16 พ.ย. 2020 เวลา 15:07 • ธุรกิจ
The standard สื่อยุคใหม่ หรือ ยุคเก่า
...?
ถ้าหากจะพูดถึงสื่อโซเชียล เมืองไทยก็คงมีชื่อ The Standard เข้ามาอยู่ด้วย เป็นสื่อที่มีคอนเทนต์ออนไลน์ วิดีโอ พอดแคสต์ โดยเนื้อหาของ THE STANDARD จะมีทั้งเรื่องในประเทศและต่างประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง บันเทิง แฟชั่น ฯลฯ
สื่อที่ดีมีหลากหลายให้ขบคิดทั้ง ประเด็นของหลักศีลธรรมและค่านิยมที่นำไปใช้กับพฤติกรรมบทบาทและ เนื้อหาของ สื่อมวลชนโดยเฉพาะเสนอสิ่งที่ทุกคนอยากรู้และอยากหาคำตอบ
1
จรรยาบรรณของสื่อในการนำเสนอเพื่อให้ข่าวเป็นที่สนใจ นั่นหมายถึงดาบ 2-3 คมที่จะเข้ามา ทั้งแรงบวก แรงลบ และกลางๆ เพราะคนที่ชื่นชอบหรือติดตาม ไม่ว่าเขาจะนำเสนอเรื่องใดมักจะถูกใจ พร้อมนำเสนอต่อหรือแชร์ออกไป อันนี้ผู้บริหารเขาต้องคิดก่อนแล้วว่า ข่าวนี้ จะส่งผลกระทบไปทางไหน ทั้งทางดีและทางบวก
ลุงแมนเคยเขียนเกี่ยวกับ The Standard ครั้งหนึ่ง ว่า เป็นสื่อแห่งอนาคต (เรียกว่าเชียร์) เลยก็ว่าได้
เพราะส่วนตัวชอบพี่โหน่ง ตั้งแต่อยู่ a day
แต่ตอนนี้ผมก็ไม่แน่ว่า The Standard ตอนนี้ ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง อาจจะเลือกที่ยืนลำบาก หรือเพราะมีหุ้นส่วนเพิ่มขึ้น ทำให้ความเป็นพี่โหน่งหายไป เพราะหลายคนอาจหลายความคิด เพราะจะเลือกเขียนฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ก็โดนอยู่ดี (น่าเห็นใจ) เขียนถึงฝ่ายหนึ่งก็โดนแขวะ เขียนถึงอีกฝ่ายก็โดนแขวะ โดนต่อต้าน (จะกลางๆ ก็หาว่าเป็นอีแอบ) 🤣
การรายงานข่าวถึงประเด็นต่างๆเช่น ฝ่ายที่เรียกว่าประชาธิปไตย หากพูดถูกใจ คำชม รายการแชร์ ก็จะเต็ม แต่ถ้า พูดถึงสลิ่มก็จะโดนกระหน่ำแทบตาย เช่นกัน
นั่นคือสิ่งที่ สื่อต้องเจอ.!!
สื่อคืออิสระที่จะเสนอความเป็นจริง ทั้ง
- ความเป็นกลาง
- ความสมดุล
- อคติความเป็นส่วนตัว (ปล.ตามคอลัมน์)
- ผลประโยชน์ (สปอนเซอร์) ไม่มีก็อยู่ไม่ได้
แล้วยังรวมถึง รสนิยมและความเหมาะสม เสรีภาพในการพูดแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละคอลัมน์
มีการถกเถียงกันมากมาย
ในความรับผิดชอบของสื่อกับระบบการเมือง ปัญหาที่เกิดจากการแตกแยก คุกคาม เขียนฝั่งที่ตนเองชอบ หรือเชียร์ผู้สนับสนุน
รวมไปถึงกฎระเบียบ เช่น การเซ็นเซอร์ การถ่ายภาพบุคคลในสถานที่สาธารณะที่ไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคล
นั่นคือสิ่งที่สื่อหลักควรไปคิดไตร่ตรองให้ดี
เพราะไม่ว่าจะสื่ออะไรออกไป มักจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
สุดท้ายก็เอ่ยคำยอดฮิตว่า
"ต้องขออภัยเราสื่อความหมายผิด และขอแสดงความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น"
สุดท้ายเราจะเลือกเดินทางไหน
มันก็มีไม่กี่ทาง ซ้าย กลาง ขวา
ไม่ว่าจะเป็นสื่อยุคเก่า ยุคใหม่ ถ้านึกถึงความเป็นจริง ก็ไม่ต้องกลัวครับ
ความจริงก็คือความจริง
อยู่ที่ว่าเราจะเลือกความจริง หรือความอยู่รอดขององค์กร
ปล. ครั้งนึงพี่โหน่งโดนถล่มในทวิตเตอร์จนเละ มาแล้ว
ปล. คิดถึงพี่โหน่งนะครับ
โฆษณา