4 ก.ย. 2020 เวลา 23:30 • หนังสือ
สรุป 8 นิสัยหัวหน้าที่ใครก็อยากทำงานด้วย
ไอเดียจากหนังสือ SUPER BOSS
อยากทำงานกับหัวหน้าแบบนี้จัง
สรุปโดย: Sensei Pae
เข้างานเพราะบริษัทและเนื้องาน
ลาออกจากงานเพราะหัวหน้า
เคมีไม่ตรงกับเรา
หรือเราก็ทำงานเก่งอยู่นะ
แต่ทำไมบริหารงานไม่เห็น
เหมือนง่ายทำเองเลย
เคยเจอปัญหาแบบนี้ไหมครับ
มาเรียนรู้ไอเดียการเป็นหัวหน้าที่ดี
ที่ผมกลั่นมาจากหนังสือดีๆอย่าง
Super Boss อยากทำงานกับหัวหน้าแบบนี้จัง
กันครับ
เคยรู้สึกไม่อยากไปทำงานที่ตัวเองรัก
เพราะมีปัญหากับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานบ้างไหมครับ
ถ้าวันๆหนึ่งเราอยู่กับเพื่อนร่วมงานมากกว่าอยู่กับคนที่บ้านเสียอีก
คงไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการทำงานแบบไม่มีความสุขอีกแล้ว
คุณ ฮิโรโกะ ผู้เป็นนักจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลบอกไว้ชัดเจนว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีผลต่อสุขภาพจิตโดยตรง
คนทำงานที่มีปัญหาสุขภาพจิตบางรายต้องได้รับการบำบัด
ด้วยการพูดคุยราว 50 นาทีต่อครั้ง จำนวน 12-16 ครั้งด้วยกัน
1
การป้องกันจึงดีกว่ารักษามากนัก
และหัวหน้าก็คือตัวแปรหลักในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน
เพราะหัวหน้าคือคนที่ลูกน้อง(หรือคนส่วนใหญ่)ต้องคุยด้วย
แม้ว่าจะอยากหรือไม่อยากก็ตาม
1
มาเรียนรู้วิธีเป็นหัวหน้าที่ดีกันฮะ
เพื่อให้จดจำง่ายและเอาไปใช้ได้จริง
ผมจึงนำความรู้ที่ได้จากหนังสือเล่มนี้
มาเรียบเรียงใหม่ให้เข้ากับคำว่า
1
SUPER BOSS
8 นิสัยของหัวหน้าที่ลูกน้องอยากทำงานด้วย
แบ่งได้ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษดังนี้ครับ
S : Speech Impactful
U : Understand people
P : Pay Attention
E : Ears > Mouth
R : Respect people
B : Build Environment
O : Optimize work & life
SS : Set Standard
2
Speak impactful
หัวหน้าทุกคนมีพลังที่ได้รับมอบหมายผ่านหน้าที่คือ
การพูดเพื่อสั่งการ
จริงที่หัวหน้าคนไหนก็สามารถพูดได้สั่งได้
แต่พูดแล้วน้องรัก
ต้องพูดแล้ว ชีวิตของน้องดีขึ้น
1
หนังสือเล่มนี้ให้ไอเดียของการพูดให้เก่งไว้หลายข้อ
อันที่ผมรู้สึกว่าเข้ากับคนไทยคือ
เน้นปัจจุบัน โฟกัสกับปัญหาในตอนนี้
