Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KTPElectronics
•
ติดตาม
6 ก.ย. 2020 เวลา 17:41 • การศึกษา
ว่าด้วยเรื่องคอมมอนอิมิตเตอร์ กับคอมมอนคอลเลกเตอร์ (Common Emitter VS Common Collector)
ในบรรดาวงจรขยายเสียงระบบ OCL ที่ใช้เอาต์พุตทรานซิสเตอร์คู่แมท (Transistor Matching) นั้นนิยมออกแบบเอาต์พุต 2 รูปแบบ คือ คอมมอนอิมิตเตอร์ (Common Emitter) และคอมมอนคอลเลกเตอร์ (Common Collector) วงจรภาคเอาต์พุตทั้งสองคอมมอนนี้ถูกนำมาใช้อย่างยาวนานในเครื่องขยายเสียงหลายแบรนด์ และก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน
1. คอมมอนอิมิตเตอร์ (Common Emitter)
ภาคขยายที่ใช้เอาต์พุตแบบคอมมอนอิมิตเตอร์ (Common Emitter) ที่ใช้กันได้แก่ วงจรยอดนิยมอย่าง 741 และยังพบได้บ่อยๆ ในเครื่องขยายเสียงของแบรนด์ QSC, Peavey ในบางรุ่น และมีอีกหลายแบรนด์ที่นิยมจัดวงจรเอาต์พุตในลักษณะนี้
ข้อดี คือ วงจรมีอัตราขยายแรงดันสูง จะได้เปรียบเรื่องกำลังขับเพิ่มอีกเล็กน้อยเมื่อเทียบกับคอมมอนคอลเลกเตอร์ (Common Collector) ในกรณีที่แหล่งจ่ายไฟมีค่าเท่ากัน
ข้อเสีย คือ เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ของวงจรค่อนข้างสูง (High Output Impedance) และอินพุตอิมพีแดนซ์ค่อนข้างต่ำ (Low Input Impedance) ทำให้ต้องอาศัยวงจรป้อนกลับที่มีเสถียรภาพสูงและต้องออกแบบวงจรขับที่จ่ายกระแสได้สูง
สุ้มเสียงโดยรวมของภาคเอาต์พุตแบบคอมมอนอิมิตเตอร์ (Common Emitter) จะให้เสียงที่ใส เป็นธรรมชาติดีมาก
2. คอมมอนคอลเลกเตอร์ (Common Collector)
เครื่องขยายในตลาดจำนวนมากจะใช้เอาต์พุตแบบคอมมอนคอลเลกเตอร์ (Common Collector) พบมากในวงจรขยายเสียงเกือบทุกยี่ห้อ
เนื่องจากมันมีข้อดี ก็คือ อินพุตอิมพีแดนซ์สูง (High Input Impedance) และเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำ (Low Input Impedance) จึงเหมาะที่จะออกแบบไว้ขยายกระแสเพื่อขับลำโพง
ข้อเสีย คือ วงจรแบบคอมมอนคอลเลกเตอร์ (Common Collector) ไม่สามารถขยายสัญญาณแรงดันสูงสุดของไฟเลี้ยงวงจร เนื่องจากมันไม่สามารถขยายแรงดันได้ บางวงจรต้องแยกแหล่งจ่ายไฟให้ภาคขยายแรงดัน ให้มีแรงดันสูงกว่าภาคเอาต์พุตเล็กน้อย เพื่อให้วงจรสามารถขยายสัญญาณจนถึงจุดสูงสุดของไฟเลี้ยงวงจรในภาคเอาต์พุตได้
สุ้มเสียงของวงจรขยายที่ภาคเอาต์พุตเป็นแบบคอมมอนคอลเลกเตอร์ (Common Collector) โดยรวมจะให้ความหนักแน่น ทรงพลัง ให้คุณภาพเสียงดี จึงได้รับความนิยมสูง
การจัดวงจรทั้งสองแบบข้างต้นนั้นไม่สามารถสรุปได้ว่าวงจรแบบไหนให้เสียงที่ดีกว่ากัน แต่สามารถใช้ภาคเอาต์พุตทั้งสองลักษณะในการออกแบบวงจรขยายภาคเอาต์พุตได้ แต่เสียงที่ได้จะออกมาดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ และการออกแบบวงจรโดยรวมทุกๆส่วนของเครื่องขยายว่ามีความสมบูรณ์ลงตัวเพียงใด
**อิมพีแดนซ์ (Impedance) คือ ค่าความต้านทานต่อไฟฟ้ากระแสสลับ
เพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ให้มองเป็นตัวต้านทานตัวหนึ่ง
อินพุตอิมพีแดนซ์สูงๆจะดี สัญญาณส่งมาเท่าไหร่ก็จะได้ตกคร่อมที่ขาเข้าเต็มๆ ไม่ไปตกคร่อมที่อื่น เช่น สายส่ง
ส่วนเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ก็ตรงข้ามกัน ถ้ามีค่าสูง สัญญาณก็จะไปตกคร่อมที่ตัวมัน แทนที่จะไปตกคร่อมที่ลำโพง ดังนั้นเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ควรมีค่าต่ำๆ สัญญาณจะได้ไปตกที่ลำโพง
ถ้าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์เป็นศูนย์เมื่อไหร่ สัญญาณจะไปที่ลำโพงเต็ม ๆ ตามอัตราขยาย**
2 บันทึก
3
2
2
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย