10 ก.ย. 2020 เวลา 23:30 • หนังสือ
สรุปหนังสือ แด่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิต
ของ Mentalist Daigo นักเขียน Bestseller ของญี่ปุ่น
สรุปโดย: คุณ NUN
หากรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่ไม่สำเร็จสักที ไม่ต้องกังวลหรือผิดหวัง
เราทุกคนสามารถพัฒนาไปเป็นคนที่ดีกว่าเดิมได้ ขอแค่เลิกมองว่า ต้องพยายามหรืออดทนทำสิ่งที่ไม่ชอบก่อนถึงจะบรรลุเป้าหมายได้
เพราะจริงๆ แล้ว การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสนุกและท้าทาย ยิ่งรู้สึก Positive change มากเท่าไหร่ ยิ่งอยากลงมือทำ
1
เครดิตภาพและเนื้อหาจากสรุปหนังสือความลับของคนที่ไม่เคยเอางานกลับไปทำที่บ้าน โดยเซนเซแป๊ะ
กฎ 3 ข้อ ของคนที่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง
Rule I ไม่ต้องใช้สมอง — เวลายิ่งคิดยิ่งไม่ได้ทำสักทีเคยเป็นกันมั้ย ลองหันมาลงมือทำแทนการมัวแต่คิด
พอคิดมาก → การกระทำก็ล่าช้าออกไป →ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
Rule II ไม่ต้องหาข้ออ้าง — ตัวเราในอนาคตสร้างจากการกระทำของตัวเองในปัจจุบัน หากเปลี่ยนตัวเองตอนนี้ได้ อนาคตก็เปลี่ยนไปด้วย
Rule III ไม่ต้องมีความหวัง — การลงมือทำส่งผลให้ร่างกายหลั่งโดพามีนและเกิดความรู้สึกว่า น่าจะมีเรื่องดี เกิดขึ้น หรือ ทำต่อดีกว่า และเกิดเป็นพฤติกรรมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จึงเป็นเหตุผลว่า การลงมือทำ คือ ความหวัง
1
1. เวลา
- วิธี 10% ที่ช่วยให้ทุกคนตื่นเช้าได้ หากต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้เริ่มจากพฤติกรรมที่มีกำหนดแน่นอน หรือกิจวัตรที่ผูกติดกับเวลาก่อน เปลี่ยนง่ายที่สุด คือเวลาตื่นนอน เปลี่ยนโดยไม่ต้องฝืน นั่น คือ การเปลี่ยนแปลงทีละ 10 % สมมติคนที่ตื่น 7 โมง จะเปลี่ยนมาตื่นเร็ว ไม่ใช่จู่ๆเปลี่ยนมาตื่นตี 5 ให้ลองเปลี่ยนไป 10 %
สมมติ ตื่นเร็วขึ้น 12 นาทีก่อน แสดงว่า เราตื่น 6.48 น. เมื่อทำติดต่อกัน 2–3 วัน ค่อยปรับเร็วขึ้น 12 นาที ทำแบบนี้สัก 1 เดือน น่าจะเปลี่ยนมาตื่นตี 5 ได้
- ยิ่งไม่มีเวลายิ่งเปลี่ยนพฤติกรรมง่าย ปริมาณงานจะขยายออกเท่ากับกำหนดเสร็จ กฎพาร์คินสัน ข้อที่ 1 กล่าวไว้ เมื่อมีอิสระมาก คนเราจะลังเลกับตัวเลือกนานขึ้น ตรงกันข้าม ถ้างานยุ่ง เวลาที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกจะสั้นลง จึงลงมือทำได้ง่ายกว่า
- เปลี่ยนการไปทำงานตอนเช้าให้เป็นบวก เพิ่มเวลาเดินในตอนเช้า เช่น ลงก่อนหนึ่งสถานี จะช่วยเพิ่มปริมาณการหลั่งเซโรโทนิน ช่วยให้คลายเครียด ทำให้จิตใจสงบขึ้น
- ถ้าเปลี่ยนเวลาไม่ได้ ลองเปลี่ยนวิธีใช้เวลาดู เช่น เปลี่ยนกลุ่มคนที่กินข้าวกลางวันด้วย หรือการทำอาหารมากินเอง
- ชีวิตถูกกำหนดไว้แล้วตั้งแต่ 3 ชั่วโมงก่อนนอน ลองทบทวนกิจวัตรก่อนนอน
2. คำพูด
- คำพูดแง่ลบจะย้อนกลับมาที่ตัวเรา ยิ่งใช้คำพูดในแง่ลบเท่าไหร่ สมองจะยิ่งตอบสนองต่อเรื่องต่างๆในด้านลบมากเท่านั้น การเปลี่ยนคำพูด ก็คือ การเปลี่ยนความคิด มนุษย์ไม่อาจคิดโดยปราศจากภาษา คำพูดมีพลังมาก การเปลี่ยนคำพูดจึงช่วยให้คุณเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างอัศจรรย์
