24 ก.ย. 2020 เวลา 18:33 • ไอที & แก็ดเจ็ต
Pager หรือ วิทยุติดตามตัว เป็นเครื่องมือทางโทรคมนาคมส่วนบุคคลแบบง่าย สำหรับการส่งข้อความสั้น ๆ โดยในยุคแรกจะเป็น Pager แบบทางเดียว (One Way) รับข้อความได้ทางเดียว และมีการจำกัดจำนวนข้อความที่ส่ง มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากสามารถใส่ในกระเป๋าเสื้อได้ มีตัวรับสัญญาณแบบไร้สายระยะสั้นขนาดเล็ก เมื่อตัวเครื่องจับข้อความจะมีเสียงบี๊บมาด้วย (นี่คือสาเหตุที่อุปกรณ์ดังกล่าวเรียกอีกอย่างว่าบี๊บ) แสดงเลขหมายโทรศัพท์เพื่อให้ติดต่อกลับจากบุคคลที่ส่งข้อความ และอีกวิธีหนึ่งคือสามารถแสดงรหัสเพื่อระบุว่าฝ่ายใดบ้างที่ร้องขอให้โทรกลับ Pager แบบทางเดียวบางรุ่นสามารถแสดงข้อความสั้น ๆ ได้
ส่วน Pager แบบ 2 ทาง (Two Way) คือสามารถรับข้อความสั้นได้เหมือนแบบแรก แต่สามารถรับข้อความได้มากกว่า โดยการส่งข้อความนั้นไม่สามารถที่จะส่งได้ในทันทีจากตัวเครื่อง ต้องโทรศัพท์ไปยัง Operator ของเครือข่าย และแจ้งให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อความที่ต้องการเพื่อส่งต่อไปยัง Pager ของผู้รับให้อีกทอดหนึ่ง โดยการแจ้งหมายเลขประจำเครื่องของผู้รับ
ในปัจจุบัน Pager โดยมากใช้สำหรับการสนับสนุนการส่งข้อความในยามวิกฤต เนื่องจากความน่าเชื่อถือและสามารถส่งข้อความถึงอุปกรณ์เป็นกลุ่มได้ ไม่เหมือนกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่ในยามฉุกเฉินจะประสบปัญหาการใช้เครือข่ายเกินพิกัดจนใช้การไม่ได้ เช่น ในเหตุวินาศกรรม 911 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือ เหตุการณ์พายุเฮอร์ริเคน Katrina ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ Pager ยังคงได้รับความนิยมในหมู่ของเจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ดูแลระบบบริการสารสนเทศหรืออยู่ในระบบ mobile computer
Pager หรือ วิทยุติดตามตัว เริ่มใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในช่วงปี พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2544 นำเข้าโดยบริษัท Pacific โดยบริษัท Telesiz เป็นผู้ให้บริการรายแรก ภายใต้ ชื่อ “Pack Link” ซึ่งได้รับสัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเดิม) และได้ให้สัมปทานแก่เอกชนรายอื่น เริ่มจาก “Phonlink” ของกลุ่มชินคอร์ป ตามมาด้วย “Hutchison Page Phone” ซึ่งเป็นการร่วม ทุนระหว่างHutchison Whampao และ Loxley ที่เปิดให้บริการในเวลาไล่เลี่ยกัน หลังจากนั้นมีกลุ่ม Lenzo และกลุ่ม Yukom เปิดให้บริการตามมา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา