8 ก.ย. 2020 เวลา 14:51 • ท่องเที่ยว
ศาลเจ้าพ่อประตูผา
ศาลเจ้าพ่อประตูผา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านอำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้ความนับถือและบูชาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากวีรกรรมสุดกล้าหาญที่ได้เล่ากันมาปากต่อปาก จนเป็นตำนานประจำท้องถิ่นที่น่าตื่นตาตื่นใจ และยังเป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านอีกด้วย
ประวัติความเป็นมา
เจ้าพ่อประตูผาเดิมทีชื่อของท่านคือพญามือเหล็ก ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2251 - 2275 ได้มีชายผู้หนึ่งซึ่งเป็นชาวบ้านต้า ชุมชนหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กับประตูผา ชายผู้นี้ได้เล่าเรียนวิชาอาคมอยู่กับเจ้าอาวาสวัดนายาง จนมีความสามารถใช้แขนเป็นกำบังแทนโล่ห์ได้ ชาวบ้านต่าง ๆ ในหมู่บ้านขนานนามท่านว่า หนานข้อมือเหล็ก ต่อมาท่านได้เป็นทหารเอกของท้าวลิ้นก่าน เจ้าเมืองผู้ครองนครเขลางค์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แคว้นล้านนาไทยกับนครเขลางค์ถูกทัพพม่าโจมตี ท้าวลิ้นก่านมีกำลังน้อยกว่าจึงสู้ไม่ได้ และได้หนีมาตั้งหลักอยู่ที่ดอย ประตูผา และมอบหมายให้ขุนนางทั้งสี่คือ แสนเทพ, แสนหนังสือ, แสนบุญเรือน และจเรน้อย ทำหน้าที่ดูแลบ้านเมืองแทน แต่ขุนนางเหล่านั้นกลับไม่ได้ดูแลบ้านเมืองคอยเฝ้าแต่จะแย่งกันเป็นใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนั้นเจ้าอธิการวัดนายาง
จึงได้เกณฑ์ไพล่พลชาวบ้านออกมาต่อสู้กับพม่าเพื่อกอบกู้เขลางค์นคร แต่ไม่สำเร็จพม่าจึงได้ฆ่าขุนนาง เหลือแต่จเรน้อยที่หนีรอดไปสมทบกับกำลังของ ท้าวลิ้นก่านที่ดอยประตูผา
ทหารพม่าได้ไล่ติดตามมาทัน พญามือเหล็กจึงได้ให้จเรน้อยนำท้าวลิ้นก่านไปหลบอยู่ในถ้ำ ส่วนตนเองถือดาบขวางเส้นทางเอาไว้และได้ต่อสู้กับทหารพม่าจนดาบหัก ในที่สุดพญามือเหล็กได้อ่อนแรงลง จึงเอนกายพิงหน้าผาขณะที่ในมือสองข้างยัง ถือดาบอย่างสง่าและสิ้นใจตายในที่สุด
วีรกรรมความหาญกล้าดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการตั้งศาลเจ้าพ่อประตูผาขึ้น เพื่อระลึกถึงคุณความดีของวีรบุรุษนักรบผู้พลีชีพเพื่อปกป้องบ้านเมืองและ ยังเป็นที่สักการะกราบไหว้ของลูกหลานชาวลำปางและผู้ที่เดินทางผ่านไปมาใน บริเวณนี้ เสียงแตรรถที่วิ่งผ่าน ดังกันทั้งวัน ทางกระทรวงกลาโหม จึงตั้งค่ายทหารเพื่อเป็นอนุสรณ์ ค่ายประตูผา
#Whitechocolatephoto
#แสงแดด
#ศาลเจ้าพ่อประตูผา
จังหวัดลำปาง
Thailand
ศาลเจ้าพ่อประตูผา
เครดิตประวัติ
โฆษณา