ไม่ย้อนเอาความผิดพลาดในอดีต หรือ ความกังวลในอนาคต
มามีผลต่อการตัดสินใจ
2. แยก คน กับ การกระทำออกให้ชัดเจน
ถ้าน้องพลาด ให้โฟกัสที่เหตุผลที่น้องทำพลาด
เช่น มาสาย อาจจะเกิดจากการวางแผนการพักผ่อน หรือ เดินทางไม่ดี
ไม่ได้เป็นเพราะน้องเป็นคนไม่ดี การทำให้คนเป็นคนดียากกว่า
การทำให้น้องวางแผนเดินทางได้ดีขึ้น
3. จังหวะเหมาะสม
เลือกได้เก่งว่าตอนไหนควรให้ ฟีดแบก
ตอนไหนไม่ควร
และสุดท้ายคือ
ตรวจสอบความเข้าใจทั้งสองฝ่าย
รู้ว่าน้องคาดหวังอะไรจากเรา
และ Make sure ว่าน้องเข้าใจสิ่งที่เราคาดหวังไหม
ลองฝึกกันดูฮะ
Understand people
ถ้าเราเคยถูกโกรธทั้งๆที่คิดว่าตัวเองไม่ได้ทำผิด
ถ้าเราเคยโดนหัวเราะที่ใส่เสื้อกับกางเกงสีไม่เข้าพวกเพราะเขาตั้งใจใส่มาเอาใจแฟน
ถ้าเราเคยโดนตำหนิเรื่องอารมณ์เสียทั้งที่เราอดทนกลิ่นทุเรียนโต๊ะข้างๆ
การเข้าใจคนอื่นๆว่าเขาไม่เหมือนเราก็ยิ่งเป็นสิ่งที่หัวหน้าควรมี
คุณฮิโรโกะ ให้ไอเดียกับการรับมือลูกน้องหลายๆประเภทไว้
คนที่ชอบตอบโต้หัวหน้าอย่างรุนแรง
เป็นไปได้ว่า เขาอาจจะเคยได้รับการปฏิบัติ
จากคนที่มีอำนาจเหนือกว่าอย่างไม่เป็นธรรม
ให้เราเลี่ยงคำพูดรุนแรงที่ยิ่งทำให้เขาอคติ
กับหัวหน้ามากยิ่งขึ้น
ถ้าเราเจอลูกน้องสมาธิสั้น
เราก็ควรเข้าใจว่าเขาอาจจะไวต่อสิ่งเร้าต่างๆมากกว่าคนทั่วๆไป
ให้จดบันทึกสิ่งที่เราต้องการจากเขาเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน
1
ถ้าเจอลูกน้องที่หงุดหงิดง่าย
ก็เป็นไปได้ว่าในอดีตเขาอาจจะมีเหตุการณ์
ที่ทำให้เขารู้สึกแย่กับสถานการณ์บางอย่าง
ซึ่งบังเอิญว่ามันคล้ายกับในที่ทำงาน
ก็พยายามเข้าใจและไม่ไปตัดสินเขานะฮะ
ไม่ง่ายแต่ถ้าทำได้
เราก็จะเป็นหัวหน้าที่ลูกน้องรักมากขึ้น
Pay attention
หนึ่งใน โรคที่คุณหมอฮิโรโก เซ็นบ่อยที่สุดในใบรับรองแพทย์
คือ โรคซึมเศร้า
อาการของโรคซึมเศร้าในยุคสมัยใหม่นั้นอาจจะต่างไปจากอดีตสักเล็กน้อย
โรคซึ่มเศร้าส่วนใหญ่(ในสังคมญี่ปุ่น) คือ ภาวการณ์ปรับตัวผิดปกติ
หรือความอ่อนไหวต่อการกระทบเทือนต่างๆ (ภาษากายหรือ อวัจนะภาษา)
โรคซึมเศร้าเป็นแล้วทรมาน แต่รักษาหายได้
ในฐานะหัวหน้าควร รู้จัก เข้าใจ และให้การสนับสนุนลูกน้องที่ป่วยดังนี้
รู้จัก
รู้ต้นเหตุของการเป็นโรคซึมเศร้า และเข้าใจกฎหมายคุ้มครอง
เข้าใจ
ว่าไม่ควรตัดสินและพูดจาไม่ดีอย่างเช่น คนอื่นๆก็ทำงานหนักเหมือนๆคุณนะ
