10 ก.ย. 2020 เวลา 03:56 • ความคิดเห็น
ทำไม? กรุงเทพฯ ไม่ต้องย้าย
ชวนไขปม "กรุงเทพฯ กำลังจะจมแน่แล้วหรือ?" ประเด็นคำถามที่มีมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีผลวิจัยว่ากรุงเทพฯเสี่ยงจมน้ำภายในปี 2050 หรือในอีก 30 ปีข้างหน้า รวมถึงไทยจำเป็นต้องย้ายเมืองหลวงเช่นเดียวกับอินโดนีเซียหรือไม่?
บทความโดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ | คอลัมน์ CLIMATE@RISK
ทำไม? กรุงเทพฯ ไม่ต้องย้าย
"องค์กร Climate Central เผยผลวิจัยใหม่ เมืองใหญ่ที่เสี่ยงจมน้ำภายในปี 2050 หรือในอีก 30 ปีข้างหน้า มีทั้งเซี่ยงไฮ้ โฮจิมินห์ รวมทั้งกรุงเทพฯ ที่จะหายไปใต้ทะเล"
กลายเป็นกระแสข่าวที่สร้างความตื่นตัวอย่างมากบนสื่อโซเชียล และเกิดคำถามต่างๆ ตามมาว่า "กรุงเทพฯ กำลังจะจมแน่แล้วหรือ?"
เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เล่าลือและมีการเตือนๆ กันมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา บางคนถึงกับซื้อที่ดินสร้างบ้านในจังหวัดพื้นที่สูงอย่างนครราชสีมา เพชรบูรณ์ ฯลฯ รอรับสถานการณ์ ขณะที่หลายๆ หน่วยงานวางแผนจะสร้างเขื่อน ทำถนนเพื่อกั้นน้ำทะเลไม่ให้ท่วมเข้ามา แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปในการวางแผนคือ การมองบริบทการจัดการน้ำแบบครบทุกมิติ ทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม แต่ “เราไม่เคยมีความฝันร่วมกัน ไม่เคยพูดออกมาชัดๆ ว่าเราอยากเห็นกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยเป็นอย่างไร เราอยากได้เมืองปริมณฑลทั้งเดลต้าทั้งหมดนี้เป็นอย่างไร”
1
นี่จึงเป็นที่มาของโครงการ "เจ้าพระยาเดลต้า 2040" (Chao Phraya Delta 2040) ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะในมิติทางระบบนิเวศทางสังคม เจ้าพระยาเดลต้าย่อมเชื่อมไปถึงลุ่มน้ำอื่นๆ ทั้งลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำท่าจีน ทั้งหมดจะส่งผลกระทบกันหมดไปจนถึงอ่าวไทย
“การจะบริหารจัดการน้ำ เราจะคุยกันแต่ว่าน้ำทะเลจะขึ้น แล้วเสนอว่าจะต้องทำเขื่อน ทำนั่นทำนี่ โดยมองแต่มิติเดียว แต่ไม่มีการมาฝันร่วมกัน หรือเราต้องการไม่ให้กรุงเทพฯ น้ำท่วม ไม่ต้องการให้ปริมณฑลน้ำท่วม เราพยายามจะสร้างทางผันน้ำลงสู่ทะเล แต่มีใครถามไหมว่าปลาทูจะตายหรือเปล่า เมื่อมีน้ำจืดปริมาณมากไหลลงมาที่ทะเล ระบบนิเวศที่อ่าวไทยจะเป็นอย่างไร”
2
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าประเด็นกรุงเทพฯ จะจมอยู่ใต้ทะเลในอีก 30 ปีข้างหน้าที่ถูกจุดกระแสขึ้น สิ่งที่เร่งปฏิกิริยาให้เกิดดราม่าขึ้นบนสื่อโซเชียลคือ การประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบอร์เนียว ของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย นายโจโก วิโดโด แต่ถ้าพิจารณาไปที่เมืองชายทะเล เช่น มัลดีฟส์ เมียนมา ฟิลิปปินส์
3
"เมืองชายทะเลเหล่านี้ ล้วนมีการพัฒนาเมืองสวนทางกับข่าวที่เกิดขึ้น อย่างกรณีที่ประเทศศรีลังกามีการถมทะเลทำเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ส่วนที่จาการ์ตาพบว่ามีเกาะที่ขยายออกไปจากเมืองหลวง มีการถมทะเลเพื่อสร้างเมืองใหม่ หรืออย่างกรณีเกาะมัลดีฟส์ ซึ่งมีพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่ต่างจากประเทศไทย กลับมีนักลงทุนจากทั่วโลกแห่กันเข้าไปลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาล แล้วทำไมเขาไม่กลัวน้ำท่วม? ฉะนั้นประเด็นเหล่านี้ เราต้องดูให้ชัดว่า มันถูกขยายความออกไปจนกลายเป็นเรื่องเหนือความเป็นจริงหรือไม่?"
