11 ก.ย. 2020 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
ยอดหญิงนักวิทย์! ชีวิตหลังห้องแล็บของ 'มารี คูรี' นักเคมีหญิงชื่อก้องของโลก
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
มารี คูรี (Marie Curie) หรือ มาดามคูรี เกิดที่เมืองกรุงวอร์ซอ (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1867 ซึ่งในขณะนั้นโปแลนด์ยังเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือพลเมืองจะต้องพูดอยู่ภายใต้กฎหมายของรัสเซีย รวมถึงการพูดภาษารัสเซียด้วย และไม่แสดงสัญลักษณ์การเป็นคนโปแลนด์ในที่สาธารณะ
เมื่ออายุ 10 ขวบมารีถูกส่งเข้าไปเรียนหนังสือในโรงเรียนที่แสนจะเข้มงวด ซึ่งเธอก็มีผลการเรียนที่ยอดเยี่ยมในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เธอทำงานเป็นติวเตอร์โดยที่ไม่มีใครรู้ก่อนที่จะเข้าวิทยาลัยเสียอีก ชีวิตของมารี คูรีนั้นไม่ง่าย แต่เมื่อเธอได้ย้ายไปอยู่ฝรั่งเศสในช่วงเริ่มต้นการเป็นผู้ใหญ่ ที่นี่เองเธอก็ได้กลายเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์หญิงที่โด่งดังที่สุดของโลก
WIKIPEDIA PD
ในปี ค.ศ. 1903 เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลจากการทำงานทางด้านฟิสิกส์จากการค้นพบธาตุเรเดียม เธอยังได้แบ่งปันเกียรติยศนี้กับ ปิแอร์ คูรี ผู้เป็นสามีและ เฮนรี อ็องรี แบ็กเรล เพื่อนร่วมงาน และแปดปีต่อมา เธอได้รับรางวัลโนเบลอีกครั้งในสาขาเคมีจากการค้นพบประโยชน์จากการใช้ธาตุเรเดียม เธอเป็นคนเดียวที่ได้รับรางวัลโนเบลจากสองสาขาที่แตกต่างกัน และในครั้งนี้เธอได้มีชื่อในผลงานเพียงคนเดียวโดยไม่ต้องแบ่งปันความสำเร็จกับใคร แต่อย่างไรก็ตามเธอก็ยังให้เครดิตกับสามีคนต่อมาในการช่วยเหลืออีกด้วย
WIKIPEDIA PD
ในปีเดียวกันกับที่เธอได้รับรางวัลโนเบล เธอได้เริ่มต้นทำงานที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในกรุงปารีส ในตำแหน่งหัวหน้าแลปฟิสิกส์ที่รับหน้าที่ต่อจากปิแอร์ คูรีที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า หลังจากที่ปิแอร์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1906 มารีได้ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์ทั่วไปของคณะวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอน เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ โดยในขณะนั้นผู้หญิงส่วนใหญ่ในยุโรปยังทำงานเป็นแรงงานในฟาร์ม ในโรงงาน เป็นพยาบาลหรือสอนหนังสือในโรงเรียนประถม ซึ่งถือว่าเป็นเธอประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเป็นอย่างมาก
WIKIPEDIA CC MBZT
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ทั้งปิแอร์และมารี คูรีต้องเสียสละชีวิตในการศึกษาวิจัยแร่ธาตุกัมมันตรังสีซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพเพราะนักวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นยังไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายของแร่ธาตุเหล่านี้ ในช่วงสองทศวรรษสุดท้ายของชีวิตเธอต้องทรมานกับผลข้างเคียงจากการทำงาน เธอเกือบจะตาบอด และเธอเสียชีวิตในวัย 66 ปีจากภาวะไขกระดูกฝ่อเพราะการได้รับสารกัมมันตรังสีในปริมาณมากโดยไร้เครื่องป้องกันตลอดเวลาที่ทำงาน แม้แต่ในแล็บที่เธอทำงานก็เต็มไปด้วยกัมมันตรังสี สมุดบันทึกของเธอที่แม้เวลาจะผ่านไปนับร้อยปีก็ก็ยังปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อยู่ทำให้ตอนนี้มันต้องถูกเก็บไว้ในกล่องบุตะกั่วเผื่อป้องกันการแพร่กระจาย
WIKIPEDIA PD
