9 ก.ย. 2020 เวลา 04:16 • ประวัติศาสตร์
แสงยามเย็นสะท้อนต้นข้าวที่ออกรวงสีทองสายลมพัดต้นข้าวโอนเอนพลิ้วไสวเป็นคลื่นต้นข้าว ยิ่งมองยิ่งเพลินตาเพลินใจ
ข้าวใครๆ ก็รู้ว่าเป็นอาหารหลัก เป็นส่วนหนึ่งของคนไทยที่ไม่สามารถขาดได้ แต่จะมีใครรู้บ้างว่าคนที่ปลูกข้าว มีวัฒนธรรมประเพณีและพิธีกรรมไม่เหมือนกับการปลูกพืชอื่นๆ เป็นพิธีกรรมที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ
ที่น่าสนใจคือทุกภาคของประเทศไทยมีการทำพิธีขอบคุณข้าว หากแต่ในรายละเอียดแตกต่างกันไป ในบางที่เรียกว่า ทำขวัญข้าวบ้าง เรียกขวัญข้าวบ้าง ยังมีเรียกว่ารับขวัญข้าว สู่ขวัญข้าวอีก ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลล้วนแล้วแต่เป็นการขอบคุณเทวดา อารักษ์ หรือผีเสื้อนา ที่ดูและปกปักรักษาให้ข้าวที่ปลูกเจริญงอกงาม
ปัจจุบันวัฒนธรรมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา พิธีกรรมที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นใกล้สูญหายไปตามการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตในสังคม
คนรุ่นใหม่สนใจการทำงานในเมืองมากกว่า ที่จะทำนาปลูกข้าวสืบทอดจากบรรพบุรุษด้วยค่านิยมต่างๆ ในสังคม ประกอบกับระบบทุนนิยมได้เข้ามามีบทบาทในการปลูกข้าว ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรมองว่าระบบทุนนิยมไม่ดี เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนเปลงที่มันต้องเกิดขึ้นเนื่องจากยุคสมัยได้เปลี่ยนไป
ความจริงแล้วหากพิธีกรรมเหล่านี้หายไป ไม่มีอีกแล้ว ถามว่ามีผลกระทบกับพวกเราหรือไม่ ตอบเลยว่าไม่มี
พิธีกรรมเหล่านี้ได้แสดงถึงวัฒนธรรม ความอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ที่สำคัญทำให้เรารู้ว่าเรามีอารยธรรมมาตั้งแต่โบราณกาล
โฆษณา