แต่ควรสัมภาษณ์ตั้งใจฟัง โดยคิดว่าเป็นหน้าที่อีกอย่างของตัวเอง
สนับสนุน
พนักงานที่กลับมาทำงานหลังเป็นโรคซึมเศร้านั้นต้องการคนที่เข้าใจ
ในการปรับสภาพจิตใจในที่ทำงาน ควรหาคนที่เคมีเข้ากันมาดูแล
ใส่ใจทั้งเรื่องงาน และ เรื่องความสุขในการทำงานของลูกน้องได้
ยังไงคนก็รักครับ
Ears >> Mouth
พวกเราคงเคยได้ยิน คำสอนว่า
เรามีสองหูมากกว่าปากฉันใด
คนเราก็ควรจะฟังมากกว่าพูดฉันนั้น
หนังสือเล่มนี้แม้จะสอนวิธีพูดไว้เช่นกัน
แต่สิ่งที่คุณฮิโรโกะเน้นไม่แพ้กันคือ
หัวหน้าที่ดีต้องฟังให้มากกว่าพูด
การฟังที่ดีที่คุณหมอแนะนำมีอยู่ 4 อย่างที่หัวหน้าคนไทยน่าจะเอาไปใช้ได้
ฟังอย่างเข้าใจ ด้วยการฟังอย่างตั้งใจ
ฟังอย่างไม่ตัดสิน หรือมีธงในใจอยู่แล้ว
ฟังเพื่อให้น้องได้รู้สึกว่ามีคนรับฟัง โดยที่อาจจะไม่ได้ต้องแก้ปัญหาได้เสมอไป
ฟังโดยใส่ใจความ(รู้สึก)ปลอดภัยของผู้พูด
ส่วนตัวก่อนที่จะได้เรียนหลักสูตรเกี่ยวกับการโค้ช
ผมเป็นหัวหน้าที่ยุ่งมากๆและพูดมากกว่าฟัง
แต่หลังจากที่ได้เรียนรู้ศาสตร์การฟัง และ
เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง จากฟังไปพิมพ์คอมพิวเตอร์ไป
เป็นปิดจอแล้วตั้งใจฟัง แล้ว
ผมก็พบว่าน้องๆทำงานได้ดีมีความสุขเมื่อการร่วมงานกับเรามากขึ้น
ไม่ต้องเชื่อผมนะ อยากให้ลองดูฮะ
ปิดจอคอม เลิกพิมพ์ไลน์แล้วตั้งใจฟังให้ดี
เพียงเท่านี้เองครับ ^^
R : Respect
สิ่งที่หนังสือเล่มนี้เตือนสติผมคือ
หัวหน้าลูกน้องเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์อุปโลกน์ขึ้นมา
แท้จริงแล้วเราเท่าเทียมกันที่ความเป็นมนุษย์
หัวหน้าควรเคารพพื้นที่คนอื่น
หัวหน้าไม่ใช่ผู้ตัดสินและไม่ควรยัดเยียดความคิดตัวเองให้คนอื่น
ยอมรับและเข้าใจการตอบสนองของเพื่อนร่วมงานโดยเท่าเทียม
งาน กับเรื่องส่วนตัว แม้จะแยกกันชัดเจนไม่ได้
แต่ถ้าหัวหน้าคนไหนที่เข้าใจ ไม่ได้เอาแต่งานเป็นตัวตั้ง
ผมรับรองว่า ลูกน้อง จะรักคุณครับ
ไม่ใช่แค่ในฐานะหัวหน้า
แต่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
Build Environment
ครั้งหนึ่งผมได้รับเกียรติทำงานรับใช้ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
นายแพทย์ วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์
แนวคิดที่ผมได้รับจากท่านอันหนึ่งที่ตรงกับหนังสือเล่มนี้เลยคือ