สิ่งหนึ่งที่ทำให้มารี คูรีมีความพิเศษมากๆ ก็คือวอร์ซอที่เป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียที่เธอเติบโตมานั้น การให้การศึกษาสำหรับผู้หญิงเป็นสิ่งที่พบได้ยากยิ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และสถานศึกษาระดับสูงส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยจะรับผู้หญิงเข้าเรียน มารีโชคดีที่ในโรงเรียนที่เธอได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นมีครูที่สอนวิชาฟิสิกส์ได้ดี มารีจบการศึกษาจากโรงเรียนนั้นโดยได้รางวัลระดับเหรียญทองและเข้าเรียนในวิทยาลัยลับที่ถูกตั้งขึ้นโดยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่จะต้องคอยเปลี่ยนสถานที่สอนไปเรื่อยๆ เนื่องจากต้องคอยหลบการตรวจพบจากเจ้าหน้าที่รัสเซีย หลังจากนั้นเธอย้ายไปปารีสและพบสามีคนแรก ปิแอร์ คูรี ขณะที่กำลังเรียกในระดับปริญญาเอก เธอนั้นยากจนมากขนาดที่มีอาหารรับประทานเพียงแค่น้ำชาและขนมปัง หลายครั้งถึงกับเป็นลมเพราะไม่ได้รับประทานอาหาร แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่สามารถหยุดยั้งเธอจากการเรียนรู้ได้
WIKIPEDIA PD
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มารี คูรีได้เริ่มเดินทางไปทั่วโลกเพื่อระดมทุนสำหรับการตั้งสถาบันศึกษาวิจัยแร่เรเดียม และในการเดินทางระดมทุนนั้น เธอได้พบกับ วาร์เรน จี. ฮาร์ดิง (Warren G. Harding) ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาคนที่ 29 ที่ได้มอบแร่เรเดียมจำนวนหนักหนึ่งกรัมให้เธอเป็นของขวัญ ซึ่งมันมีมูลค่ามากหนึ่ง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว และก่อนที่เธอจะได้ไปพบวาร์เรน ฮาร์ดิงนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสได้เสนอมอบเหรียญรางวัล Legion d'Honneur ให้กับเธอ แต่เธอได้ตอบปฏิเสธรางวัลนี้เพราะเธอต้องการต่อต้านการการเหยียดเพศที่เธอไม่ได้รับให้เข้าร่วมสมาคมนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสเพราะมีสมาชิกปฏิเสธที่จะโหวตให้ผู้หญิง
WIKIPEDIA NIHIL NOVI
แม้ว่าเธอจะไม่ได้เข้าร่วมสมาคมนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสเพราะขาดคะแนนโหวตเพียงสองแต้ม แต่เธอก็ยังได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรสำคัญๆ ในระดับนานาชาติแห่งอื่นๆ เธอเป็นสมาชิกของสมาคมเภสัชฝรั่งเศส เธอได้สร้างเครื่องเอ็กซ์เรย์เคลื่อนที่ขึ้นมาจากการพัฒนาต่อยอดจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์คนอื่นที่ได้ศึกษารังสีเอ็กซ์เรย์ ซึ่งเครื่องเอ็กซ์เรย์เคลื่อนที่นี้มีประโยชน์ในสนามรบเป็นอย่างมาก และมันก็มีชื่อเล่นว่า "Little Curies" หรือ “คูรีน้อย” จากความสามารถอันโดดเด่นนี้ทำให้เธอมีโอกาสได้พบนักวิทยาศาสตร์คนดังๆ มากมาย รวมถึงอัลเบิร์ต ไอสไตน์อีกด้วย ครั้งหนึ่งไอสไตน์เคยเขียนจดหมายให้กำลังใจเธอในเรื่องที่เธอถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส
WIKIPEDIA PD
วิหารแพนธีออน(ในฝรั่งเศส)สร้างขึ้นในช่วงปลายของปี ค.ศ. 1700 ในรูปแบบนีโอคลาสสิคที่ได้แรงบันดาลใจมาจากมหาวิหารแพนธีออนของกรุงโรม เคยถูกใช้เป็นโบสถ์แต่ปัจจุบันใช้เป็นฝังศพหรือเก็บอัฐิของของผู้ที่ชื่อเสียงให้กับประเทศ นักคิด นักวิทยาศาสตร์ เมื่อมารี คูรีเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1934 ศพของเธอถูกฝังไว้เคียงข้างสามี ต่อมาได้ถูกย้ายมาฝังยังวิหารแพนธีออนเพื่อเป็นเกียรติแก่เธอ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA CC PROSTHETIC HEAD

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา