4 ก.ย. 2020 เวลา 13:57 • สิ่งแวดล้อม
2. Waste to Energy อย่างที่เราทราบกันดีว่า การเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน หรือ Waste to Energy นั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีจุดเด่นจุดด้อยในการจัดการที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการลงทุนเพื่อสร้างระบบรองรับ สำหรับเทคโนโลยีในการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานนั้นที่พบเห็นในประเทศไทยก็เช่น
• เทคโนโลยีหมักแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) : เป็นการนำของเสียมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศเพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ประเภทแป้ง น้ำาลและเซลลูโลสซึ่งเป็นองค์ประกอบในของเสีย เพื่อให้เป็นเอทานอลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงเหลวหรือเกิดเป็นก๊าซชีวภาพ (biogas) ที่มีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ โดยก๊าซมีเทนสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า
• กระบวนการอัดแท่ง (Densifcation) : เป็นกระบวนการทางกายภาพของการแปรรูปของเสียให้เป็นเชื้อเพลิง โดยเปลี่ยนวัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำให้เป็นวัสดุที่มีความหนาแน่นสูงและช่วยลดความชื้นในของเสีย ขณะเดียวกันก็ยังสามารถปรับปรุงขนาดและรูปร่างของของเสียให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่จะนำไปใช้งานด้วย กระบวนการอัดแท่งสามารถแปรรูปของเสียให้เป็นเชื้อเพลิงได้ในหลายรูปแบบ เช่น อัดเป็นเม็ดหรือแท่งเล็ก ๆ (pelleting) อัดเป็นก้อนรูปลูกบาศก์ (cubing) และอัดเป็นแท่งฟืน (extruded log) เป็นต้น
• กระบวนการความร้อน (Thermal Process) : ซึ่งมีหลายแบบเช่น ระบบเตาแบบตะกรับ ระบบเตาแบบใช้ตัวกลางนำความร้อน ระบบเตาแบบใช้แก๊สฟิเคชั่น และกระบวนการเผาแบบไร้ออกซิเจน หรือ pyrolysis ซึ่งให้ความร้อนสูง (อุณหภูมิ 500–600 องศาเซลเซียส) ในสภาพไร้ออกซิเจน เพื่อทำลายพันธะทางเคมีของโมเลกุล ได้เป็นผลิตภัณฑ์จำพวกของเหลวและก๊าซต่าง ๆ
ทั้งหมด คือ แนวทางในการกำจัดขยะเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการเลือกแนวทางที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับหลายๆ ปัจจัยของพื้นที่จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดแล้วยังช่วยลดค่าใช้งานในเรื่องการสร้างระบบขึ้นมารองรับด้วย
โฆษณา