2
ถามว่าแล้วกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงที่จะจมอยู่ใต้ทะเลอย่างจาการ์ตาไหม?
เมื่อขยายความเจาะลึกลงไปที่ “ชั้นดิน” "กรุงจาการ์ตามีชั้นดินไม่เหมือนไทย ที่จาการ์ตาดินไม่ดี มีชั้นดินที่หนากว่า แต่อ่อนกว่า ลงเสาเข็มไปอย่างไรก็ทรุด แต่ที่กรุงเทพฯ เราลงเสาเข็มไป 20 กว่าเมตรก็เจอดินแข็งแล้ว จึงไม่ทำให้อาคารเกิดการทรุดตัว นั่นคือประเด็นแรก
1
ประเด็นที่ 2 การสูบน้ำบาดาลมากเกินไปทำให้เกิดการทรุดตัว ข้อมูลจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ซึ่งมีการทำหมุดวัดระดับการทรุดตัวของกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าระดับการทรุดตัวเป็นศูนย์หลายตำแหน่ง เพราะมาตรการจำกัดการใช้น้ำบาดาล รวมถึงการจัดการให้ทุกพื้นที่มีน้ำประปาใช้ทั่วถึง ทำให้ไม่มีการทรุดตัวของพื้นดินเพิ่มอีก โดยเมื่อก่อนที่ทรุดไปแล้วประมาณ 5-100 ซ.ม. เช่น แถวถนนรามคำแหง สุขุมวิท บางจุดที่จะพบว่าฝนตกเมื่อใดจะเกิดน้ำท่วมขังรอการระบาย
1
กรณีของจาการ์ตา “ดินทรุด” เป็นเหตุผลเพียงส่วนเดียว เหตุสำคัญที่นำมาเทียบเคียงกับเจ้าพระยาเดลต้าได้ก็คือ “การกระจายความเสี่ยงของเมือง” เนื่องจากปัจจุบันเมืองที่เป็นที่ทำการรัฐ กับเมืองที่เป็นเศรษฐกิจของประเทศอยู่ด้วยกัน การย้ายเมืองหลวงออกจึงง่ายต่อการบริหารจัดการกว่า ไม่ต้องถูกจำกัดด้วยพื้นที่และสาธารณูปโภคที่ไม่เพียงพอ
1
ส่วนที่ 2 คือแผ่นดินทรุด ซึ่งจาการ์ตาก็ยังเผชิญอยู่แต่ไม่มากตามที่เป็นข่าว แต่ปัญหาหนักคือ “คุณภาพของน้ำ” การที่มีแม่น้ำ 13 สายไหลเข้ามาที่จาการ์ตา แต่เป็นน้ำที่มีคุณภาพต่ำมาก ตามถนนหนทางตลอดจนในชุมชนแออัดล้วนเต็มไปด้วยน้ำเสีย การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการเรื่องของคน ทุกอย่างขมวดเป็นปมใหญ่เหมือนเชือก ยากที่จะแก้ สุดท้ายแล้ว “การย้าย” น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
โฆษณา