- ลองสังเกตคำพูดติดปาก เมื่อเปลี่ยนคำพูดติดปาก ตัวเราเองก็เปลี่ยนตาม
- เปลี่ยนมาพูดในทางบวก ความรู้สึกเหนื่อยล้า จะกลายเป็นความพึงพอใจ เช่น “เหนื่อยจัง” เปลี่ยนเป็น “ทำเต็มที่แล้วนะเรา”
- สวมบทบาทเป็นคนอื่น เช่น ถ้าอยากทำงานให้ดีกว่านี้ ลองคิดว่า ถ้าตัวเราเป็นคนที่ทำงานเก่งจะใช้วิธีพูดแบบไหนนะ หรือหาต้นแบบในการเปลี่ยนคำพูด
- เปลี่ยน You message เป็น I message เช่น หัวหน้าพูดกับลูกน้องว่า “ทำไมเรื่องแค่นี้คุณก็ทำไม่ได้” เป็น “ถ้าทำงานประมาณนี้ได้เมื่อไหร่ ผมคงสบายขึ้นเยอะ”
1
3. เพื่อน
- คุณจะเปลี่ยนไปตามคนที่เพื่อนคุณคาดหวังโดยไม่รู้ตัว เพราะสมองของคุณจะปรับตัวไปตามความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น การเลือกคบเพื่อนให้ดี ไม่อย่างนั้นจิตใจจะขุ่นมัวได้
- การสร้างคอนเนคชั่น ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ “เพื่อนคนนั้นรู้จักใครบ้าง” แต่เป็น “มีใครรู้จักเขาบ้าง”
4. สิ่งของ
- ลดจำนวนข้าวของ ช่วยลดความสับสนและลงมือทำง่ายขึ้น เช่น ห้องของไดโกะ จะเป็นห้องที่มีแค่โต๊ะทำงานและผนังด้านหนึ่งเป็นชั้นหนังสือ เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องเสียเวลาลังเลว่า จะทำอะไรดี และทุ่มเทสมาธิกับการอ่านหนังสือ
- ใสใจกับสิ่งของที่สัมผัสปลายนิ้วใบหน้า อย่างนักเขียน จะเอาใจใส่กับปากกาเป็นพิเศษ เวลาจับปากกาและเขียนหนังสือมีอิทธิพลต่อสมอง
ถ้าเป็นโปรแกรมเมอร์ จจะเปลี่ยนคีย์บอร์ด คนที่สนใจแฟชั่นกับเครื่องสำอาง ก็ลองเปลี่ยนกระจกดู
- เวลาเราเลือกมากจนพอถึงเวลาสำคัญแล้วไม่อาจเลือกได้ สมองใช้พลังงานจากการเลือกมาก เกิดความเหนื่อยล้าจากการตัดสินใจ การเพิ่มข้าวของจึงเป็นเหมือนกับการเพิ่มความเหนื่อยล้าในการตัดสินใจ
Week 1 : เขียนเกี่ยวกับตัวเองลง A4
— เขียนเกี่ยวกับตัวเราในปัจจุบัน ตัวเราจากนี้ไป และวิธีการ
Week 2 : บันทึกสิ่งใหม่
— ตั้งเป้าหมายที่รู้สึกสนุกกับการเปลี่ยนแปลง สร้างพฤติกรรมใหม่ๆ เมื่อหมั่นหาสิ่งใหม่อยู่เสมอ เราจะเป็นคนที่ลงมือทำมากขึ้น เช่น จะไม่ใช่ลิฟท์ เมื่อเข้าออฟฟิตไปชั้นที่ทำงาน
Week 3 : ใช้ความรุ้สึกยุ่งยาก เป็นสัญญาณลงมือทำ
— เมื่อทำเรื่องยุ่งยากได้ ไฟในการทำงานจะค่อยๆมาเอง
Week 4 : ทำเรื่องน่าอายสุดๆ
— เช่น ไปเซเว่นซื้อไอติมแล้วบอกพนักงานว่า “อุ่นให้ด้วยค่ะ” พนักงานตอบว่า “รับหลอดด้วยมั้ยค่ะ” เมื่อเคยชินกับความอาย ความกลัวการเปลี่ยนแปลงจะหายไป
Week 5 : ใช้ศัตรูให้เป็นประโยชน์
— การใช้ประโยชน์จากศัตรูเป็นการสร้างนิสัยการมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เคยมองในแง่ลบด้วย ศัตรูของตัวเอง (คนและสิ่งที่ไม่ถนัด) มีคุณค่าพอที่จะใช้งานได้มากมาย
วิธีการที่ดีที่สุด เพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเอง คือ ต้องรู้จักตัวเองก่อน ดังนั้น คนที่เกลียดการเปลี่ยนแปลงจะเกลียดการมองตัวเองตรงๆ ไปด้วย
โฆษณา