หัวหน้าที่ดีต้องช่วยให้เมล็ดพันธ์ดี
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ผู้อำนวยการสอนผมกับเซนเซเล็กว่า
เราต้องเชื่อก่อนว่าทุกคนมีศักยภาพ
เหมือนเมล็ดพันธ์ชั้นดี
หน้าที่ของผู้บริหารคือ สร้างสภาพแวดล้อม
ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ๋นั้น
พูดเป็นภาษาของผมคือ
ขาดแรงจูงใจ ให้ใส่ปุ๋ย
ขาดความสุขใจ ให้หาเพิงหาร่มมาบัง
ขาดความเชื่อมั่น ให้ปักไม้ค้ำ ทำรั้ว
ขาดความรู้ ให้หยอดน้ำ พรวนดิน
2
ด้วยแนวคิดแบบนี้ท่านสามารถ
นำโรงพยาบาลระยองที่ท่านเคยดูแล
ให้กลายเป็นโรงพยาบาลตัวอย่าง
ที่หลายคนต้องไปดูงาน
และก็กำลังไปได้ที่องค์การเภสัชกรรมเช่นกัน
Optimize work & life
ครั้งหนึ่ง ผมมีงานด่วนที่ต้องบินไปที่ญี่ปุ่นกะทันหัน 1 สัปดาห์
โดยที่ก่อนหน้านั้นผมก็ไปอยู่มาเป็นเดือนแล้ว
ผมต้องสละเวลาส่วนตัวไปทำงานทั้งๆที่ลูกสาวยัง
ไม่ครบขวบดี (ซึ่งหัวหน้าก็ขอบคุณและเข้าใจในความเสียสละนี้)
ปรากฏว่างานรอบนั้นไม่ราบรื่นเท่าไหร่
ทีมงานที่ญี่ปุ่นเรียกร้องให้ผมอยู่ต่อ
หัวหน้าของผมเองซึ่งจริงๆก็ย้ายมาจากที่นั่น
และคนที่คุยด้วยก็เป็นอดีตลูกน้องเก่าของเขา
แต่เขาเลือกที่จะหักดิบบอกว่าหัวเด็ดตีนขาด
ยังไง แป๊ะคุงก็ต้องกลับไทย และญี่ปุ่นต้องช่วยจัดการเรื่องนี้
ไม่ต้องบอกเลยว่า หัวหน้าท่านนี้ได้ใจผมไปแค่ไหน
หนังสือเล่มนี้ก็บอกเช่นนั้นเหมือนกัน
ถ้าเรามีคนที่เรารักอยู่ที่บ้าน
อยากมีเวลาคุณภาพกับครอบครัว
อยากพาพ่อแม่ไปเที่ยวหรือไปหาหมอบ้าง
ลูกน้องเราก็เช่นกันครับ^^
Set Standard
McDonald ไม่ใช่ร้านขายแฮมเบอเกอร์ที่อร่อยที่สุดในโลก
แต่ที่พวกเขาประสบความสำเร็จเพราะ เขาสามารถทำให้
พนักงานไม่ว่าจะเป็นชาวไทย ญี่ปุ่น หรือ อินเดีย
สามารถทำ Big Mc ได้รสชาติใกล้เคียงกันในเวลาผลิตที่เท่าๆกัน
หน้าที่ของหัวหน้าที่ดีที่หนังสือเล่มนี้กล่าวไว้
และผมเห็นด้วยมากๆคือ หัวหน้าต้องมีไว้ให้ลูกน้อง ทำงานง่าย
(ไม่ได้บอกว่าสบายนะ งานท้าทายก็ต้องมี)
คำว่าทำงานง่ายคือ สร้าง หรือ ร่วมกันช่วยให้น้องสร้าง
กระบวนการทำงานที่ไม่ว่าใครมาทำต่อก็ได้ผลลัพธ์ดีๆเช่นกัน
เหมือนที่ เซนเซเล็กชอบพูดว่า
Good process lead to good result
กระบวนการที่ยอดเยี่ยมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม
โฆษณา