าสมมติว่าคุณเป็นหัวหน้าแผนกค้าปลีกของ
ธนาคารอายุ 170 ปีที่มีวัฒนธรรมที่ไม่ชอบความเสี่ยง ข้อความต่อไปนี้ อ้างอิงจาก
ตัวอย่างในชีวิตจริงที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการท้าทายชุดความคิดผู้นำของคุณ ในการนำแนวความคิดใหม่มาปรับใช้ในองค์กร:
“เรากำลังสูญเสียธุรกิจให้กับคู่แข่งที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น ลูกค้าของเราคิดว่าเราช้าเกินไป และไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ฉันคิดว่าเราทำได้มากกว่าและดีกว่ามาก แต่ถ้าฉันไม่
บอกคุณให้รู้ นั่นก็เท่ากับว่านี่เป็นเรื่องของฉันคนเดียว แต่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น
เพราะฉันต้องการให้คุณบอกเราในฐานะผู้นำทีมว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อ
เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานของเรา วิธีการทำงานกับลูกค้าของเรา การเพิ่มคุณ
ค่าให้ลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญหลักของดำเนินธุรกิจเรามาเป็นเวลานาน ตอนนี้ถึงเวลาที่เราจะมาทำภารกิจนั้นกันใหม่ มาค้นหาแนวทางใหม่ๆที่สร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหา
ความท้าทายของลูกค้า เราจะปรับเปลี่ยนในทุกแง่มุมของการดำเนินงานค้าปลีก
ของเราด้วยกันในปีนี้ ฉันสัญญาว่าจะไม่มีการโทษกันไปมา หรือแม้กระทั่งจะยอมรับความล้มเหลวที่เกิดจากการลองผิดลองถูกที่อาจได้รับผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
และเราจะมาถอดบทเรียนเพื่อให้เราเข้าใจความสำเร็จและความล้มเหลวได้มากยิ่ง
ขึ้น ฉันต้องการความช่วยเหลือจากคุณ และฉันรู้ว่าเราสามารถทำให้สิ่งนี้ให้เกิดขึ้น
ด้วยกันได้”
คำแถลงนี้แสดงให้เห็นถึงชุดความคิดของผู้นำที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่: ผู้นำที่มี
ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะนำพาชุมชนผู้นำของเขา ให้มีความทุ่มเท จดจ่ออยู่กับเป้าหมายลูกค้า ผสานเครือข่ายรอบด้าน และขับเคลื่อนด้วยความอยากรู้อยาก
เห็น
ในปีที่ผ่านมาผมได้รับเชิญเข้าร่วมในฐานะบรรณาธิการในโครงการวิจัยหัวข้อเรื่อง The Future of Leadership in the Digital Economy ของ MIT Sloan Management Review ร่วมมือกับ Cognizant
เราทำการสำรวจกับกลุ่มผู้จัดการและผู้บริหารมากกว่า 4,000 คนจากกว่า 120 ประเทศ เราทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง C-level อีกหลายสิบคน โดยมีวัตถุประ
สงค์เพื่อทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบนี้รวมถึงวิธีการทำงานที่
เปลี่ยนไป จะมีอิทธิพลต่อความหมายของการเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่อย่างไร
หนึ่งในข้อค้นพบที่โดดเด่นที่สุดจากงานศึกษาและวิจัยในครั้งนี้คือทั้งผู้ตอบแบบสำ
รวจและผู้ที่ถูกสัมภาษณ์เชื่อว่าผู้นำของพวกเขาขาดชุดความคิดที่จำเป็นในการทำ
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และวัฒนธรรมที่จำเป็นเพื่อนำพาองค์กรไปสู่
ระบบเศรษฐกิจใหม่ มีเพียง 12% เท่านั้นที่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ผู้นำของพวกเขาเตรียมพร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า
ที่น่าสนใจคือมีผู้ให้สัมภาษณ์เพียงไม่กี่คนที่พูดถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง
วัฒนธรรมในเชิงลึกซึ่งอาจจะด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกับตัวอย่างที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้: การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขนาดใหญ่นั้นถือว่าอยู่เหนือขอบเขตของคนส่วนใหญ่ที่
จะทำอะไรได้
แต่เกือบทั้งหมดเน้นย้ำถึงความสำคัญของชุดความคิดและพฤติกรรมใหม่ๆของผู้นำ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการค้นหาแนวทางที่จะสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถองค์กร
แล้วชุดความคิดใหม่ๆสำหรับผู้นำมีอะไรบ้าง?
