7 ก.ย. 2020 เวลา 01:00 • ประวัติศาสตร์
#นายร้อยเอก เอช.มาร์ค เยนเซ่น ชาวเดนมาร์ค ซึ่งเดินทางเข้ามาเป็นครูฝึกตำรวจในเมืองแพร่
ได้ร่วมกับนายตำรวจยศร้อยโทและพลตำรวจอีก ๕๔ นาย
ซึ่งทราบข่าวพวกกบฏเงี้ยวได้จับตัวพระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงประจำเมืองแพร่และนำไปประหารที่บ้านร่องกาศ
ครั้นถึงวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๕ พวกกบฏเงี้ยว ได้เข้าล้อมเมืองลำปาง ข้าราชการที่เป็นคนภาคกลางต่างพาครอบครัวอพยพออกจากตัวเมืองไปหมดสิ้น เพราะทราบดีว่าพวกกบฏเงี้ยวต้องการจะฆ่าข้าราชการคนไทยภาคกลางเท่านั้น
นายร้อยเอกเยนเซ่น ได้อาสาบัญชาการรบได้สังหารพวกเงี้ยวล้มตายเป็นจำนวนมาก
ตัวพะก่าหม่องหัวหน้าพวกกบฏเงี้ยวก็ถูกกระสุนปืนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
หลังจากที่พะกาหม่องถูกยิงเสียชีวิตแล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระทัยที่จะพระราชทานยศนายพันตรีและเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏไทย ชั้นที่ ๓ และเงินรางวัลอีกจำนวน ๑ หมื่นบาทให้แก่นายร้อยเอกเยนเซ่น
แต่เป็นที่น่าเสียใจเมื่อนายร้อยเอกเยนเซ่น ถูกพวกกบฏเงี้ยวลอบสังหารเสียชีวิตที่เมืองพะเยา เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๕ ตรงกับปีที่ ๓๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕
อย่างไรก็ตาม พระองค์ท่านก็ยังได้พระราชทานรางวัลความดีความชอบครั้งนี้ แก่มารดาของนายร้อยเอกเยนเซ่น ซึ่งอยู่ที่ประเทศเดนมาร์ค ปีละ ๓,๐๐๐ บาท ตลอดชีวิตของท่าน
หลุมฝังศพรูปทรงแบบเสาโอเบลิสในสุสานฝรั่งที่เชียงใหม่ จารึกว่า "นายร้อยเอกเย็นเซ็น ชาติเดนมาร์ด อายุ ๒๔ ปี เป็นตำรวจภูธรมณฑลพายัพ ถึงแก่กรรมในเวลาต่อสู้ผู้ร้าย
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.1902 ที่เมืองพะเยา"
ศพของเขายังอยู่ที่จังหวัดพะเยา จึงมีแต่ป้ายจารึกเท่านั้นที่อยู่ที่เชียงใหม่
"ตอนบ่ายขับม้าผ่าน แลเห็น
ที่ตำรวจร้อยเอกเย็น เซ่นม้วย
เพราะไล่รุกเงี้ยวเป็น สามารถ
สนองเดชภูเบศว์ด้วย ชีพครั้งจำเป็น
เย็นเซ่นเดนมาร์คเชื้อ ชาติไฉน
สวามิภักดิ์ตราบบรรลัย ชีพได้
ควรเราที่เป็นไทย จำเยี่ยง
ผิวะเหตุโอกาสไซร้ เกิดแล้วไป่สยอง
พระราชนิพนธ์ในลิลิตพายัพ ของสมเด็จพระยุพราช (ร.๖)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา