16 ก.ย. 2020 เวลา 09:30 • ธุรกิจ
เมื่อทุนนิยมผูกขาดครอบครองอำนาจรัฐ
ระบบทุนนิยมกำลังครอบงำโลกและโลกทุนนิยมก็สัญญาเสมอว่าจะทำให้คุณมีชีวิตที่มีสุขมากขึ้น
ถ้าไม่ใช่ทุนนิยมแล้วโลกจะขับเคลื่อนด้วยระบบอะไรล่ะ
ภายใต้การค้าขายแบบเสรีนั้นระบบทุนนิยมอาจจะทำให้เกิดตลาดแบบผูกขาดได้อยู่เหมือนกันแหละ
แล้ววันนี้เราจะพามาดูตลาดในทางเศรษฐกิจเป็นยังไงกันบ้าง
ประเภทของตลาดในทางเศรษฐกิจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1 ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ Perfect competitive Market
2 ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
แล้ววันนี้เราจะมาพูดคุยถึงเรื่องของตลาดที่มีการแข่งขันแบบไม่สมบูรณ์
ตลาดแนวนี้ก็จะแบ่งออกมาเป็น 3 ประเภทด้วยกัน
อันแรกตลาดการผูกขาดหรือภาษาอังกฤษเรียกว่าโมโนโพลี
การที่จะเรียกเป็นโมโนโพลีได้นั้นต้อง
เป็นผู้ผลิตหรือผู้ขายรายเดียวเรียกว่าผูกขาดเกี่ยวกับสินค้านั่นๆ
สินค้ามีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใครไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาทดแทนได้อย่างใกล้เคียง
ผู้ผูกขาดสามารถกีดกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาผลิตแข่งขันได้หรือด้วยลักษณะของการผลิตที่ทำให้ผู้ผลิตรายอื่นเข้ามาแข่งขันได้ยาก
ผู้ผูกขาดมีอำนาจในการกำหนดราคา( Price maker )
ตัวอย่างการผูกขาดโมโนโพลีในประเทศไทย โรงงานยาสูบ AOT
ประเภทที่ 2 ตลาดผู้มีคู่แข่งน้อยหรือมีคนเข้ามาร่วมขายในวงการเดียวกันน้อยภาษาอังกฤษเรียกว่าโอลิโกโพลี
มีผู้ขายจำนวนน้อยไม่เกิน 3 รายผู้ขายเหล่านี้อาจจะรวมตัวในการกำหนดราคาสินค้า
ผู้ขายแต่ละรายมีส่วนแบ่งตลาดมาก ( Market share ) แต่อำนาจในการกำหนดราคาหรือปริมาณขายของผู้ขายแต่ละรายมีน้อยกว่าตลาดผูกขาด
สินค้าที่ซื้อขายในตลาดอาจจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันก็ได้ดังนั้นการกำหนดราคาสินค้าของผู้ขายแต่ละรายจะมีผลกระทบต่อผู้ขายรายอื่น
จากลักษณะต่างๆข้างต้น ผู้ขายน้อยรายไม่นิยมแข่งขันด้านตัดราคาแต่จะแข่งขันกันในด้านคุณภาพของสินค้าและการบริการต่างๆเช่นการใช้วิธีการโฆษณารวมถึงการพัฒนาคุณภาพสินค้า
ตัวอย่างของโอลิโกโพลีในประเทศไทย โรงหนังเมเจอร์และSF เบียร์สิงห์กับช้าง และเครือข่ายมือถือ Dtac AIS TrueMove มี
ประเภทที่ 3 คือตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดภาษาอังกฤษ เรียกว่า Monopolistic competiton
มีผู้ขายจำนวนมาก
ไม่มีการกีดกันผู้ที่จะเข้ามาใหม่คือผู้ขายแต่ละรายสามารถเข้าออกได้อย่างเสรี สินค้ามีความแตกต่างกัน
โดยอาจจะแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะของสินค้าจริงๆหรือเป็นความแตกต่างกันในความรู้สึกของผู้บริโภค
ซึ่งอาจจะมีผลมาจากการให้บริการ โฆษณา หรือบรรจุภัณฑ์
ลักษณะดังกล่าวทำให้ผู้ผลิตแต่ละรายในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดมีอำนาจฉีดขาดอยู่บ้านในสินค้าของตนและยิ่งผู้ผลิตทำให้สินค้าของตนแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นได้มากเพียงใดอำนาจผูกขาดก็มีมากขึ้นเท่านั้น
ตัวอย่างของMonopolistic competiton ในประเทศไทย
อายิโนะโมะโต๊ะ
เครือสหพัฒน์
BDMS
CP ALL
สาเหตุที่เกิดการผูกขาด
ผู้ผลิตหลายรายรวมตัวกันผูกขาดการผลิต
รัฐออกกฎหมายให้ผู้ผูกขาดการผลิตแต่เพียงผู้เดียวเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม
เป็นการผลิตที่ต้องใช้ทุนจำนวนมาก
การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายก็อาจจะเกิดการผูกขาดได้เช่นกัน
#อย่าให้ใครมาบอกว่าเราทำไม่ได้นะครับและจำไว้ว่าชีวิตนี้กูลิขิตขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จครับ
ติดตาม HEALTHY ENTREPRENEUR ได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
Blockdit:
โฆษณา