ชุดความคิด คือแผนที่ทางจิตที่สะท้อนให้เห็นเส้นทางเดินของความคิด และส่งต่อออกมาเป็นพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นในองค์กร แผนที่เหล่านี้ ทำให้เราได้เห็นว่าผู้คนเลือกจะทำอะไร และจะทำมันอย่างไร
ข้อความสำคัญที่ผู้ตอบแบบสอบถามและผู้ให้สัมภาษณ์เน้นย้ำ คือเรื่องการพาองค์กรให้ขึ้นมานำในเศรษฐกิจดิจิทัลคือเรื่องสำคัญ
และผลการศึกษาครั้งนี้ยังได้พบชุดความคิดที่จำเป็นสำหรับผู้นำที่จะพาองค์กรขึ้นมานำในเศรษฐกิจดิจิทัลอยู่ด้วยกัน 4 ชุดความคิดด้วยกัน ได้แก่ชุดความคิดของ นัก
ผลิต นักลงทุน นักผสาน และนักสำรวจ
1. นักผลิต ชุดความคิดของนักผลิต เป็นการผสมผสานความหลงใหลในการสร้าง
คุณค่าให้ลูกค้าโดยมุ่งเน้นไปที่การใช้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ การใช้ประโยชน์จาก
ดิจิทัล การตัดสินใจที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ นักผลิตจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่างๆ
เพื่อเร่งสร้างนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้า รวมถึงปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในแบบที่ลูกค้าอยากจะได้มันโดยที่ไม่รู้มาก่อน
Brian Halligan ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ HubSpot อธิบายถึงความคิดของ
นักผลิต
ตอนที่ผมอยู่ในโรงเรียนบริหารธุรกิจที่ MIT Sloan ข้อความสำคัญที่ถูกปลูกฝังกัน
มาคือผลิตภัณฑ์ของคุณต้องดีกว่าคู่แข่ง 10 เท่า นั่นก็ฟังดูสมเหตุสมผลแล้ว แต่วันนี้ข้อความสำคัญใหม่ คือจะทำอย่างไรให้ประสบการณ์ลูกค้า ของลูกค้าดีขึ้น 10 เท่า
ดังนั้นบริษัทต่างๆจึงจำเป็นต้องตรวจสอบในทุกๆรอยต่อของการดำเนินการ โดย
เฉพาะส่วนที่สัมผัสกับประสบการณ์ของลูกค้าโดยตรง เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถ
กำหนดวิธีการดำเนินการเพื่อเติมเต็มประสบการณ์ในอันจะนำมาให้ลูกค้าอยู่กับเราอย่างมีความสุข
2. นักลงทุน ผู้นำที่มีชุดความคิดของนักลงทุน จะดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของ
องค์กร และเป็นอะไรที่เกินกว่าเรื่องการเพิ่มผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น พวกเขาทุ่มเทเพื่อการเติบโต ซึ่งหมายถึงตัวเลขผลกำไรและความยั่งยืนขององค์กร พวกเขาให้
ความสำคัญกับชุมชนที่พวกเขาดำเนินงาน รวมถึงสวัสดิการต่างๆที่จำเป็น และการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง พวกเขาลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าของลูกค้าแทนที่จะมองว่าพวกเขาเป็นเพียงแหล่งรายได้เท่านั้น
Susan Sobbott อดีตซีอีโอและประธานของ American Express Global
Commercial Services กล่าวว่าการมีชุดความคิดของนักลงทุนหมายถึงอะไร
สำหรับเธอ:
“ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฉันต้องดิ้นรน เมื่อต้องอธิบายแนวคิดเรื่องการทำให้วัตถุประสงค์
หลักการ และผลกำไรมีความสอดคล้องกันตามเป้าหมายขององค์กร ฉันพบว่าเมื่อ
พูดถึงการเพิ่มอัตราเติบโต 15% หรือลดต้นทุนลง 20% พูดตามตรงนะ ฉันไม่ได้เกิดแรงบันดาลใจจากข้อมูลตัวเลขเหล่านั้นเท่าไหร่เลย ดังนั้นฉันจึงเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับ
วิธีที่เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของลูกค้านับล้าน และวิธีที่ลูกค้าเหล่านั้น
สามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนและเศรษฐกิจของพวกเขาผ่านการทำงานร่วมกันเป็นทีม มันเหมือนเป็นการเปิดสวิตช์แรงบันดาลใจ ทำให้เราเห็นแรงจูงใจและการทำงาน
