6 ก.ย. 2020 เวลา 13:13 • สุขภาพ
โรคกลัวความรัก (Philophobia) คืออะไร?
Philophobia คือ พยายามจะหนีความรู้สึกรัก หรือไม่อยากเข้าใกล้ความรู้สึกพิเศษกับใครอย่างจริงจังเลยสักคน และแม้จะเกิดความรู้สึกพิเศษกับใครขึ้นมาบ้าง แต่สุดท้ายแล้วก็มักจะไม่กล้าเปิดใจให้กับความรัก เนื่องจากเหตุผลอะไรบางอย่าง หรือเรียกได้ว่า “โรคกลัวความรัก” นั่นเอง
#สาระจี๊ดจี๊ด
Philophobia
Philo เป็นคำที่มาจากภาษากรีก แปลว่า ความรัก
Philophobia เลยแปลว่า "โรคกลัวความรัก"
Philophobia
#สาระจี๊ดจี๊ด
Philophobia หรือโรคกลัวความรัก เป็นโรคชนิดหนึ่งในทางจิตเวช แต่ก็ไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อผู้คนรอบข้าง แต่ถ้ายังคงเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะกลายเป็นคนเก็บตัว ไม่กล้าเผชิญหน้ากับผู้คน หลีกหนีจากสังคม อยู่ในโลกแคบ ๆ ที่มีแค่ตัวเอง ไร้สีสัน สุดท้ายอาจจะเครียดและกดดันจนซึมเศร้าส่งผลต่อสุขภาพ
ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ควรยอมรับให้ได้ว่าตัวเองมีอาการกลัวความรัก ไม่ได้เข้มแข็งอะไร แล้วก็ปรับวิธีคิดและวิธีมองโลก รู้จักยืดหยุ่นบ้าง รู้จักจัดการกับความผิดหวัง ระบายปัญหากับใครสักคน อย่าคิดแง่ร้ายตีตนไปก่อนไข้ อย่าคิดว่ามีความรักแล้วจะมีแต่เรื่องแย่ ๆ ร้าย ๆ เหมือนที่ได้ฟังมาเสมอไป ลองเปิดใจ และก้าวเข้าหาความสุขทีละนิด ๆ
1
หากใครรู้ตัวว่ามีอาการมากควรไปปรึกษากับจิตแพทย์
#สาระจี๊ดจี๊ด
Philophobia หรือโรคกลัวการตกหลุมรักจัดเป็นโรคกลัวชนิดเฉพาะเจาะจง
สาเหตุของโรค Philophobia
1. เหตุการณ์ในแง่ลบที่ฝังใจมาตั้งแต่เด็ก
2. วัฒนธรรม หรือศาสนา ที่มีข้อห้ามเกี่ยวกับความรัก ศาสนาหรือขนบประเพณีของบางแห่ง
3. การล้มเหลวในความรักซ้ำ ๆ
มีรักเมื่อไหร่ก็ต้องเจ็บปวดและเลิกรากันไปทุกที
4. รู้สึกว่าตัวเองหดหู่ เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ
อาการของโรค Philophobia
1. มีความกังวลทุกครั้งที่เริ่มต้นความสัมพันธ์ฉันคนรัก หรือแม้แต่รู้ใจตัวเองว่าเริ่มหวั่นไหว
2. มักจะห้ามใจตัวเองไม่ให้ถลำลึกไปกับความรู้สึกรักชนิดที่จริงจังมากจนเกินไป
3. มักจะหลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนมีคู่ชอบไปเดตกัน
4. ชอบอยู่คนเดียว ดูเหมือนจะรักสันโดษ แต่แท้จริงแล้วเป็นการป้องกันตัวเองไม่ให้เจอกับคนที่หวั่นไหวด้วยต่างหาก
5. ไม่เปิดใจ ไม่เปิดโอกาสให้ใครได้เข้ามาทำให้รัก
6. มักจะประเมินความรู้สึกของคนใกล้ตัวว่าจริงใจ หรือรักตัวเองมากแค่ไหน แล้วจึงค่อยตัดสินใจมอบความรู้สึกในระดับที่เท่าเทียมกันกลับไป
7. เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ หรือโดนรุกจีบ อาจมีอาการทางกายภาพอย่างเหงื่อแตก ร้องไห้ ใจสั่น หัวใจเต้นรัวเร็ว หายใจแรง ชามือ-เท้า อาเจียน หรือเป็นลม
รักษาได้อย่างไรบ้าง?
1. ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy)
นักจิตวิทยาและจิตแพทย์จะเข้ามาทำความเข้าใจกับคนผู้ป่วย ชวนคุยในประเด็นที่คนไข้รู้สึกกลัว หรืออาจมีรูปภาพและคลิปวิดีโอคนรัก การตกหลุมรัก มาประกอบการรักษา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไข้มีทัศนคติที่ดีกับความรักมากขึ้น เป็นการกำจัดความรู้สึกกลัวในเรื่องที่ไม่น่ากลัวที่ค่อนข้างได้ผลดีต่อผู้ป่วย
2. เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Exposure Therapy) นับเป็นอีกวิธีการรักษาที่ได้ผลค่อนข้างมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจะจัดให้ผู้ป่วยเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ หรือให้ดูหนังโรแมนติก ฉากสุดซึ้ง เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยมีแรงต้านทานต่อความกลัวของตัวเองเพิ่มมากขึ้น และลดแรงกดดัน ความวิตกกังวลเมื่อเจอสถานการณ์รัก ๆ ลงไปบ้าง
3. รักษาด้วยยาการรักษาด้วยยาจะเป็นแนวทางเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีความเครียดสูง หรือมีความรู้สึกกังวลทุกครั้งเมื่อเจอกับความกลัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของตัวเองได้ดีขึ้น
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
โฆษณา