เป็นทีมเติบโตขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเรามีจุดมุ่งหมายที่สูงกว่าเรื่องตัวเลข และนั่น
ทำให้เราได้ทั้งตัวเลขและความภาคภูมิใจต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า
การพูดถึงเพียงเป้าหมายแบบเดิมๆ "
3. นักผสาน ผู้นำที่มีชุดความคิดของนักผสาน เข้าใจดีว่าสัมพันธภาพที่ยอดเยี่ยม
และเครือข่ายที่เชี่ยวชาญ เป็นเสมือนสกุลเงินใหม่ที่ขับเคลื่อนประสิทธิผลขององค์กรในเศรษฐกิจใหม่ นักผสานยึดสิ่งนี้เป็นวิถีหลักในการดำเนินการ พวกเขารวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายจากทั้งภายในบริษัทและหุ้นส่วนต่างๆในระบบนิเวศ
ทางธุรกิจ อีกทั้งผู้ผสานยังเข้าใจถึงเงื่อนไขทางธุรกิจที่อยู่บนความต้องการที่รวดเร็วแบบดิจิทัล ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการสร้างพลังของการสร้างความรู้สึกร่วมของชุมชน
และการเป็นเจ้าของร่วมกัน
Lori Beer ซึ่งเป็น CIO ระดับโลกของ JPMorgan Chase อธิบายว่าเหตุใดการมีความคิดของนักผสานจึงมีความสำคัญ:
“ รูปแบบธุรกิจที่เป็นอยู่ในวันนี้ ถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลมากขึ้น องค์กรสามารถดำ
เนินกิจกรรมได้อย่างหลากหลายผ่านพลังของอัลกอริทึมและระบบเสมือนจริง
แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นเครื่องพิสูจน์ที่จะทำให้องค์กรมีความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
มากไปกว่าประสิทธิภาพของความสัมพันธ์ที่เราสร้างขึ้น”
4. นักสำรวจ ผู้นำที่มีชุดความคิดแบบนักสำรวจจะมีความอยากรู้อยากเห็นและ
มีความคิดสร้างสรรค์ และชุดความคิดนี้ทำงานได้ดีท่ามกลางความคลุมเครือ
ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งกับช่วงเวลาในปัจจุบัน พวกเขาเสนอตัวเข้าร่วมในการทดลอง
ต่างๆอย่างต่อเนื่อง และเรียนรู้ผ่านการการฟังเสียงที่หลากหลาย
ส่งผลให้พฤติกรรมบ่งชี้ที่ชัดเจนนี้ได้แก่ การสนับสนุนให้เกิดความเสี่ยงและ
แม้กระทั่งความล้มเหลว การเปิดรับคำแนะนำ การส่งเสริมให้มีการถกเถียงในข้อมูลต่างๆ และความอยากรู้อยากเห็นอย่างลึกซึ้งถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการสร้าง
สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการแข่งขันให้ดียิ่งขึ้น
Dan Shapero รองประธานฝ่ายโซลูชันระดับโลกของ LinkedIn อธิบายว่าการมี
ความคิดของนักสำรวจมีความหมายต่อเขาอย่างไร:
“ ฉันไม่รู้ว่าความอยากรู้อยากเห็นมาจากไหน แต่ถ้าคุณเอามันมาใส่ในขวดได้ ฉันก็จะซื้อมัน เพราะมันมีค่ามาก การที่จะมีคนในทีมของคุณมีความพยายามอยากจะรู้
อยากจะเข้าใจโลกรอบตัวให้ดีขึ้น ท่ามกลางสิ่งต่างๆรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ”
ดังนั้นในระบบเศรษฐกิจใหม่ ผู้นำที่กำหนดรูปแบบชุดความคิดแบบใหม่ๆเหล่านี้ ได้ส่งสัญญาณให้เห็นว่าพวกเขาปรารถนาที่จะท้าทาย และทบทวนความมีประสิทธิผลของพวกเขาควรเป็นอย่างไร ลดการยึดติดกับภาพลักษณ์ของผู้นำในแบบวีรบุรุษ แล้วหันกลับมาสร้างชุมชนผู้นำที่น่าทึ่งในทุกๆระดับขององค์กร ซึ่งเป็นเส้นทางที่แข็งแกร่งที่สุดในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
เกี่ยวกับผู้แต่ง
Douglas A. Ready is a senior lecturer in organizational effectiveness at the MIT Sloan School of Management, founder and CEO of the International Consortium for Executive Development Research, and MIT SMR guest editor.
โฆษณา